Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Saturday, August 11, 2007

Vietnamese Martial Art Part I

ตอนที่อยู่โฮจิมินห์ ตอนช่วงเย็นผมชอบขับรถชมเมือง ช่วงตอนเย็นประมาณหกโมง ผมผ่านวัดแถวถนน Xo Viet Nghe Tinh จะไป วงเวียนห่างซัน ได้ยินเสียงการฝึกซ้อมหมัดมวยทุกคนสวมชุดสีหมากแก่ รำกระบี่ กระบอง ผมเคยเห็นเขาเรียนศิลปการต่อสู้อย่างนี้มาครั้งหนึ่งตอนขับรถผ่านไปเที่ยวแถววัดแห่งหนึ่งในเขตบินห์ยืงไม่ไกลจากที่ทำงานนิคมVSIP ผมยืนดูเขาประลองกำลังกัน ดูแล้วสนุกดี แต่ก็ไม่ทราบว่าเขาเล่นอะไรกัน

Việt Võ Đạo เหวียด หว๋อ ด่าว เป็นศิลปการต่อสู้ชาวเวียตนาม โดยมากเราจะรู้จักกันในชื่อของ วูซู กันซะมากมากกว่า ตามความหมายแล้ว Việt=ชาวเวียตVõ=ศิลปการต่อสู้ หรือ มวยĐạo=กระบวนยุทธ หรือ Do(ซู)ในระหว่างและหลังสงครามเวียตนาม ศิลปการต่อสู้ซึ่งผมขอเรียกว่า หว๋อ ด่าว ได้แพร่หลายไปทั่วโลกตามชุมชนที่ชาวเวียตนามอาศัยอยู่ จนได้ก่อตั้งเป็น สมาพันธ์เหวียด หว๋อ ด่าว ขึ้นในเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1973 อันประกอบไปด้วยสมาคม


-Vovinam มีสำนักในประเทศเยอรมัน
-Qwan Ki Do-Bach Hac
-Thang Long
-อื่นๆ

ศิลปการต่อสู้นี้ได้พัฒนาเสริมส่วนปรัชญาการดำรงชีวิตโดยใช้ชื่อเรียกว่า Nhan Võ Đạo (ยัน หว๋อ ด่าว) โดยศิลปการต่อสู้นี้ได้มีการประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับสรีระของชาวยุโรป ปลายปี 1980 โดยปรมาจารย์ จู ตัน เกิ่ง(Chu Tan-Cuong) ที่เมืองHalle ประเทศเยอรมัน โดยตัวท่านเองได้รับการถ่ายทอดวิชาตั้งแต่เด็กจากปรมาจารย์ เหวียน ตี้(Nguyen Ty) เจ้าสำนักเส้าหลินใต้(Shaolin Nam Hong Son) นับถึงปัจจุบันท่านเป็นผู้ที่มีวรยุทธสูงส่งเชี่ยวชาญทุกแขนงติดอันดับโลก จะว่าไปแล้วหว๋อด่าวก็เป็น มวยจีนตอนใต้ อย่างที่เราดูในหนังจีนต่อสู้แบบโบราณที่บ้านเรา

ระดับของผู้ฝึก หว๋อ ด่าว มี 6 ระดับ และมีระดับเอกมากกว่าหนึ่งระดับ ผู้ฝึกจะฝึกต่อสู้ด้วยมือเปล่า ฝึกการต่อสู้ด้วยพลองหรือหอก และ ดาบ ระดับสูงจะได้ฝึกหมัดมวย ดังนั้นภาพรวมของมวย จึงเป็นลักษณะของการป้องกันตนเอง หมัดมวย ฝึกลมปราณ รับแล้วรุกจากการโจมตี ส่วนการเตรียมตัวเพื่อไปสู่ระดับเอกหรือมาสเตอร์นั้น จะต้องผ่านการทดสอบปฎิภาณและไหวพริบ

สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์หยินหยาง(Âm-dương) ไม่แข็ง ไม่อ่อน อย่างต้นไผ่ รวมกันภายใต้สัญลักษณ์แปดเหลี่ยม ชาวเวียตนามให้ความสำคัญกับต้นไผ่มาก เพราะวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งอาหาร เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัยรวมทั้งปรัญชาชีวิต

No comments: