Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Friday, November 2, 2007

ข้าวเหนียวนึ่งมื้อเช้ายอดนิยม

โดย Quynh Thu
สำหรับชาวไซง่อนที่รายได้น้อย โซย(xôi)หรือข้าวเหนียว ยังคงได้รับความนิยมในมื้อเช้าซึ่งพวกเขาพอที่มีงบจ่ายได้

บนถนน Le Loi เขตหนึ่งใจกลางกรุงไซง่อน ตรงไปแล้วเลี้ยวซ้ายตรงมุมถนน Pasteur แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งตรงแยกถนนแรก และคุณจะเห็น เสาไฟที่เก่าแก่ที่สุดบนถนนLe Thanh Ton ในทรงเก่าแก่จนไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่แต่ก็กล่าวได้ว่ามันคงอยู่มากว่าหลายทศวรรษแล้ว

ทุกเช้าตั้งแต่หกโมงถึงเก้าโมงบนบริเวณทางเท้าใกล้กับเสาไฟนี้จะมีหญิงชราคนหนึ่งขายข้าวเหนียวนึ่ง อาหารเช้าฟาสฟู๊ดสไตล์เวียตนาม คุณยายกล่าวว่าได้ขายมาเป็นสิบสิบปีแล้ว ตามคำเล่าของคนที่อยู่แถวนั้นกล่าวว่าแกขายมานานพอพอกับอายุของเสาไฟต้นนี้

กล่าวโดยทั่วไป ข้าวเหนียวถูกนึ่ง เพื่อให้น่ารับประทานข้าวเหนียวนึ่งจึงมีหลากหลายสีสรร ถ้าใส่ lá da(ล้า ยา=ใบเตย)จะทำให้มีสีเขียว ถ้าใส่ np than(อัญชัน) ทำให้เป็นสีม่วง ถ้าใส่ขมิ้นจะมีสีส้ม ข้าวเหนียวที่มีสีสรรต่างๆนี้จะถูกเรียกรวมกันว่า xôi ngt(โซย หงอด)หรือ ข้าวเหนียวหวาน เพราะใส่น้ำตาลลงไปด้วย ใส่เนื้อมะพร้าวขูดและงาโรยหน้า เราจะสามารถเห็นได้ว่าทั้งหมดมาจากธัญญาพืช

ในทางกลับกัน โดยแท้จริงแล้ว xôi ngt(โซย หงอด=ข้าวเหนียวนึ่งหวาน) เดิมมาจาก xôi mn(โซย หม่าน=ข้าวเหนียวนึ่งเค็ม)ที่ใช้รับประทานกับสำรับอาหารในมื้อปกติยอดนิยมอย่าง ข้าวเหนียวไส้อั่ว(xôi lp xng), ข้าวเหนียวไก่(xôi gà) หรือข้าวเหนียวหมูหยอง(xôi chà bông)

ข้าวเหนียวนึ่งยังคงเป็นที่นิยมในมื้อเช้าของชาวไซง่อน เหมาะกับคนรายได้น้อยและในหมู่เด็กนักเรียนด้วยงบเพียง 5.000 เวียตนามด่องหรือสิบสองบาทกว่า เพียงหนึ่งห่อก็ช่วยให้บางคนอิ่มยาวไปจนมื้อเที่ยงเลย
ข้าวเหนียวหวานเองก็ได้รับความนิยมไปทั่วเวียตนามซึ่งยังไม่มีที่ไหนปรุงได้อร่อยเท่าเมืองไซง่อน รวมทั้งข้าวเหนียวเค็มก็เช่นกัน

เมื่อชาวไซง่อนมีรายได้ที่ดีขึ้น ข้าวเหนียวปกติเองก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเช่นกันจะเห็นได้จากร้านขายข้าวเหนียวเค็มหลายแห่งในไซง่อนตามมุมถนนBui Thi Xuanและถนน Cong Quynhในเขตหนึ่งเอง ที่เห็นมีผู้บริโภคเข้ามารับประทานข้าวเหนียวกันตั้งแต่เช้าจบเย็น

ในเมืองไซง่อน เองตามถนนCao Thang ได้รับฉายาว่าเป็น"ถนนแห่งข้าวนึ่ง" ในทุกวันตอนเย็น เลนหนึ่งของถนนจะเต็มไปด้วยรถเข็นขายข้าวเหนียวนึ่ง สังเกตได้จากหม้อนึ่งอลูมิเนียมหรือฝาปิดสเตนเลสขนาดใหญ่

มีคนไซง่อนที่นั่นเล่าเรื่องแบบติดตลกให้เราฟังว่า เขาพักอยู่ที่อพาร์ทเม้นท์เขตBinh Thanh ทุกวันเขาจะซื้อข้าวนึ่งห่อนึงจากหญิงคนขายที่มีกว่ายี่สิบห่อ เธอเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในอพาร์ทเม้นท์แห่งนั้นเพราะข้าวนึ่งเธออร่อยราคาก็ย่อมเยา ทุกเช้าจะมีลูกค้ามารอเข้าแถวซื้อหน้ารถจักรยาน จนมีคนบางคนสงสัยว่าทำไมเธอไม่ขยายธุรกิจโดยการเปิดร้านขายหรือซื้อรถเข็นขายของ เธอบอกว่าอย่างแรกเธอไม่มีทุนและอีกอย่างคือเธอกลัวว่าจะถูกเทศกิจจับกุมที่ขายของบนทางเท้า

จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกค้าประจำของเธอก็ประหลาดใจเมื่อเธอบอกว่าจะเลิกขายแล้ว จะไปเรียนฝึกภาษาอังกฤษและงานสำนักงาน เพื่อหางานอื่นทำบ้าง ทำให้พวกเขาเองรู้สึกเสียดายที่จะไม่ได้กินมื้อเช้าที่ราคาแสนถูก อร่อย และเอาใจใส่ลูกค้า มาอย่างดีโดยตลอด อีกต่อไป

หลังจากนั้นหลายเดือนต่อมา ผู้คนแถวนั้นก็ต้องประหลาดใจอีกครั้งเมื่อ เธอและจักรยานคันเก่านั้นได้กลับมาอีกครั้ง พวกเขาดีใจมากที่จะได้มื้อเช้าที่อร่อยและราคาถูกอีกครั้ง เธอเล่าว่าการเรียนรู้ใหม่เป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับเธอ "ไม่มีอะไรที่ดีสำหรับฉันเท่ากับการขายข้าวนึ่งอีกแล้ว"

ธุรกิจเครือข่ายการขายอาหารประเภทฟาสฟู๊ดได้กระจายไปทั่วเมือง ได้สร้างกระแสค่านิยมใหม่ให้กับคนรุ่นใหม่ในไซง่อน อย่างแฮมเบอเกอร์ และมันฝรั่งทอด ที่เป็นอาหารกินเล่น ข้าวเหนียวนึ่งก็ยังคงอยู่เป็นอาหารยามเช้าตามหลายๆโรงเรียน ตามเขตที่ยากจน คนขายข้างถนนจะขายข้าวเหนียวใส่รถเข็นขายหรือใส่ตะกร้าขายแก่พวกเด็กนักเรียน คุณจะลองแวะไปดูแถวถนนNam Ky Khoi Nghia หน้าโรงเรียนเทคนิค Cao Thang ทุกเช้าช่วงเปิดเรียนจะมีคนขายกว่าสี่สิบคนจอดรถตามมุมถนนเพื่อขายข้าวเหนียว

แม้ว่าชาวไซง่อนจะมีชีวิตที่เจริญขึ้นและธุรกิจที่เติบโตขึ้น ข้าวเหนียวนึ่งก็ยังคงเป็นมื้อเช้าและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยากจนที่นั่น

ที่มา::The SaigonTimes Weekly(EN)

Thursday, November 1, 2007

ที่มาชื่อเมืองโฮจิมินห์

Ho Chi Minh City หรือชื่อเต็มว่า "ทั่น โฟ้ ห่อ จี๊ มึน" (Thành phố Hồ Chí Minh) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียตนามและตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีชื่อเดิมว่า ไพร นคร(ภาษาขอม) เป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยก่อนของเขมร ภายหลังศตวรรษที่ 16 จนประมาณปี คศ.1698 ดินแดนนี้ได้จึงตกเป็นของชาวเวียตนาม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เมืองไซง่อน จนจบสงครามเวียตนาม จากสมัยตกเป็นอาณานิคมปกครองเขตโคชินไชน่าของฝรั่งเศส ถึงสมัยจัดตั้งรัฐบาลเวียตนามใต้ ใน คศ.1954 ถึง 1975 เมืองไซง่อนจึงได้รวมกับเขตจังหวัดปริมณฑล(Gia Định) จนเปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองโฮจิมินห์(แม้ว่าปัจจุบันบางคนจะยังคงเรียกว่าเมืองไซง่อนอยู่) ใจกลางของเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งของแม่น้ำไซง่อน โดยห่างจากทะเลจีนใต้ 60 กม.

-ชื่อเดิมในภาษาเขมร เมืองไซง่อนเดิมนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อเดิมที่มาจากภาษาเขมรว่า ไพร นคร ซึ่งมีความหมายว่า เมืองป่าพนาวัณ ในปัจจุบันทางชาวเขมรชนกลุ่มน้อยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงก็ยังคงเรียกเช่นนี้อยู่

-ชื่อเรียกในเวียตนาม หลังจากที่ไพรนครตกเป็นเมืองของชาวเวียตนามที่มาจากทางตอนเหนือ นับแต่นั้นจึงได้เรียกเมืองนี้ว่า ไซ่ ก่อน(Sài Gòn) มีข้อถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับที่มาชื่อเมืองนี้ และข้อวิเคราะห์ต่างๆเกี่ยวกับชื่อนี้ตามภาษาเวียตนาม

โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อเมืองว่าไซง่อนนั้น ไซง่อนได้ถูกเรียกว่าเมืองยา ดิ่น(Gia Ðịnh) ในสมัยที่ยังคงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนปี คศ.1862 ทางฝรั่งเศสจึงได้เปลี่ยนมาเรียกเมืองอย่างเป็นทางการว่า เมือง "Saïgon" แต่โดยมากนิยมเรียกกันว่าเมือง Sài Gòn

จะว่าไปแล้วจากการเรียงคำ ในภาษาเวียตนาม Sài Gòn คำเขียนจะเขียนแยกห่างสองพยางค์ เพื่อความสะดวกในการอ่านออกเสียงสำเนียงภาษาเวียตนาม แต่ก็มีบางคนยังคงเขียนชื่อเมืองเป็นSàiGòn หรือ Sàigòn เพื่อความกระชับสั้นหรือดูแบบอย่างภาษาอังกฤษ

-รากศัพท์ในภาษาเวียตนามเป็นที่รู้กันว่าคำว่า Sài เป็นคำโดดในยืมมาจากภาษาจีน(อ่านว่า chái ในภาษาจีนกลาง) แปลว่า ฟืน,ซุง,กิ่งไม้,ไม้กั้นรั้ว คำว่า Gòn ยืมมาจากคำจีน (อ่านว่า gùn ในภาษาจีนกลาง) แปลว่า แท่ง,เสา,ซุง รวมคำทั้งสองจะมีความหมายว่า ต้นฝ้าย ในภาษาเวียตนาม(bông gòn=บอง ก่อน,gòn)บางคนกล่าวว่าชื่อนี้มีที่มาจากต้นฝ้ายจำนวนมากมาย ที่ชาวเขมรได้ปลูกไว้บริเวณโดยรอบไพรนคร ซึ่งยังคงสามารถมองเห็นได้จากบริเวณพื้นที่โดยรอบวัดCây Mai...

อีกที่มาก็คือ Trương Vĩnh Ký, "Souvenirs historiques sur Saïgon et ses environs", in Excursions et Reconnaissances,Imprimerie Coloniale, Saïgon, 1885 กล่าวว่ารากศัพท์ กิ่งแขนง(Sài) และ ลำต้น(Gòn) หมายถึง ป่าไม้ดงดิบที่ชุกชุม ที่ขึ้นอยู่โดยรอบเมือง ซึ่งตรงกันกับที่ชาวเขมรใช้เรียกกันว่าไพรนคร

ชาวจีนทั้งที่อยู่ในจีนและเวียตนามกลับไม่ได้เรียกเมืองนี้ว่า Chaai-Gwan ในภาษากวางตุ้ง หรือ Cháigùn ในภาษาจีนกลาง แม้จะมีนำสำเนียงรากศัพท์มาจากภาษาจีนแต่ชื่อไซง่อนเป็นคำตามภาษาเวียตนามที่แสลงเสียงมา ชาวจีนจึงเรียกเมืองนี้ว่า Sai-Gung ในภาษากวางตุ้ง หรือ Xīgòng ในภาษาจีนกลาง ซึ่งมีความใกล้เคียงตามสำเนียงมากที่สุด

-รากศัพท์ในภาษาเขมรอีกที่มากล่าวว่า "Saigon" มาจากคำว่า "Sai Con"ซึ่งน่าจะมาจากคำเขมรว่า ไพร คร แปลว่า ดงป่าต้นนุ่น คำว่า ไพร คร เป็นคนละคำกับ ไพร นคร ตามคำเขมร(คร=ต้นนุ่น,นคร=เมือง)ตามรากศัพท์แล้วคำในภาษาเขมรนี้มีความเกี่ยวพันกันน้อยมากนับแต่ชาวเวียตนามกลุ่มแรกเข้ามาในภูมิภาคนี้ จะว่าไปแล้วคำว่า ไพร ในภาษาเขมรกับคำว่า Sài ในภาษาเวียตนาม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลยไม่ว่าจะด้วยสำเนียงการออกเสียงเดิมทีก็ตาม

-รากศัพท์ในภาษาจีนกวางตุ้งที่มาชื่อเมืองเสนอโดยVương Hồng Sển โดยนักวิชาการเวียตนามต้นศตวรรษที่20 ซึ่งได้ยืนยันว่าคำว่า Sài Gòn มาจากชื่อในภาษากวางตุ้งว่า Chợ Lớn(เจอะ เลิ้น) ซึ่งเป็นชื่อเขตชุมชนชาวจีนในเมืองไซง่อน ชื่อของเจอะเลิ้นในภาษากวางตุ้งว่า "Tai-Ngon" แปลว่า เนินดิน ที่ดอน จึงเป็นสิ่งสนับสนุนว่าชื่อเมืองไซง่อน เพี้ยนมาจากคำว่า"Tai-Ngon"

-ชื่อปัจจุบันวันที่ 1 พฤษภาคม 1975 หลังจากการรวมชาติโดยผู้นำโฮจิมินห์ มีชื่อเรียกเมืองอย่างเป็นทางการว่า Thành phố (ทั่น โฟ้=เมือง) Hồ Chí Minh ชื่อย่อว่า TP.HCMC ในภาษาอังกฤษว่า Ho Chi Minh City ชื่อย่อว่า HCMC ชื่อตามภาษาฝรั่งเศสว่าHô Chi Minh Ville ชื่อย่อว่า HCMV แต่ชาวเวียตนามโดยทั่วไปก็ยังคงเรียกเมืองนี้ว่า Sài GònหรือSaigon