Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Saturday, October 27, 2007

พระสงฆ์และการเมือง

เมื่อเดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์จราจลที่พม่า มีพระสงฆ์ออกมาเดินประท้วงและได้ถูกฆ่าทำร้ายมรณกรรมไปสิบกว่ารูป ทำให้นึกถึงที่เวียตนามก็มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน แต่ตอนนั้นไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลทหาร แต่เป็นการต่อต้านรัฐบาลเวียตนามใต้เองที่กีดกันการดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนา พระรูปนั้นมีนามว่า Thích Quảng Ðức(ทิด กว๋าง ดึ๊ก) ชื่อเดิมว่านาย Lâm Văn Tức(ลาม วัง ตุ๊บ) เกิดเมื่อปี 1897 เป็นพระสงฆ์ชาวเวียตนามรูปหนึ่งที่เผาตัวเองประท้วงจนมรณกรรม ที่บริเวณ กลางสี่แยกแห่งหนึ่งในกรุงไซง่อนเมื่อ 11 กันยายน 1963 จากการกระทำของท่าน ถูกเผยแพร่โดยผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ชื่อนาย David Halberstam จากสำนักข่าว New York Times กล่าวว่า

"ผมยังคงเห็นภาพอย่างนี้ในครั้งต่อต่อมา แต่คงเทียบกับคราวนั้นไม่ได้ เปลวไฟที่ลุกท่วมร่างชายคนหนึ่ง เผาร่างกายค่อยๆแห้งหดลง ศรีษะดำไหม้จนเป็นตอตะโก อากาศทั่วบริเวณคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นเนื้อย่าง แต่ที่น่าประหลาดก็คือร่างของท่านถูกเผาไหม้อย่างรวดเร็วมาก ด้านหลังของผมนั้นระงมไปด้วยเสียงสะอื้นของชาวเวียตนามในขณะนั้นพร้อมๆกัน ทำให้ตัวผมเองนั้นกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ สับสนงุนงงจนไม่รู้ว่าจะบันทึกอะไรหรือสัมภาษณ์อะไร หัวสมองมันเคว้งคว้างไปหมด...ตอนที่ร่างท่านถูกเผา ท่านไม่ขยับตัวเลยสักนิด ไม่ส่งเสียงร้อง ความสงบนิ่งของท่าน ช่างตรงกันข้ามกับผู้คนรอบข้างท่าน ที่กำลังร้องไห้ระงม"

พระท่านนี้ต่อต้านและประท้วงวิธีการบริหารตามแนวทางของประธานาธิบดี Ngô Đình Diệm ที่กดขี่ข่มเหงชาวพุทธ ยิ่งไปกว่านั้น การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกสามัคคีในหมู่ชาวเวียตนามด้วยกันและฆ่ากันเอง

บริเวณเกิดเหตุการณ์เผาประท้วงอยู่ที่สี่แยกถนนPhan Đình Phùngและถนน Lê Văn Duyệt(ภายหลังปี 1975 ถนนสายนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนNguyễn Đình Chiểu และถนน Cách Mạng Tháng Támตามลำดับ) ก่อนเกิดเหตุการณ์ท่านจำพรรษาอยู่วัดนอกเมืองHuế ในภาคกลางเวียตนาม และได้ขับรถออสตินสีฟ้าอ่อนมาเมืองไซง่อน ซึ่งปัจจุบันรถคันนี้ยังคงเก็บรักษาไว้ที่เมืองHuế ณ วัดThien Mu

หลังจากท่านมรณกรรม ร่างท่านนั้นก็ได้ถูกเผาจนหมด แต่แปลกที่เหลือเพียงหัวใจของท่านนั้นที่ยังอยู่ เป็นสิ่งที่เชื่อว่าท่านศักดิ์สิทธิ์ และได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธนาคารเวียตนาม

ส่วนท่านผู้หญิงNhuซึ่งเป็นภริยาประธานาธิบดีขณะนั้นได้กล่าวอย่างยกย่องเกี่ยวกับการกระทำว่าเธอควร"ต้องขอปรบมือล่วงหน้าให้พระรูปอื่นๆที่จะมาแสดงการย่างบาบีคิวให้ดูอีก"(นี่เป็นชนวนที่จะก่อให้เกิดการเลียนแบบต่อต่อมาและทำลายความมั่นคงภายในรัฐบาล) จากคำพูดของเธอ ทำให้เธอได้รับฉายาว่า "Dragon Lady(หญิงเหล็ก)"

มีกลุ่มวงนักน้องเพลงร๊อคชาวสหรัฐที่ต่อต้านโรงงานจักรกลใช้รูปพระเผาตัวเองประท้วง บนปกอัลบั๊มตนเองเมื่อปี 1992 และปี 1989 บนปกอัลบั๊มกลุ่มนักร้องชาวแคนาดา เดเลเนี่ย


ที่มา::Wikipedia

Wednesday, October 24, 2007

หลายสะพานที่ไซง่อน

ในไซง่อนมีหลากหลายเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสะพานในโฮจิมินห์ทั้งระบบและมากไปกว่าอย่างประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ

โฮจิมินห์คงจะเป็นเหมือนอย่างในหลายหลายประเทศ ที่ตั้งอยู่ราบลุ่มแม่น้ำ เมืองที่มีเครือข่ายสายน้ำที่มารวมกัน จึงเป็นสาเหตุของการที่ต้องมีสะพานสำหรับการเดินทาง

ตามสถิติแล้วในไซง่อนมีอยู่มากมายหลายสะพานด้วยกัน จำนวนเท่าไรก็แล้วแต่แหล่งข้อมูล แต่เป็นที่เข้าใจว่าได้มีการสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ แต่กล่าวกันว่ามีมากกว่า 350 สะพาน หลากหลายช่วงความยาว รวมแล้วโดยเฉลี่ยแล้วยาวกว่า 17 กม.

สะพานส่วนมากถูกสร้างก่อนปี 1975 ซึ่งตอนนั้นเวียตนามยังไม่แยกเหนือใต้ โดยส่วนมากเป็นสะพานขนาดใหญ่ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวไซง่อนที่ดี ในขณะนั้นอันเป็นเวลากว่าทศวรรษ

สะพาน Cu Mong เป็นสะพานที่ล้ำสมัยแห่งแรกของเมือง ได้รับการออกแบบอย่างอย่างเหมาะสมมีระบบรูปแบบ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างสองปี 1893-1894 เชื่อมเขตหนึ่งและเขตสี่ ข้ามตลิ่งBen Nghe ด้วยความยาวกว่า 128 เมตร กว้าง 5.2 ม.ตัวสะพานโค้ง Mongเป็นคำที่ชาวบ้านเรียกว่าสายรุ้ง ด้วยตัวสะพานเองมีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่มีตอม่อ ทราบภายหลังว่าเป็นช่างชาวฝรั่งเศสในเมืองไซง่อนชุดเดียวกันกับที่ก่อสร้างหอEiffel เมื่อปีที่ผ่านมาไม่นานมานี่เอง ได้มีการสร้างอุโมงค์ขนส่งThu Thiem ลอดใต้แม่น้ำไซง่อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้สะพานนี้อีกต่อไป เมื่ออุโมงค์นี้แล้วเสร็จ

แต่ยังมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่า สะพานCu Son ถูกยกว่าเป็นสะพานที่เก่าแก่กว่าของเมือง ถูกสร้างเมื่อปลายศตวรรษที่19 ในที่ที่ได้มีการปลูกต้นยางจึงเป็นที่มาของชื่อสะพาน สะพานนี้ยาว 19 ม.กว้าง11 ม. ปัจจุบันอยู่บนเส้นทางถนน Xo Viet Nhge Tinh เชื่อมชุมชน25 และ 26 เขตBinh Thanh

ก่อนที่เวียตนามจะรวมชาติกัน สะพาน Binh Loi เป็นสะพานอาถรรพ์ สำหรับคนที่สิ้นหวังในชีวิตมักจะมา กระโดดน้ำฆ่าตัวตายในแม่น้ำไซง่อน ตามประวัติแล้วมีความสำคัญตรงที่เป็นสะพานเดินเรือเข้าออกเมืองเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1902 โดยข้าหลวงฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาสะพานจะมีอดีตที่ไม่ดี แต่ปัจจุบันมันยังคงเป็นเสมือนประตูสู่เมืองโฮจิมินห์ โดยเป็นสะพานรับการเดินทางสำหรับทางรถไฟ

สะพานอีกแห่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสะพาน Cu Chu Y มีรูปร่างเหมือนตัว Y ถูกสร้างตั้งแต่ปี 1938-1942 เชื่อมระหว่างสี่ตลิ่งอันได้แก่ Ben Nghe,Tau Hu,Kenh Doiและ Kenh Te เชื่อมเขตห้า เขตแปด และบางส่วนในเขตเจ็ด ว่ากันว่าเป็นสะพานขนส่งทางเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างเขตห้าที่ร่ำรวย(เจอะเลิ้น=ไชน่าทาวน์) และเขตแปดที่ยากจนเข้าหากัน

ส่วน สะพานBinh Trieu IและII เป็นเส้นทางออกไปยังตอนเหนือ ส่วนสะพานTan Thuan IและII เป็นเส้นทางไปทางตอนใต้ ส่วนสะพาน Binh Dien IและIIเป็นเส้นทางไปทางออกไปทางตะวันตก ทุกสะพานที่กล่าวถึงนั้น มีบางสิ่งที่เหมือนกันคือถูกสร้างขึ้นเป็นสะพานคู่โดยสะพานคู่ที่สร้างนั้นได้ถูกสร้างภายหลังการรวมชาติ
อย่างไรก็ตามถ้านับความยาวและมีชื่อเสียงของเมืองคงไม่พ้นสะพานไซง่อน ที่เชื่อมถนนDien Bien Phu เขตBinh Thanh ออกถนนหลวงฮานอยเขตสอง ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Johnson-Drake and Pipe จากสหรัฐ เมื่อพฤศจิกายน ปี 1958-มิถุนายน 1961มี 22 ช่วงรวมแล้วยาวกว่า 1,010 ม.ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้มา มันยังคงเป็นประตูสำคัญในการเข้าสู่เมือง

ในปี 1998 สะพานไซง่อนได้รับการปรับปรุงด้วยวงเงินสนับสนุนงบประมาณจากฝรั่งเศส ว่าจ้างบริษัทฝรั่งเศสPreyssinet ที่เคยสร้างสะพาน Chu Y ทำการขยายความกว้างสะพานจาก 19.63 ม. เป็น 24 ม.
สะพานใหญ่ต่อไปในไซง่อนคงจะไม่พ้นสะพาน Thu Thiem ที่เชื่อมต่อเขตเมืองตอนในกับเขตชานเมืองเศรษฐกิจใหม่Thu Thiem เขตสอง ด้วยความยาวสะพานที่ยาวกว่าสะพานไซง่อนถึง 1,250 ม. ห้าช่วงช่วงละ370 ม. กว้าง 28 ม.

สะพาน Thu Thiem นี้คาดว่าจะเปิดตัวปลายปีนี้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากความล่าช้าจากหลายสาเหตุ คงทำให้สะพานแห่งนี้ ช่วยยกระดับศักยภาพของริมฝั่งริมตลิ่งของแม่น้ำไซง่อนต่อไป

Saturday, October 20, 2007

ชื่อสะพานที่มาของวีรกรรม

สะพานNguyen Van Troiหรือสะพาน Cong Lyเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งบนเส้นทางจากสนามบินTan Son Nhat ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองโฮจิมินห์ นับจากลงเครื่องเราสามารถนั่งรถแท๊กซี่ เราต้องผ่านถนนTruong Son ถนนNguyen Van Troi ถนนNam Ky Khoi Nghiaก่อนเข้าสู่ถนนLe Loi อันเป็นใจกลางเมืองไซง่อน
ถ้าเราวิ่งบนถนนNguyen Van Troi ผ่านเขตPhu Nhuan สังเกตว่าจะต้องผ่านสะพานแห่งหนึ่งก่อนที่จะถึงถนนNam Ky Khoi Nghiagในเขตสาม และมั่นใจได้เลยว่าสะพานแห่งนี้เป็นสะพานแรกที่คุณต้องผ่านนับแต่คุณมาเที่ยวเมืองโฮจิมินห์ สะพานนี้มีชื่อว่าสะพาน Nguyen Van Troi แต่ชาวเมืองไซง่อนจะเรียกว่าสะพานCong Ly มีความยาวเพียงแค่ 100 เมตรเชื่อมระหว่างสองตลิ่งคือ Nhieu Loc-Thi Nghe Arroyo(ช่องแคบของคลอง-คำฝรั่งเศสผสมสเปน) สะพานได้สร้างขึ้นไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา และเป็นสถานที่สำคัญก่อนเข้าเมืองโฮจิมินห์


เมื่อปี คศ 1960 สะพานCong Ly มีข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อสำนักข่าวต่างประเทศได้เสนอข่าวเกี่ยวชายคนหนึ่ง ซึ่งภายหลังก่อให้เกิดชนวนสงครามการปฏิวัติเวียตนามใต้ขึ้น ในช่วงสงครามเวียตนาม เขาชื่อว่า Nguyen Van Troi(เหวียง วัง เจ่ย) ถูกจับกุมโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในรัฐบาลเวียตนามใต้ ข้อหาพยายามลอบสังหารนาย Robert Mcnamara เลขาฯความมั่นคงของสหรัฐ โดยการวางระเบิดสะพานCong Ly เมื่อครั้งมาเยือนไซง่อน ต่อมานาย Troi ก็ถูกยิงเป้าประหารชีวิต 15 ตุลาคม 1964 โดยชื่อของเขายังคงเป็นที่จดจำ จนกระทั่งภายหลังการรวมประเทศ ในปี 1975 สะพาน Cong Ly จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นสะพาน Nguyen Van Troi เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานถึงวีรกรรมของเขา


เนื่องจากการจราจรที่คับคั่ง จนเมื่อปีที่ผ่านมาสะพานนี้ได้ถูกปิดเพื่อทำการปรับปรุง โดยการสร้างสะพานเสริมขึ้นมาสองสะพานเพื่อระบายการจราจรชั่วคราว แต่ก็ยังแคบเกินกว่าที่จะระบายการจราจร ซึ่งอาจจะไม่ค่อยประทับใจนักท่องเที่ยวที่มาโฮจิมินห์ในครั้งแรกกับเหตุการณ์อย่างนี้ แต่นี่คือเมืองโฮจิมินห์ แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นช่วงครบรอบวันประกาศอิสรภาพปีที่ 62 ส่วนหนึ่งของสะพานได้เปิดใช้ หลังจากการขยายถนนกว้างขึ้นทั้งเส้นNguyen Van Troi และ Nam Ky Khoi Nghia ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น โดยสะพานจะเปิดใช้งานได้จริงต้นปีหน้า 2008 ถ้าหากสังเกตให้ดีช่วงผ่านสะพานด้านขวามือช่วงต่อเขตสามและเขตหนึ่ง จะมีวัดแห่งหนึ่งชื่อว่าVinh Nghiem ที่นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเยี่ยมชมและรับฟังเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในไซง่อน


ที่มา:SaigonTimes(EN)