Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Friday, August 17, 2007

VietKieu(Yuan) in Thailand Part I


ประวัติชนชาวญวน / เวียตนาม / อานัม / แกว ในประเทศไทย

ชาวญวน หรือ ที่ชาวอีสานเรียกว่า "แกว"ชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทางทิศตะวันออกของประเทศลาวและ เขมรคนกลุ่มนี้ มีอุปนิสัยขยันขัน แข็งในการทำมาหากิน จนมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในอดีตได้มีการติดต่อค้าขายกับ ชาวลาวในประเทศลาว และภาคอี สานมานานแล้วและหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง เมืองญวนดิ้นรนที่จะเป็นอิสระจากฝรั่งเศส ญวนในภาคเหนือบริเวณเมืองเดียนเบียนฟูได้หนีภัย การเมืองเข้ามาอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย อุบลราชธานี หนองคาย สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ระหว่าง พ.ศ. 2489-2492 พวกนี้มักประกอบอาชีพค้าขาย และทำให้อาหารญวนบางชนิดเป็นที่นิยม เช่น ข้าวเฝอ เป็นต้น บ้านชาวญวนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนบริเวณโคกดิน ลักษณะเหมือนเป็นเกาะเล็กๆ ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ยังคงพูดภาษาเวียดนาม ในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม ซึ่งอาศัยอยู่ตามอำเภอใหญ่ๆ ของจังหวัดสกล นครนั้นได้อพยพมาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นกลุ่ม 4 ระยะ คือ

(1) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในสมัยอยุธยา ธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ ในสมัยอยุธยา ปรากฎว่ามีหมู่บ้านญวนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สมัยพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) จำนวนคนญวนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยในสมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประมาณ 5,๐๐๐-8,๐๐๐ คน โดยตั้งรกรากตามสถานที่ต่างๆ คือ อยุธยา จันทรบุรี พาหุรัด(ย้ายไปสามเสน) บางโพ จันทรบุรี สามเสน กาญจนบุรี โดยที่ชาวญวนที่นับถือคริสต์ศาสนาจะอาศัยอยู่ที่จังหวัดจันทรบุรี ส่วนพวกที่นับถือพุทธศาสนาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กาญจนบุรี
(2) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด ชาวคนเวียดนามจำนวนมากจึงอพยพเข้ามาอยู่ประเทศลาว ประเทศเขมร และประ เทศไทย ในประเทศไทยชาวเวียดนามอพยพเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุทัยธานี หนองคาย สุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ และปราจีนบุรี สำหรับชาวเวียดนามที่มาอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร นั้นส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่บ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยสรุปได้เข้ามา 3 จุดดังนี้
2.1 ทางสะหวันนะเขต สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยที่จังหวัด มุกดาหาร อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย อุดรธานี นครพนม
2.2 ทางเวียงจันทร์ สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ที่ฝั่งไทยที่จังหวัดหนองคาย สกลนคร
2.3 ทางท่าแขก สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยที่จังหวัด นครพนม สกลนคร
(3) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ ชาวเวียดนามจึงอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 48,๐๐๐ คน ซึ่ง ขจัด บุรุษพิพัฒน์ (2521) กล่าวว่า ภายหลังจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ามาบริหารประเทศ ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้มีมาตรการควบคุมชาวเวียดนามอพยพ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 15 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เลย อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ซึ่งชาวเวียดนามอพยพจะอาศัยอยู่นอกเขต 15 จังหวัดนี้ไม่ได้
พ.ศ. 2493 ให้ชาวเวียดนามอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยบังคับให้เดินทางไปยังจังหวัดควบคุมใหม่ ภายใน 1 เดือน คือ หนองคาย สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี พ.ศ.2496 รัฐบาลไทยได้จัดส่งหัวหน้าชาวเวียดมนามในจังหวัดหนองคาย สกลนคร และนครพนม ไปไว้ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2503 อนุญาตให้ชาวเวียดนามอพยพอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่กำหนดเขต 8 จังหวัด คือหนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี พัทลุง
(4) ชาวเวียดนามอพยพที่เข้ามาอยู่ในช่วงสงคราม เวียดนามเหนือ-ใต้ เป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพ ประมาณ 2,๐๐๐-3,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่จะไปอาศัยอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ถิ่นที่อยู่เดิมชาวญวนอพยพ ที่เดินทางมาที่ประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะมาจากเวียดนามตอนกลาง และข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย ทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ จังหวัดสะหวันนะเขต จังหวัดเวียงจันทร์ และ ท่าแขก ชาวญวนอพยพจะอยู่กระจายกันในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามหัวเมือง ในปี พ.ศ.2503 ชาวเวียดนามอพยพที่เดินทางเข้ามาที่ จ.สกลนคร นั้น มีชาวเวียดนามบางส่วน ได้กลับประเทศเวียดนามแล้วแต่ยังคงเหลือตกค้างอยู่ เนื่องจากเกิดสงครามเวียดนามเหนือเวียดนามใต้ โดยในขั้นต้นชาวเวียดนามอพยพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์ประสานงาน กอ.รมน. และสำนักงานกิจการญวนอพยพ กำหนดให้ชาวเวียดนามอพยพเหล่านี้อยู่ในเขตควบคุม 8 จังหวัด คนเวียดนามได้รับการดูแล การจัดทำทะเบียนประวัติ การศึกษา การปลูกฝังให้มีความรู้ความเป็นคนไทย สามารถผสมผสานกลมกลืนเข้าสู่สังคมไทยจนในที่สุดก็มีชาวเวียดนามจำนวนมากได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลไทยให้ได้สัญชาติไทย โดยเรียกว่า “คนไทยเชื้อสายเวียดนาม” อยู่อาศัยมานานจนได้รับเชื้อชาติไทย ปัจจุบันบุคคลเหล่านี้ป ระกอบอาชีพข้าราชการ นักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น มีบทบาทต่อการปกครอง และเศรษฐกิจของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2545 คนเวียดนาม อพยพที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว ที่อาศัยอยู่ในเมืองสกลนคร ทั้งสิ้น 1,851 คน จากการที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้อาศัยอยู่อย่างกลมกลืนกับชาวไทยในจังหวัดสกลนคร และ จังหวัดใกล้เคียง มานาน 6๐ ปี แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม
ที่มาhttp://www.surinmajestic.net

No comments: