ในอดีต ชาวเวียดนาม เข้ามาอาศัยในประเทศไทยมีสถานะเป็น“ญวนอพยพ” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องจากรัฐไทย และกลายมาเป็นสะพานทางวัฒนธรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม ไม่ว่าจะในด้านภาษาโดยการเป็นครูสอนภาษาเวียดนามให้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการไทย และ นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการเวียดนามที่เดินทางมาเรียนภาษาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดในภาคอีสาน นอกจากนี้ ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยยังมีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงาน เป็นล่ามให้แก่หน่วยงานราชการและเอกชนไทยและเวียดนาม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนามที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม และบ้านโห่จี๋มิงห์ ที่บ้านหนองโอน จังหวัดอุดรธานี อีกทั้ง มีบทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การเผยแพร่อาหารเวียดนาม เป็นต้น
การบูชาบรรพบุรุษ : ภายในบ้านของคนเวียดนาม และภายในวัดทุกแห่งจะพบแท่นบูชาบรรพบุรุษการบูชาบรรพบุรุษยังคงมีความสำคัญทางสังคมและศิลธรรมอย่างสูงในสังคมเวียดนาม ในวันครบรอบวันตาย และวันเทศกาลตามประเพณีต่างๆ ญาติของผู้ตายจะมาชุมนุมกันโดยลูกชายคนโตของผู้ตายจะเป็นผู้นำในการเซ่นไว้ด้วยอาหารและธูป จากนั้นคนในครอบครัวทั้งหมดจะไปที่สุสานของผู้ตาย พิธีจบลงด้วยสมาชิกในครอบครัว คุกเข่าลงหน้าแท่นบูชา ความล้มเหลวในการบูชาบรรพบุรุษของลูกหลานจะถูกมองว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความอกตัญญูต่อบิดามารดา เพราะทำให้บรรพบุรุษต้องเร่ร่อนอยู่ในนรก
การบูชาในระดับหมู่บ้าน: ในทางปฏิบัติแล้วหมู่บ้านเวียดนามทุกแห่งจะมีจั่ว (chua-ที่วัด) และดิงห์ (dinh - ศาลาประชาคม) ชาวบ้านจะบูชาพระพุทธเจ้าจั่ว ซึ่งดูแลรักษาโดยภิกษุจำพรรษาอยู่ที่นั้น ทุกวันที่ 1 และ 15 ค่ำชาวบ้านจะไปที่จั่ว โดยนำดอกไม้ธูปเทียนและผลไม้ไปถวายพระพุทธ และประกอบพิธีที่วัดในตอนเย็นของวันที่ 14 และ 30 ของเดือนเพื่อแสดงความเสียใจในสิ่งที่ไม่ดีที่ได้กระทำลงไป และปฏิญาณว่าจะประพฤติในสิ่งที่ดีการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธในระดับหมู่บ้านจะไม่เหมือนกับของเซน เป็นการผสมผสานระหว่างเซนกับอมิตาภะ เป็นที่เชื่อกันว่าอมิตาภะจะได้สภาวะแห่งพุทธภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่ท่านได้ต้อนรับคนทุกคนที่เรียกชื่อท่านอย่างจริงใจเวลาตาย และจะนำพวกเขาไปยังสวรรค์
ศาสนาพุทธ :ได้รับการเผยแพร่เข้ามาจากอินเดียและจีน กว่าพันปีแล้ว ผู้เชียวชาญในสาสนาพุทธชาวเวียดนามคนหนึ่งถูกส่งตัวไปยังราชสำนักญี่ปุ่นเพื่อสอนบทเพลงทางสาสนาซึ่งปรากฏลัทธิ 2 ลัทธิ คือ อาอาม (A -HAM, Agaham ) และเทียน (Thien) ต่างแข่งขันกันอย่างสันติภาพในหมู่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ลัทธิเทียนเป็นลัทธิหนึ่งในศาสนาพุทธนิกายมหายาน เนื่องจากกฎเกณฑ์น้อยทำให้เป็นที่นับถือกันมาก
ลัทธิขงจื้อ: ลัทธิขงจื้อมีอายุยืนยาวมากกว่าระบบความเชื่ออื่นใด ทั้งในโลกตะวันออก และตะวันตก ลัทธินี้มีพื้นฐานมาจากคำสอนของขงจื้อซึ่งเกิดในราวปีที่ 55๐ ก่อนคริสต์กาล และอยู่ในยุคที่จีนมีความวุ่นวายทางการเมือง ขงจื้อได้ชื่อว่าเป็นผู้ชี้นำทางจริยธรรมและศิลธรรมมากกว่าที่จะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ลัทธิขงจื้อเข้ามาสู่ชาวเวียดนามโดยผ่านชาวจีนกว่า 2,๐๐๐ ปี มาแล้ว
ลัทธิเต๋า : เต๋า เต็ก เก็ง (Tao Te Ching) คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจของเต๋าเริ่มต้น ในหมู่บ้านที่มีศาสนาพุทธและขงจื้อ วิญญาณนิยม และความเชื่ออื่นๆ อยู่รวมกัน ในหมู่บ้านเหล่านี้จะมีการสร้างสถานที่สำหรับบูชาที่เรียกกันว่า เดี่ยน (dien) หรือ ติ๋งห์(tinh) ในระดับชาวบ้านเต๋าเป็นเรื่องของความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติเวทมนตร์คาถาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยอาคม
ศาสนาคริสต์ : ชาวเวียตนาม ส่วนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์ โรมันคาทอลิค และประเทศเวียดนาม เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยศาสนา ปรัชญาและความเชื่อ แบบวิญญาณนิยมเปลี่ยนไป คาทอลิคมิช ชันนารีตะวันตก พวกแรกได้เข้ามาในตังเกี๋ยทางภาคเหนือของเวียดนาม ในปี 1533 และเข้าสู่ภาคกลางของเวียดนามในปี 1596 การเผยแพร่ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ในฮอย อัน (Hoi An) ดานัง และฮานอยโดยคณะมิชชันนารีเยซูอิตชาวโปรตุเกส การเผยแพร่ศาสนาก่อให้เกิดความขัดแย้ง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้กระนั้นคาทอลิค ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง 2 ด้านอย่างแรกคือ การประดิษฐ์ภาษาเขียนแบบโรมัน สองคือการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของตรรก แบบตะวันตกเข้ามาการเปลี่ยน แปลงนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นในหมู่ขุนนางและชนชั้นปกครองผู้มองว่าศาสนาใหม่เป็นสิ่งคุกคามระ เบียบสังคมแต่ดั้งเดิมและพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความเชื่อเรื่องสวรรค์ และการบูชาบรรพบุรุษ
ที่มาhttp://www.surinmajestic.net
No comments:
Post a Comment