Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Tuesday, July 29, 2008

TV In Vietnam


ในช่วงปี 1960 เวียตนามได้เริ่มมีการนำเข้าระบบทีวีและเผยแพร่กันในเวียตนาม โดยคนอเมริกันได้ติดตั้งสถานีถ่ายทอดโทรทัศน์เป็นระบบขาวดำของTruyền hình Việt Nam (THVN) โดยในกรุงไซง่อนนั้นมี สองสถานีด้วยกันคือเป็นภาคภาษาอังกฤษหนึ่งสถานี และอีกสถานีเป็นภาคภาษาเวียตนาม หลังจากนั้นในต้นปี 1970 จึงได้มีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเกิดขึ้นในเมืองHuế, Đà Nẵng, Nha Trang, Quy Nhơn และ Cần Thơ

ส่วนสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเวียตนามที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคเหนือตั้งแต่กันยายน 1970 นั้นเดิมได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากประเทศคิวบา แต่ก็ต้องถูกบังคับย้ายอุปกรณ์ไปยังเขตเนินเขาViệt Bắc เพื่อใช้ในการถ่ายทอดสัญญานจนกระทั่งการทิ้งระเบิดของอเมริกายุติ ภายหลังการรวมชาติในปี 1975 สถานีที่ก่อตั้งโดยอเมริกันทางตอนใต้จึงได้รวมกันเป็นเครือข่ายโทรทัศน์แห่งชาติครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ แล้วโทรทัศน์สีจึงได้เริ่มมีกันมาตั้งแต่ปี 1978 จนปี 1990 คนเวียตนามทั่วไปจึงได้รับชมการถ่ายทอดสัญญานจากสถานีโทรทัศน์แห่งชาติทั้งสองสถานี


ปัจจุบันนี้ เวียตนามทีวี หรือVTV แบ่งออกจากเดิมห้าเป็นเก้าสถานีย่อยดังนี้
VTV 1 (ช่อง 9): เน้นข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน เริ่มถ่ายทอด 1 มกราคม 1990
VTV 2 (ช่อง 11): วิทยาศาสตร์,เทคโนโลยีและการศึกษาเริ่มแรกถ่ายทอดวันเดียวกับVTV1
VTV 3 (ช่อง 22):กีฬาและรายการบันเทิง เริ่มถ่ายทอด เมษายน 1995
VTV 4 : ตั้งในปี 2000 เป็นสถานีต่างประเทศ ที่นำเสนอรายการภายในท้องถิ่นที่คัดสรรแล้ว จากทั้งสามช่องดังกล่าว ผ่านดาวเทียมไปยังชาวเวียตนามในต่างแดนไปทั่วเอเชีย แอฟริกาเหนือ ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียตะวันตกเฉียงเหนือ
VTV5 :ตั้งในปี 2002 เพื่อใช้เป็นสถานีเผยแพร่ความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในเวียตนาม
VTV6: ข่าวสารเยาวชน เริ่มถ่ายทอด 29 เมษายน 2007
VTV9: ช่องแดนใต้ สาระ และอื่นๆเกี่ยวกับแดนใต้ เริ่ม 1 ตุลาคม 2007
VTV8: ช่องรายการภาษาต่างประเทศ

ปี 2003 VTV1, VTV2, VTV3 VTV5 ทั้งหมดได้ถ่ายทอดผ่านดาวเทียม

ปี 2006 ช่องทั้งหมดจึงได้ถ่ายทอดสู่ระบบinternet ผ่านเว็บไซต์ของ Việt Nam Multimedia Corporation (VTC) โดยในส่วนของVTC เองก็มีหลายช่องเช่น


VTC1: เป็นรายการหลักประกอบด้วยสาระบันเทิง หนัง ข่าวกีฬา
VTC2: เดิมเป็นรายการหนังและกีฬา ก่อนที่ VTC3 และ VTC6 จะเปิดทำการ ทำให้ปัจจุบันนี้ VTC2 เป็นผังรายการหลักของช่อง VTC1 และ VTC5ที่ถ่ายทอด หนัง กีฬา ข่าว และบันเทิง
VTC3: ช่องกีฬา
VTC4: ช่องโลกแฟชั่น
VTC5: ช่องเทคโนโลยี และสัตว์โลก
VTC6: ช่องหนัง
VTC7: ทดลองออกอากาศ(คล้าย VTC1)
iTV - VTC10: ถ่ายทอดสด เกม วาไรต์ตี้ เริ่มถ่ายทอด 1 มิถุนายน 2008
VTC11: ทดลองออกอากาศ การ์ตูน

สถานีในท้องถิ่นของ VTV มีศูนย์กลางอยู่ที่ Hồ Chí Minh City, Huế, Nha Trang, Cần Thơ, Vinh และ Tam Đảo รายการที่ทางสถานีVTVก็มีรายการเหมือนอย่างในหลายหลายประเทศ

ในปลายปี 1990 เนื่องด้วยนโยบายแห่งชาติในการขยายพื้นที่การรับชม ปี 2003 บ้านเรือนกว่า 80%ในชานเมืองมีโทรทัศน์รับชมได้เอง แต่ยังมีน้อยในทางเขตชนบทห่างไกลและตามรวงร้านซึ่งยังคงอาศัยโทรทัศน์กับเครื่องเล่นวีดีโอดูย้อนหลัง จนปี 2001 VTV ได้ถ่ายทอดรายการสารคดีรายสัปดาห์ถ่ายทอดรายการเกี่ยวกับชาวห่ม เย้า อีดะ ม้ง กระเหรี่ยง มูเซอ(เซอ ดัง) เคอ-โฮ รา-กราย จาม เซียง ขแมร์(เขมร) ในภาษาถิ่น ตอนละสามสิบนาที

ปี 1975 เกือบทุกเมือง และ59 จังหวัด มีสถานีถ่ายทอดเป็นของตนเองไม่ว่าจะเป็นทั้งโทรทัศน์และวิทยุเช่น สถานีโทรทัศน์และวิทยุ Hà Nội ได้ถ่ายทอดสดทางวิทยุตั้งแต่ปี 1954 และ มีสถานีโทรทัศน์เพียงช่องเดียว ในปี 1975 ส่วนโทรทัศน์และวิทยุHải Phòng โดยเริ่มกระจายเสียงเริ่มต้นจากจากวิทยุในปี 1956 ต่อมาก็เป็นโทรทัศน์ในปี 1975


ส่วนสถานีที่ก่อตั้งโดยคนอเมริกันมาก่อนปี1975 ส่วนมากจะอยู่ทางตอนใต้ เช่นสถานีโทรทัศน์Hồ Chí Minh City (HTV) เป็นสถานียุคเริ่มต้นของเวียตนามใต้ในนามของTruyền hình Việt Nam (THVN) ซึ่งได้ถ่ายทอดสองช่องคือ HTV7 และHTV9ครอบคลุมสัญญานรอบเมืองโฮจิมินห์และพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำโขง นอกนั้นยังมีสถานีท้องถิ่นที่เกิดในยุคเดียวกันเช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์Cần Thơ ,สถานีโทรทัศน์Đà Nẵng, สถานีโทรทัศน์Huế และสถานีวิทยุโทรทัศน์ Thừa Thiên Huế
จวบจนปัจจุบัน VTV และ HTV มีโรงถ่ายหนังและสตูดิโอถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ตามสัญญาแล้วแต่จะจ้างทั้งหนัง โฆษณา ประชาสัมพันธ์ บันเทิง แต่ส่วนมากรายการทีวี หนังและหนังชุด จะเป็นของ Việt Nam Television Film Centre (VFC) และHồ Chí Minh City Television Film Studio (TFS) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากต่างประเทศ มีเพียง 30%จะเป็นรายการและหนังจากท้องถิ่นภายในประเทศ รายการและหนังนำเข้าจะแปลเสียงสำเนียงเวียตนามทับซ้อนลงไป(จะไม่ได้พากย์หนังอย่างบ้านเรา) เมื่อไม่นานนี้ได้มีหนังเกาหลี หนังจีน ละครโอเปร่า ได้กลายมาเป็นรายการบันเทิงยอดนิยมในช่วงเวลากลางคืนของช่อง VTV3

ส่วนรายการเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดในช่อง VTV1 นั้น จะถ่ายทอดสดโอเปร่าและเทปบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตโรงละคร รวมทั้งวัฒนธรรมการแสดงท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อย ศิลปะ ปรัชญา งานเขียน ทั้งของในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 1991 โรงแรม ร้านอาหารภัตตาคาร คลับ หน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ ในเวียตนามเอง ได้อนุญาตให้ติดตั้งจานดาวเทียมได้ จึงทำให้ได้รับข่าวสารต่างประเทศมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Star TV (ฮ่องกง)และ UBC (ไทย) ผมเองก็ได้รับชมUBCเช่นกัน ในครั้งที่ไปทำงานในปี 2003 แต่เฉพาะช่วงที่ไปกินข้าวที่ร้านอาหารไทยครับ ส่วนในโรงแรมPhuongNam ก็เป็นรายการเคเบิ้ลท้องถิ่น ส่วนมากดูไม่ค่อยรู้เรื่องเป็นภาษาเวียตนาม บ้านเพื่อนผมThuy ใช้บริการทีวีเคเบิ้ลต่างประเทศ ภาพคมทีเดียวแต่เป็นภาษาเวียตนามฟังไม่รู้เรื่องได้แต่นั่งดูภาพเดาเอา

ปี 2001 ทั้งสองสถานีหลักจึงได้ขยายเครือข่ายเป็นหลายช่องสถานีเคเบิ้ล อาทิ
-Việt Nam Cable Television (Hãng Truyền hình Cáp Việt Nam, VCTV) ที่เมือง Hà Nội -Saigon Tourist Cable Television (Hãng Truyền hình Cáp Saigon Tourist, SCTV) ที่เมือง Hồ Chí Minh City
โดยทั้งสองสถานีได้นำรายการยอดนิยมจากต่างประเทศ เช่นCNN, BBC World, TV5, ESPN ,Discovery Channel,MTV Asia, Star Movies, Star World, HBO, Cinemax, Cartoon Network และTCM ปัจจุบันนี้มีหลายสถานีได้ถ่ายทอดผ่านระบบดิจิตอลโดยมีสองสถานีทางภาคใต้ คือ Hồ Chí Minh City Television Station (HTV) และสถานีวิทยุโทรทัศน์ Bình Dương เป็นสถานีริเริ่ม

VTVเองเป็นสมาชิกของAsia Pacific Broadcasting Union (ABU), Asia Pacific Institute for Broadcasting Development (AIBD) ความร่วมมืออื่นๆกับ Asian Institute for International Communication Exchange, the International Council for Francophone Radio and Television, UNICEF และ UNESCO

ทางBlogผมเองก็ได้ลิงค์มาจากVTC เพื่อทดสอบการใช้งาน ทั้งแบบย่อและเต็มจอได้ ผมเองชอบแบบflashมากกว่าดูได้ค่อนข้างดี เพื่อนๆมีวิธีการทำให้ดูได้ราบรื่นกว่านี้ลองเสนอมานะครับ


ที่มา: tv.vietnamwebsite.net,www.culturalprofiles.net, en.wikipedia.org/wiki/Media_of_Vietnam

Tuesday, July 15, 2008

Vietnamese Singer

นักร้อง หรือca sĩ =กา สี ในวันนี้ขอนำเอาประวัติของนักร้องชาวปักษ์ใต้ดินแดนบั๊นหมี่ไซ่ง่อน(ขนมปัง) ที่ผมนิยมชมชอบ(...ในใจ) ตัวเล็ก น่ารัก อย่างเด็กใต้คนนี้เธอชื่อว่า Cẩm Ly(ก่ำ ลี) ชื่อเต็มคือ Trần Thị Cẩm Ly(จ่าง ถิ ก่ำ ลี) เกิดวันที่ 30 มีนาคม ที่เวียตนาม ร้องเพลงได้หลายแนวแต่ส่วนมากจะร้องเพลงสไตล์ลูกทุ่ง ถ้าคุณได้เห็นเธอ คุณต้องคิดเหมือนผมว่า เธอเป็นดั่งsymbolic ของสาวสาวเวียตนามอย่างไม่น่าปฏิเสธ

เธอเคยออกอัลบั้มเพลงมาแล้ว 3 อัลบั้ม คือNhạc nhẹ,Nhạc trữ tình,Âm hưởng dân ca เข้าสู่วงการจากการสมัครเข้าเป็นนักร้องสมัครเล่นกับค่ายเพลงKim Lợi studio ตั้งแตปี 1990 เป็นต้นมา

จนเริ่มเมื่อเธอได้ร้องเพลงคู่กับนักร้องชายMinh Tuyết ที่โรงแสดงHòa Bình ปี 1993 เธอจึงได้เริ่มเซ็นต์สัญญาร้องเพลงกับKim Lợi studio อย่างเต็มตัว และนักร้องเพลงคู่กับMinh Tuyết ตั้งแต่นั้นมา เมื่อเป็นเพลงคู่ก็ต้องได้เห็นภาพของMinh Tuyết และ Cẩm Ly ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง Kim Lợi studio ได้นำเสนอออกมา

จนกระทั่งMinh Tuyết ไปเรียนต่ออเมริกาปี 1997 เธอจึงได้ห่างหายไปจากวงการด้วยปัญหาด้านสุขภาพ จนกระทั่งปี 1998 จึงได้หวนกลับเข้าสู่วงการโดยการออกอัลบั้มพรวดเดียวซ้อนถึงสองอัลบั้มด้วยกันกับนักร้องชายCảnh Hàn ในปี 1999 และเป็นปีแรกที่ได้ร้องเพลงคู่กับนักร้องĐan Trường เป็นครั้งแรก ครั้งนั้นเป็นการพิสูจน์ความสามารถของเธออย่างไม่ต้องสงสัยเลย

ในเดือนกรกฏาคม ปี 2001 เธอเป็นนักร้องคนแรกของเวียตนามที่ทำอัลบั้มลงแผ่นDVD และได้ร่วมทำงานเพลงอย่างอิสระเหมือนอย่างนักร้องĐan Trường ในขณะที่ยังสังกัดอยู่กับKim Lợi studio

เธอยังเป็นนักร้องคนแรกที่ทำรายการสดชื่อ"Vòng Quanh Ký Túc Xá"เพื่อช่วยเหลือค่าเทอมให้นักเรียนนักศึกษา โดยจัดการประกวดแข่งขันการแสดงความสามารถในการร้องเพลงมากว่าสองปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2003,2004 อันนี้คล้ายผมแต่โดยมากผมจะช่วยจ่ายค่าเทอมน้องๆแถวคาราโอเกะ น่ะ ฮ่า.... ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเธอยังกวาดรางวัลใหญ่จากหลายรายการอาทิ รางวัลนักร้องดีเด่นจากรายการLàn Sóng Xanh,รายการ VTV Bài hát tôi yêu,รายการMai Vàng ประจำปี 2005 และติดอันดับ 10 นักร้องยอด นิยมขวัญใจประชาชนสูงสุดของรายการLàn Sóng Xanh

จำได้ว่าตอนนั้นผมยังทำงานอยู่ที่นั่น ได้ฟังเพลงเธอค่อนข้างบ่อยแต่ร้องไม่ได้อ่ะนะ ผมเองก็มัวแต่ไปร้องเพลงของนายUng Hoang Phuc จีบสาวสาวแถวคาราโอเกะคงได้รางวัลเป็นหอมแก้มหลายฟอด ฮ่า... เล่าเลยมาไกลอีกแล้ว คราวนี้คุณลองมาฟังเพลงของเธอดูสิครับ

เพลง Chiếc khăn tay(จิ๊ก กัน ไต=ผ้าเช็ดหน้าผืนน้อย)




ที่มา:Nhacso.net,Vietmembers


Monday, July 14, 2008

Lottery Vietnam Episode II

xổ số หรือ vé số=เว้ โซ้ หวยเวียตนาม เป็นภาคต่อจาก บทความที่เคยเล่ามาแล้ว ตอนที่http://www.geocities.com/inrudee/oldnews.htm วันที่ 13 กันยายน 2549 คงขอเสริมเพิ่มเติม หวยที่นั่นถ้าใครที่ออกไปทานข้าวนอกบ้านก็คงเจอบ่อย และคงมีบ้างที่เคยอุดหนุน เพราะตื้อขายกันสุดๆ บางคนคงอยากทราบว่า รางวัลเยอะหรือเปล่า? ลองติดตามดูนะครับ

อันดับแรกขอยกตัวอย่างงวดที่ออก วันที่ 12 กรกฎาคม 2551 เมืองโฮจิมินห์ มีการออก รางวัลครั้งที่ 7B-07 เลขเจ็ดบอกให้รู้ว่าเดือนเจ็ด ส่วน B-07 น่าจะเป็นครั้งที่ของงวดเดือน อันนี้เดาเอา หวยเขาออกทุกเจ็ดวันโดยปกติ แต่เมืองนี้จะมีสองวันต่อสัปดาห์ ดังนั้นในสัปดาห์ คือออกทุกวันเสาร์และวันจันทร์ อย่าง 12 นี้เป็นวันเสาร์ วันที่ 14 เป็นวันจันทร์ก็จะออกหวยอีก เป็นรางวัลครั้งที่ 7C-2 อย่างจันทร์สัปดาห์ก่อนเป็นรางวัลครั้งที่ 7B-2 หวยอีกที่หนึ่งที่ออกแปลกกว่าเมืองอื่นคือออกรางวัลทุกวันคือหวย Xổ số Miền Bắc (หวยเมืองเหนือ)การให้รางวัลก็แตกต่างกันไป


ผมขอเรียงรายชื่อเมืองที่ออกขายหวยตามนี้นะครับ โดยขอแบ่งเป็นกลุ่มการให้รางวัลนะครับส่วนวันออกดูตามในวงเล็บดังนี้
กลุ่มที่1
TP HCM(เสาร์,จันทร์),Cà Mau(จันทร์) ,Đồng Tháp(จันทร์),Đồng Tháp(จันทร์),Kiên Giang(อาทิตย์) ,Đà Lạt(อาทิตย์),Tiền Giang(อาทิตย์),Bình Phước(เสาร์) , Long An(เสาร์),Trà Vinh(ศุกร์) ,Bình Dương(ศุกร์),Vĩnh Long(ศุกร์) ,Bình Thuận(พฤหัสบดี) ,Tây Ninh(พฤหัสบดี) ,An Giang(พฤหัสบดี) ,Đồng Nai
(พุธ),Đà Nẳng(พุธ) ,Sóc Trăng(พุธ) ,Cần Thơ (พุธ),Vũng Tàu(อังคาร) ,Bến Tre(อังคาร) ,Bạc Liêu(อังคาร) ออกรางวัลระดับเรียงกันคือ

เลขท้ายสองรางวัลละ 50.000 ด่อง
เลขท้ายสามตัวรางวัลละ 100.000 ด่อง
เลขท้ายสี่ตัว สามรางวัล รางวัลละ 200.000 ด่อง
เลขท้ายสี่ตัว หนึ่งรางวัล รางวัลละ 500.000 ด่อง
เลขท้ายห้าตัว เจ็ดรางวัล รางวัลละ 1.500.000 ด่อง
เลขท้ายห้าตัว สองรางวัล รางวัลละ 5.000.000 ด่อง
เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัล รางวัลละ 8.000.000 ด่อง
เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัล รางวัลละ 12.000.000 ด่อง
เลขท้ายห้าตัวรางวัลพิเศษ รางวัลละเท่าไหร่ไม่รู้นะ หากถูกรางวัลคงสองสามเท่าจากรางวัลที่ได้กระมัง
กลุ่มที่2
Huế(จันทร์),Phú Yên(จันทร์) ,Kontum(อาทิตย์),Khánh Hòa(พุธ,อาทิตย์),Đà Nẳng(เสาร์),Quảng Ngải (เสาร์),Hậu Giang(เสาร์) ,Đắc Nông (เสาร์),Gia Lai(ศุกร์),Ninh Thuận(ศุกร์) ,Bình Định(พฤหัสบดี) ,Quảng Bình(พฤหัสบดี) ,Quảng Trị (พฤหัสบดี),Đaklak(อังคาร),Quảng Nam (อังคาร)
ออกรางวัลระดับเรียงกันคือ

รางวัลที่แปด เลขท้ายสองตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลที่เจ็ด เลขท้ายสามตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลที่หก เลขท้ายสี่ตัว สามรางวัล
รางวัลที่ห้า เลขท้ายสี่ตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลที่สี่ เลขท้ายห้าตัว เจ็ดรางวัล
รางวัลที่สาม เลขท้ายห้าตัว สองรางวัล
รางวัลที่สอง เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลที่หนึ่ง เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลพิเศษสุดสุด เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัลกลุ่มนี้ให้รางวัลเท่าไหร่ไม่ทราบครับ

กลุ่มที่3
Xổ số Miền Bắc(ออกทุกวัน)
โดยออกรางวัลระดับเรียงกันคือ

รางวัลที่เจ็ด เลขท้ายสองตัว สี่รางวัล
รางวัลที่หก เลขท้ายสามตัว สามรางวัล
รางวัลที่ห้า เลขท้ายสี่ตัว หกรางวัล
รางวัลที่สี่ เลขท้ายสี่ตัว สี่รางวัล
รางวัลที่สาม เลขท้ายห้าตัว หกรางวัล
รางวัลที่สอง เลขท้ายห้าตัว สองรางวัล
รางวัลที่หนึ่ง เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัล
รางวัลพิเศษสุดสุด เลขท้ายห้าตัว หนึ่งรางวัลกลุ่มนี้ให้รางวัลเท่าไหร่ไม่ทราบอีกเช่นกันครับ

หวังว่าคงเป็นแนวทางให้พอเข้าใจระบบหวยเวียตนามพอคร่าวๆ นะครับ คงไม่อยากให้จริงจังกันมาก ทำงานเก็บตังค์จะดีกว่าไปซื้อหวยหวังรวย ขอสนับสนุนคนขยันตั้งใจทำงานอย่างนี้รวยแน่นอน
ที่มา:Vietmembers,www.xosobinhduong.com.vn

ดินแดนแห่งต้นมะพร้าว

Dừa เหยื่อ หรือมะพร้าว มีมากใน เขตQuoi Anซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำโขง จ.Ben Tre มีผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อที่ทำจากต้นมะพร้าวหลายๆอย่างด้วยกัน
จากท่าเทียบเรือศูนย์ท่องเที่ยวPhong Phu เดินทางโดยเรือ12ที่นั่งของบริษัทBen Tre Tourism ผ่านทิวร่มไม้ พุ่มไม้ เลียบไปตามคลองMieu ประมาณ 100 เมตรก็จะถึงแม่น้ำTien ที่มีกระแสน้ำและคลื่นลมซัด พาให้เรือท่องเที่ยวพาทุกคนค่อยๆไปยังดินแดนแห่งดงมะพร้าว

ในขณะที่เรือเคลื่อนที่ไปทางทะเลด้านตะวันออกนักท่องเที่ยวจะได้ชมความงามของเมืองMy Tho(หมี ทอ)ทางด้านซ้ายมือ ลมทะเลสงบลงทันทีที่เรือเลี้ยวขวาเข้าสู่คลอง Xep ผ่านดงต้นไทรสองข้างทาง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตามบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงกิ่งที่เรี่ยรายบางส่วนติดกับผิวน้ำ คลื่นเรือที่กระทบทำให้ดอกของมันปลิวไปตามลม


จนกระทั่งเรือมาเทียบท่าที่ Quoi An Eco-Tourist อำเภอChauThanh จังหวัดBen Tre นักท่องเที่ยวต้องเดินไปตามดงต้นลางสาดตลอดแนวถนน หลังจากเที่ยวชมผลไม้ ก็แวะเข้าบ้านรับรองที่Quoi An

นางTran Thi Thu อายุ 40ปีกล่าวว่าเธอเคยเป็นไกด์ท่องเที่ยวกว่า20ปี เมื่อสองปีที่ผ่านมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวกว่า 2,000 ตร.ม. ที่Quoi An มีชื่อเสียงเรื่องบ้านไม้มะพร้าวซึ่งเป็นความภูมิใจของคนBen Tre(เบ่น แจ๋) ไม่ว่าจะหลังคาที่มุงด้วยทางมะพร้าว ผนังพื้น ประตูหน้าต่างล้วนใช้ทำมาจากไม้มะพร้าว ฐานรองรับบ้านก็มาจากต้นมะพร้าว ที่ดูสะดุดตาก็เป็นรางระบายน้ำที่ทำจากแผ่นไม้มะพร้าว งานไม้มะพร้าวเฟอร์นิเจอร์ล้วนทำจากช่างไม้ฝีมือ

ร้านขายของที่ระลึกที่Quoi Anเป็นทรงแปดเหลี่ยมสินค้าบริการมากมายที่ทำจากมะพร้าว มีโรงงานผลิตของที่ระลึกพื้นที่กว่า 100 ตร.ม. 8 เครื่องจักร 6 ช่างไม้ งานไม้มะพร้าวที่ทำได้มีกว่า 200 แบบ ผลิตจากต้นมะพร้าว40ต้นอายุกว่า 30ปีซึ่งจะถูกจัดแสดงให้ชมได้ที่ nha bat dan(หย่า บัด ด่าน=พิพิธภัณฑ์) เป็นเรือนไม้ทำจากมะพร้าวเช่นเดียวกัน ใกล้กันก็จะมีบ้านลักษณะเดียวกัน โดยการเลือกใช้ไม้นั้นต้องอายุกว่า30ปีลำต้นตรงมีตำหนิน้อย

มีคนงานสองคนทำงานที่ห้องแสดงเย็บปักถักร้อย Nguyen Thi Mai เธออายุ 20 ปี รายได้ 600,000 ด่อง(1,556 บาท) แม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็พอเพียงกับชีวิตบ้านนอก ชิ้นงานที่ขายราคาก็แล้วแต่ชนิด อย่างผ้าทอมือ 1.7 ม.x3.0 ม. ราคา 1.500.000 ด่อง(2,890 บาท) งานเย็บปักรูป ชิ้นละ 300.000 ด่อง(578 บาท) เสื้อปักลายมังกร ตัวละ 90.000 ด่อง(173 บาท) ผ้าเช็ดหน้าผืนละ 20.000-45.000ด่อง(39-87 บาท) กระเป๋าปักลายใบละ 60.000-250.000ด่อง(118-482 บาท)

เรือนใหญ่มีบริการเครื่องดื่มเป็นที่น่าดึงดูดใจของชาวยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี กินผลไม้สด ดื่มชาน้ำผึ้งไม่ว่าจะเป็นแบบร้อน เย็น ผสมมะนาวหรือมะพร้าว ตามที่ชื่นชอบ

ผึ้งจะเก็บน้ำหวานตามสวนลางสาด แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ใช่ฤดูดอกลางสาด แต่มีผลไม้อื่นที่ออกดอกให้มันเก็บเกี่ยวมากมาย สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องนำติดมือกลับเสมออย่างงานไม้ฝีมือ น้ำผึ้ง งานปักเย็บ

คุณ Thu กล่าวว่าช่วงที่นอกฤดูท่องเที่ยว ที่Quoi An จะมีคนมาเที่ยว กว่า 100คนต่อวัน ช่วงเปิดฤดู ก็รับคนมาเที่ยวจนแทบไม่ไหว จนต้องเพิ่มอาคารบริการเครื่องดื่ม คนต่างชาติต่างชื่นชอบความเงียบสงบที่นี่มาก จนเราคงต้องสร้างบ้านพัก และส่วนรองรับอื่นๆเพิ่มขึ้น
ที่มา:The Saigon Times Weekly