Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Saturday, September 8, 2007

Black Hole Part I

วันนี้กลับจากเดินทางไปเที่ยวชลบุรีกับแม่ น้องชายและน้องสะใภ้ ระหว่างทางได้แวะเที่ยวที่หาดบางแสน เรานั่งคุยกันดื่มเบียร์กันเล็กน้อย มีเรื่องนึงที่น้องชายถามเกี่ยวกับสาวๆบริการ ผมก็ไม่เชิงอยากจะเล่าให้ฟัง แต่ก็บอกเล่าไปตามที่ได้พบเห็นมา ซึ่งวิถีชีวิตพวกเขาก็ไม่ได้ต่างจากสาวๆที่บริการในบ้านเรา มีความจำเป็น เรื่องเงินเรื่องทองไม่ต่างจากบ้านเรา มีคำพูดที่เปรียบเทียบกับสาวๆเหล่านี้ว่า ก่า ม้ำ ด๋อ หรือ ไก่เล็บแดง เป็นผู้หญิงกลางคืนก็ว่าได้ อย่างปี พ.ศ. 2546 ตอนนั้นกระแสสายเดี่ยวการทำผมไฮไล้ท์ทำผมสีสรรต่างๆ ซึ่งวิถีรูปแบบนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จะมีเฉพาะผู้หญิงกลางคืนเท่านั้นที่ทำกัน และที่สำคัญ สาวๆเหล่านี้มีเงินดอลล่าร์ตุงกระเป๋า ขับรถมอเตอร์ไซต์ฮอนด้าอย่างสมัยนั้นก็รุ่นเอชฮัก(SH) รุ่นอาร์ม๊อบ(@) คันเป็นแสนแสนบาท มือถือโนเกียรุ่นท๊อปฮิต แต่งหน้าตาสีฉูดฉาด แต่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องปกติเพราะกระแสถึงกันแล้ว ตอนนั้น เพื่อนที่ทำงานมักล้อเล่นกันเรื่องไปดื่มกาแฟตอนดึก หรือกาแฟอม(โอม=กอด) ตอนนั้นผมได้เคยไปใช้บริการครั้งหนึ่ง ตอนไปเที่ยวที่ เขตมุ่ยแน๊ จ.ฟานทิ๊ก เป็นเขตท่องเที่ยวชายทะเลแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อ ผมและกลุ่มคนไทยเราไปดื่มกันพอสมควร คนขับรถเวียตพาเราไปเที่ยวร้านกาแฟอม อันดับแรกก็ไปนั่งรอห้องรวม สั่งเครื่องดื่มนัมเบอร์วัน(กลิ่นสีคล้ายเครื่องดื่มกระทิงแดง) เครื่องดื่มน้ำอัดลม เลือกสาวๆมานั่งกอดรัดฟัดเหวี่ยงตามสะดวก แล้วแต่ฝีมือ คนคุยเวียตนามได้อย่างผมก็พอได้เปรียบเล็กน้อย บรรยากาศภายในห้องไม่ค่อยจะเป็นใจเพราะเก้าอี้ม้านั่งก็ไม่ค่อยดี ฝาผนังก็ไม้กระดานบางๆ ไฟก็หลอดไส้สีแดง สักพักยังไม่ทันไร สาวๆก็เดินเข้าออก วิ่งรอกไปห้องโน้นห้องนี้ เพื่อเอาทิปกับโต๊ะอื่น เราเองก็งงกับการบริการที่นี่ สุดท้ายก็มีคนออกมาบอกให้เราออกมา ว่าตำรวจกำลังมาตรวจ เป็นอันว่าจบกัน

เคยถามสาวๆพวกนี้เหมือนกันส่วนมาก มักจะคิดว่าคนต่างชาติเป็นเอดส์(=สีดา) เพราะตอนนั้นเป็นกันเยอะมาก อาจเป็นที่การศึกษาและอายที่จะใช้ถุงยางป้องกัน การกอดจูบลูบคลำก็เป็นการคลายเครียดกันสำหรับคนหนุ่มสาวที่นั่นอย่างถ้าจะเลยเถิดไปกว่านั้นก็แล้วแต่ จะเข้าโรงแรมก็ตังค์มีน้อยอาศัยสวนสาธารณะจอดมอไซต์จู๋จี๋กันจะประหยัดกว่า ผมจึงไม่แปลกใจที่เห็นบรรยากาศอย่างนี้เป็นเรื่องปกติของคนที่นั่นเมื่อตอนนั้น มีคนเคยบอกว่ามีอาชีพที่นิยมสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนจบอะไรมาก็คือถ้าไม่เปิดร้านกาแฟ ก็ร้านเสริมสวย สาวกลางคืนหลายคนฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจแบบนี้เฝ้าเก็บเงินยามอายุมากอย่าง 23 ปีขึ้นไป ก็ถือว่าแก่แล้วขายออกยาก (เพราะส่วนมากเริ่มมาทำธุรกิจกลางคืนก็เริ่มอายุ16ปีขึ้นไป) อายุมากก็หันมาทำงานส่วนตัว แต่ก็มีน้อยรายที่ประสบความสำเร็จ เพราะส่วนมากจะขาดความรู้ความอดทนสู้ทำงานกลางคืนที่หาเงินง่ายกว่า และหาทางออกโดยการแต่งงานกับคนต่างชาติ โดยจะชวนฝ่ายชายไปเที่ยวที่บ้านนอกพบพ่อแม่ นี่เป็นวงจรที่ได้พบเห็นมา ร้านกาแฟก็มีบ้างที่แอบแฝงประกอบการค้าประเวณี อย่างกาแฟอม ก็เช่นกัน บางที่ก็หนักกว่าเรียกว่า กาแฟ เตร็น เหยิ่ง(=กาแฟบนเตียง) อันนี้ไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วกอดอย่างเดียว แต่ได้ร่วมนอนด้วย ตอนนั้นผมได้อ่านพบในหนังสือพิมพ์ที่นั่น ก็เลยสอบถามเพื่อนเวียตดู เขาบอกว่าส่วนมากจะมีแถวต่างจังหวัด รอบนอกเมือง ทางการก็กวดขันจับกุมเพราะผิดกฎหมาย หรืออาจจะไม่จ่ายให้ถูกกฎมากกว่า ถ้าจ่ายก็ไม่มีปัญหา อย่างโรงแรมไม่ว่าจะพาเพื่อนชายหรือหญิงถ้าเป็นคนต่างชาติ ก็ต้องแยกห้อง เราต้องจองสองห้องไม่งั้นทางโรงแรมไม่ยอมให้พัก เพราะเขาต้องหนีบเอาบัตรประชาชนของสาวกับเราแยกกันและยังมีขั้นตอนยุ่งยากอีก เอาไว้เล่าต่อคราวหน้านะครับ

Sunday, September 2, 2007

Farmer Revolution

บันทึกจากท้องถิ่น
เห็นเวียดนามผ่านกบฏชาวนา กวางจุง [QUANG TRUNG]วีรบุรุษผู้รวมชาติ
โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
การเห็นประวัติศาสตร์จากภายในกลายเป็นเรื่องสําคัญของการศึกษาสังคมข้ามวัฒนธรรมหรือสังคมอื่นอย่างจําเป็นของเวียดนามสําหรับคนไทย การรับรู้ทางประวัติศาสตร์ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องกบฏไตเซินซึ่งเป็นเหตุให้องเชียงสือพร้อมครัวญวนต้องหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง จนได้รับพระราชทานกองทัพไปตีเมืองไซง่อนครั้งหนึ่ง อยู่ได้กว่า 5 ปีก็ลอบกลับบ้านกลับเมืองไปโดยไม่บอกให้ใครรู้ เป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทขุ่นเคืองและไม่ไว้ใจทัพญวนทางทะเล จนเป็นเหตุให้มีพระราชประสงค์ให้สร้างเมืองพระประแดงพร้อมป้อมขึ้นใหม่เพื่อเป็นเมืองด่านป้องกันศึกทางปากน้ำ องเชียงสือและกบฏไตเซินคือภาพของ ผู้ทรยศและกบฏ ในสายตาของคนไทยและประวัติศาสตร์ไทยแต่สําหรับชาวเวียดนาม ประวัติศาสตร์ที่ฝากร่องรอยและความทรงจําแห่งสงครามอย่างยาวนานและไม่ว่างเว้น กบฏไตเซิน คือวีรบุรุษสามัญชนผู้รวบรวมกองกําลังชาวนาเพื่อปลดแอกจากระบบภาษีที่เอาเปรียบรวมชาติเหนือและใต้ให้เป็นแผ่นดินเดียว ชาวเวียดนามเรียนรู้และซึมซับ ความรักชาติ [Patriotism] จากวีรกรรมของพี่น้องตระกูลเหวียนแห่งหมู่บ้านไตเซินในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสําคัญของประวัติศาสตร์เวียดนามยุคหนึ่ง และไม่เคยมีคําว่าผู้ทรยศสําหรับ องเชียงสือที่ต่อมาคือ จักรพรรดิญาลองปฐมกษัตริย์ผู้สร้างพระราชวังเมืองเว้และปกครองบ้านเมืองในฐานะ "เวียดนามประเทศ" ได้เป็นครั้งแรกแท้จริงแล้ว

สําหรับ กษัตริย์กวางจุง [QUANG TRUNG ] หรือ[Nguyen Hue] ( พ.ศ.2295-2335) ผู้เติบโตที่หมู่บ้านไตเซินในจังหวัดเหงียบินห์ ทางภาคกลางของเวียดนามเป็นพี่ชายคนที่สองของสามพี่น้องคือ เหวียน ธัค, เหวียน เว้ และเหวียน ลู ซึ่งเป็นหญิง [Nguyen Nhac, Nguyen Hue, and Nguyen Lu] ผู้นําในการปฏิวัติจากราชวงศ์เหวียนผู้ครอบครองแผ่นดินทางตอนใต้ของเวียดนาม ในปี พ.ศ.2328 ซึ่งเทียบได้กับช่วงเริ่มราชวงศ์จักรีที่กรุงเทพฯ พี่น้องไตเซินเข้ายึดเมืองหลวงไซง่อนและเริ่มการต่อต้านกลุ่มราชวงศ์ตรินห์ซึ่งครอบครองแผ่นดินทางเหนือเหวียน เว้ มีคําขวัญเพื่อต่อสู้คือ ฟื้นฟูราชวงศ์ลี้ ทําลายราชวงศ์ตรินห์ ภายหลังขึ้นครองราชย์ในชื่อ กวางจุง ตั้งเมืองหลวงที่เว้และส่งบรรณาการให้จีน ทําให้รัฐเป็นปึกแผ่น ปรับปรุงการทหาร ปฏิรูปที่ดิน และเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับตะวันตก ฟื้นความรู้สึกรักชาติเป็นอิสระ วางแผนประเพณีราชสํานักแทนที่แบบจีนฮั่น แต่เขาตายอย่างกะทันหันในพ.ศ.2335 ขณะมีอายุเพียง 39 ปี ลูกชายที่มีอายุเพียงสิบขวบจึงไม่สามารถรักษาบัลลังก์ไว้ได้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์กวางจุง ที่หมู่บ้านไตเซิน บ้านเกิดของพี่น้องตระกูลเหวียน พิพิธภัณฑ์สร้างในปี พ.ศ.2522 จัดแสดงร่องรอยของชีวิตและผลงานกษัตริย์กวางจุงเมื่อเกิดกระแสการลุกขึ้นสู้ของชาวนาที่ไตเซินและพื้นที่ใกล้เคียง วีรกรรมการสู้รบของเหวียน เว้และพี่น้อง รวมทั้งภาพจิตรกรรมชิ้นหนึ่งที่ถือว่าเป็นวาทกรรมทางประวัติศาสตร์ของสองประเทศคือสยามและเวียดนามเป็นภาพเรือพายอนันตนาคราชซึ่งเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงสยาม ที่เรารับรู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ส่งทัพเรือไปช่วยรบ ถูกกองเรือท้องถิ่นตีแตกพ่ายทําลายในน่านน้ำทะเลเวียดนาม อันเป็นการบ่งถึงประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของผู้เฝ้ามองจากภายในซึ่งอาจจะผิดหรือถูกในข้อเท็จจริงก็ได้ แต่ที่สําคัญคือ ภาพเขียนเหล่านั้นได้ทําหน้าที่แสดงออกอย่างเงียบๆ ในการกระตุ้นความรักชาติให้ก่อเกิดแก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ชาวเวียดนามทั้งหลายและนอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโดยรอบนอกจากอนุสาวรีย์กษัตริย์กวางจุงนําทัพซึ่งอยู่ด้านหน้าแล้ว ข้างๆ อาคารพิพิธภัณฑ์คือศาลเจ้าของตระกูลเหวียนและอนุสรณ์ที่รําลึกอื่นๆ เช่น ต้นมะขามอายุกว่าสามร้อยปี บ่อน้ำ สวนส้มของเหวียน เว้ เป็นต้น สิ่งเหล่านั้นไม้ต้องใช้การจัดแสดงแต่อย่างใด ความหมายที่แฝงเร้นอยู่ก็เพื่อให้เห็นชีวิตคนธรรมดาที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีอภินิหารเหนือมนุษย์ เพราะนี่คือกษัตริย์ชาวบ้านที่แข็งแกร่งพอจะเป็นผูนําการปลดปล่อยชาวนาที่ทุกข์ยากซึ่งเป็นผู้คนพื้นฐานของประเทศและสามารถรวมชาติเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวการยึดครองเวียดนามจนกลายเป็น "อินโดจีนของฝรั่งเศส" ระหว่าง พ.ศ. 2401-2483 และการเข้ายึดครองโดยญี่ปุ่นระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกว่า 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2483-2488 จนกระทั่งเกิด "สงครามอินโดจีน" เพื่อต่อต้านการกลับเข้ามาของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2488 - 2499 ทําให้เวียดนามต้องกลายเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีสงครามยืดเยื้อยาวนานและไม่จบสิ้น การเอาชนะฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูสําเร็จนําไปสู่การเจรจาสงบศึก จากสงครามนี้เวียดนามถูกแบ่งแยกออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ที่บริเวณเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ

ผู้นําสําคัญอีกท่านหนึ่งของเวียดนามคือ "โฮจิมินห์" เลือกที่จะใช้ระบบสังคมนิยมแก่เวียดนามเหนือหรือเวียดมินห์ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่พยายามทําอย่างเดียวกับกษัตริย์กวางจุง นั่นคือการรวมเวียดนามและสิ่งที่ประสงค์ที่สุดคือ "เวียดนามต้องเป็นหนึ่งเดียว"ความพยายามรวมชาติของ "ลุงโฮ" ยังไม่เป็นผลสําเร็จ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาขยายการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย สงครามเวียดนามจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง คราวนี้หนักหนาและปวดร้าวเกินกว่ามนุษย์จะกระทําต่อมนุษย์ด้วยกันเมื่ออเมริกาแพ้สงครามถอนทัพกลับไป เวียดนามยังคงทําสงครามเพื่อต่อต้านการเข้ามาของเขมรแดงตามแนวชายแดนจึงมีการบุกเข้าไปในกัมพูชา จนถึงปัจจุบัน เวียดนามเริ่มฟื้นจากสงครามอันยาวนาน พยายามสร้างความปรองดองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลายแก่ผู้คนมากกว่า 50 ชาติพันธุ์ และในที่สุดก็เริ่มรับระบบและค่านิยมบางอย่างจากตะวันตกอย่างช้าๆในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเวียดนาม กษัตริย์กวางจุง ผู้นํากบฏไตเซินคือวีรบุรุษชาวนาผู้รวมประเทศเวียดนามได้ครั้งแรกอย่างแท้จริง ส่วนลุงโฮ หรือโฮจิมินห์ ผู้ที่ชาวเวียดนามทุกคนต้องมีรูปท่านประดับบ้านไว้เสมอคือผู้พยายามรวมชาติเวียดนามคนต่อมาจากประสบการณ์ของการถูกกดขี่และความแตกแยกภายในชาติโดยถูกรุกรานจากผู้อื่น สิ่งที่ชาวเวียดนามตระหนักก็คือวีรบุรุษย่อมคู่กับความรักชาติเสมอและวีรบุรุษของเวียดนามนั้นแสวงหา "อิสรภาพ เสรีภาพ และความสุข"หรือ Độc lập – Tự do – Hạnh phúc=ดอบ หลับ ตื่อ ยอ หั่น ฟุ๊ก อันเป็นอุดมคติอันสูงสุด เป็นคำขวัญของประเทศ และในหนังสือราชการ หัวบรรทัดแรกเขาจะใส่คำขวัญนี้ทุกครั้งเสมอ
ที่มา:http://www.lek-prapai.org