Dict Vietnam Onlines

Dict Vietnam Onlines
Google

See Vietnam

Loading...

หัวข้อยอดนิยม

culture (9) customs (1) economic (2) Entertainment (4) famous (1) food (7) football (1) gameshow (1) general (1) History (10) language (11) law (1) lifestlye (32) lifestyle (6) Music (1) MV (5) place (1) politic (1) singer (2) socities (5) sport (1) thai (2) travel (6) viet (1) vietnam (18) work (2)

Thursday, December 20, 2007

เดินบนทางเท้าอย่างถูกวิธี

โดย Son Tung

ในไซง่อนนั้น ทางเท้าควรจะเป็นที่ที่ผู้สัญจรเดินได้อย่างปลอดภัย ถ้ามีคนถามว่า"ทางเท้าคืออะไร?"โปรดอย่าคิดว่าเป็นเรื่องตลกนะครับ คุณอาจจะตอบว่า "เป็นทางเดินสองข้างถนนมีเอาไว้ให้คนเดิน"แล้วคุณเองคงต้องกลับไปขบคิดถึงที่มาของการถาม ในเวียตนามนั้น ผู้คนรู้กันมานานแล้วว่า ทางเท้าไม่ได้เป็นเพียงทางเดินข้างถนนแต่กลับเป็นหลายหลายสิ่ง ตั้งแต่คนปั่นจักรยานมาขายของ เป็นที่จอดรถ ที่วางของกองวัสดุ จูงสุนัขเดินเล่น(โดยไม่มีใครสนใจ) บางครั้งสุนัขก็ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด(ถูกเป็นที่ต่อว่าต่อขานอย่างมาก)


หากมองว่าคนเวียตนามเองยังคงยากจน ดังนั้นทางเท้าจึงเป็นที่เลี้ยงปากท้องของพวกเขา ตั้งแต่เด็กขายหนังสือพิมพ์จนถึงคนปั่นจักรยานขายอาหาร ไซง่อนไม่ใช่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงเยอรมันที่มั่งคั่ง มีทางเท้าที่กว้างกว่าถนน เอาไว้ให้คนเดินเท้าหรือจะจอดรถตรงไหนก็ได้ คงไม่เหมือนปารีสฝรั่งเศสที่เจ้าของร้านกาแฟจะตั้งโต๊ะหน้าร้านบนทางเท้าโดยไม่เกะกะผู้คนบนทางเท้า แม้ว่าทางเท้าควรจะเป็นของผู้คนเดินเท้าตามพจนานุกรม เราคงต้องใจเย็นเดินเลี่ยงไปเดินบนถนนเพื่อรักษาใจเขาใจเราในการอยู่ร่วมกัน แม้จะเสี่ยงชีวิตต่อการถูกเฉี่ยวชนช่วงการจราจร คุณควรกลับมาดูในแต่ละวัน มีผู้คนทั้งชายหญิงแต่งตัวดีขับรถมอไซต์ หรือรถสกู๊ตเตอร์ หรือขับรถยนต์โก้หรูขับขี่อย่างประมาทไปบนทางเท้าทางข้ามบ้างที่มีผู้คนเดินสัญจร อืม...คุณบอกได้เลยว่า เป็นการวางระบบวางแผนจราจรที่แย่ ทำให้คนขับขี่รถไปบนทางเท้า เพราะการไม่ขยายถนนให้เพียงพอ แต่ยังไงก็มองไปอีกอย่างว่าคนขับขี่ใจร้อน เห็นแก่ตัว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนเดินทางเท้าได้


ถนน Le Thi Hong Gam เขตหนึ่ง ยาวเพียง 100 ม.เหมือนกับถนนสายอื่นๆที่มีทางเท้าแคบๆไม่พอให้คนเดินได้ นับว่าแปลกดี อย่างถนนอื่นนั้น ทางเท้าไม่ว่างเรายังหาทางเดินบนถนนข้างทางได้ เมื่อสัปดาห์ก่อนถนนเส้นนี้ที่เชื่อมต่อแยกCalmette ถึง แยก Pho Duc Chinh กลับไม่มีที่ให้เดินเลย ด้านข้างพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ใกล้ประตูทางเข้า EXIM Bank เวียตนาม ทางเท้าถูกกั้นเป็นที่สำหรับจอดรถมอไซต์ แต่ที่ได้รับการตำหนิมากมากก็คือการนำมาเป็นที่จอดรถยนต์ คนเดินเท้าไม่สามารถเดินได้ทั้งบนถนน ข้างทาง และข้างที่จอดรถ มีที่เดียวเท่านั้นก็คือกลางถนน จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังรถที่วิ่งสัญจรทั้งหน้าและหลัง นานแล้วที่ไม่มีใครแก้ปัญหา อาจจะไม่มีใครเคยถูกรถชน เพราะเคยชินกับการเดินกลางถนนเส้นนี้ แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ ผู้ประสบอุบัติเหตุสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายรวมทั้งค่าทำขวัญได้
ถนนเส้นนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน เมืองนี้ ที่จอดรถกินพื้นที่ทางเท้า ทางเท้าหลายที่ได้เปลี่ยนมาเป็นที่จอดรถทำให้ผู้คนต้องไปเดินกลางถนน จริงแล้วผู้คนไม่ได้ต้องการทางเท้า แต่อยากเดินอย่างความปลอดภัยมากกว่า ยอมจ่ายเงินภาษีไปเพื่อต้องการมีทางเท้า ผู้คนยังคงรอใครสักคนทำให้พวกเขามีความปลอดภัย
เมื่อไม่นานมานี้ เมืองโฮจิมินห์เกิดจราจรติดขัด ทางเทศบาลได้จัดการรณรงค์โครงการคืนทางเท้าให้ชาวบ้าน อย่างเช่นบนถนนLe Thi Hong Gam ได้ทำการกั้นเชือกเพื่อคนเดินเท้า และย้ายที่จอดรถออกไป โดยเราก็ยังหวังว่าจะยังคงมีโครงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ที่มา::The SaigonTimes Weekly(EN)

Sunday, December 16, 2007

Happy on Chirstmas Day

chúc mừng ngày lễ thế giới Nô-en
บทเพลงวันคริสต์มาส



Play/Stop MV Please Right Click Loop Then Play/Stop Below



Friday, November 2, 2007

ข้าวเหนียวนึ่งมื้อเช้ายอดนิยม

โดย Quynh Thu
สำหรับชาวไซง่อนที่รายได้น้อย โซย(xôi)หรือข้าวเหนียว ยังคงได้รับความนิยมในมื้อเช้าซึ่งพวกเขาพอที่มีงบจ่ายได้

บนถนน Le Loi เขตหนึ่งใจกลางกรุงไซง่อน ตรงไปแล้วเลี้ยวซ้ายตรงมุมถนน Pasteur แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งตรงแยกถนนแรก และคุณจะเห็น เสาไฟที่เก่าแก่ที่สุดบนถนนLe Thanh Ton ในทรงเก่าแก่จนไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่แต่ก็กล่าวได้ว่ามันคงอยู่มากว่าหลายทศวรรษแล้ว

ทุกเช้าตั้งแต่หกโมงถึงเก้าโมงบนบริเวณทางเท้าใกล้กับเสาไฟนี้จะมีหญิงชราคนหนึ่งขายข้าวเหนียวนึ่ง อาหารเช้าฟาสฟู๊ดสไตล์เวียตนาม คุณยายกล่าวว่าได้ขายมาเป็นสิบสิบปีแล้ว ตามคำเล่าของคนที่อยู่แถวนั้นกล่าวว่าแกขายมานานพอพอกับอายุของเสาไฟต้นนี้

กล่าวโดยทั่วไป ข้าวเหนียวถูกนึ่ง เพื่อให้น่ารับประทานข้าวเหนียวนึ่งจึงมีหลากหลายสีสรร ถ้าใส่ lá da(ล้า ยา=ใบเตย)จะทำให้มีสีเขียว ถ้าใส่ np than(อัญชัน) ทำให้เป็นสีม่วง ถ้าใส่ขมิ้นจะมีสีส้ม ข้าวเหนียวที่มีสีสรรต่างๆนี้จะถูกเรียกรวมกันว่า xôi ngt(โซย หงอด)หรือ ข้าวเหนียวหวาน เพราะใส่น้ำตาลลงไปด้วย ใส่เนื้อมะพร้าวขูดและงาโรยหน้า เราจะสามารถเห็นได้ว่าทั้งหมดมาจากธัญญาพืช

ในทางกลับกัน โดยแท้จริงแล้ว xôi ngt(โซย หงอด=ข้าวเหนียวนึ่งหวาน) เดิมมาจาก xôi mn(โซย หม่าน=ข้าวเหนียวนึ่งเค็ม)ที่ใช้รับประทานกับสำรับอาหารในมื้อปกติยอดนิยมอย่าง ข้าวเหนียวไส้อั่ว(xôi lp xng), ข้าวเหนียวไก่(xôi gà) หรือข้าวเหนียวหมูหยอง(xôi chà bông)

ข้าวเหนียวนึ่งยังคงเป็นที่นิยมในมื้อเช้าของชาวไซง่อน เหมาะกับคนรายได้น้อยและในหมู่เด็กนักเรียนด้วยงบเพียง 5.000 เวียตนามด่องหรือสิบสองบาทกว่า เพียงหนึ่งห่อก็ช่วยให้บางคนอิ่มยาวไปจนมื้อเที่ยงเลย
ข้าวเหนียวหวานเองก็ได้รับความนิยมไปทั่วเวียตนามซึ่งยังไม่มีที่ไหนปรุงได้อร่อยเท่าเมืองไซง่อน รวมทั้งข้าวเหนียวเค็มก็เช่นกัน

เมื่อชาวไซง่อนมีรายได้ที่ดีขึ้น ข้าวเหนียวปกติเองก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเช่นกันจะเห็นได้จากร้านขายข้าวเหนียวเค็มหลายแห่งในไซง่อนตามมุมถนนBui Thi Xuanและถนน Cong Quynhในเขตหนึ่งเอง ที่เห็นมีผู้บริโภคเข้ามารับประทานข้าวเหนียวกันตั้งแต่เช้าจบเย็น

ในเมืองไซง่อน เองตามถนนCao Thang ได้รับฉายาว่าเป็น"ถนนแห่งข้าวนึ่ง" ในทุกวันตอนเย็น เลนหนึ่งของถนนจะเต็มไปด้วยรถเข็นขายข้าวเหนียวนึ่ง สังเกตได้จากหม้อนึ่งอลูมิเนียมหรือฝาปิดสเตนเลสขนาดใหญ่

มีคนไซง่อนที่นั่นเล่าเรื่องแบบติดตลกให้เราฟังว่า เขาพักอยู่ที่อพาร์ทเม้นท์เขตBinh Thanh ทุกวันเขาจะซื้อข้าวนึ่งห่อนึงจากหญิงคนขายที่มีกว่ายี่สิบห่อ เธอเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในอพาร์ทเม้นท์แห่งนั้นเพราะข้าวนึ่งเธออร่อยราคาก็ย่อมเยา ทุกเช้าจะมีลูกค้ามารอเข้าแถวซื้อหน้ารถจักรยาน จนมีคนบางคนสงสัยว่าทำไมเธอไม่ขยายธุรกิจโดยการเปิดร้านขายหรือซื้อรถเข็นขายของ เธอบอกว่าอย่างแรกเธอไม่มีทุนและอีกอย่างคือเธอกลัวว่าจะถูกเทศกิจจับกุมที่ขายของบนทางเท้า

จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกค้าประจำของเธอก็ประหลาดใจเมื่อเธอบอกว่าจะเลิกขายแล้ว จะไปเรียนฝึกภาษาอังกฤษและงานสำนักงาน เพื่อหางานอื่นทำบ้าง ทำให้พวกเขาเองรู้สึกเสียดายที่จะไม่ได้กินมื้อเช้าที่ราคาแสนถูก อร่อย และเอาใจใส่ลูกค้า มาอย่างดีโดยตลอด อีกต่อไป

หลังจากนั้นหลายเดือนต่อมา ผู้คนแถวนั้นก็ต้องประหลาดใจอีกครั้งเมื่อ เธอและจักรยานคันเก่านั้นได้กลับมาอีกครั้ง พวกเขาดีใจมากที่จะได้มื้อเช้าที่อร่อยและราคาถูกอีกครั้ง เธอเล่าว่าการเรียนรู้ใหม่เป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับเธอ "ไม่มีอะไรที่ดีสำหรับฉันเท่ากับการขายข้าวนึ่งอีกแล้ว"

ธุรกิจเครือข่ายการขายอาหารประเภทฟาสฟู๊ดได้กระจายไปทั่วเมือง ได้สร้างกระแสค่านิยมใหม่ให้กับคนรุ่นใหม่ในไซง่อน อย่างแฮมเบอเกอร์ และมันฝรั่งทอด ที่เป็นอาหารกินเล่น ข้าวเหนียวนึ่งก็ยังคงอยู่เป็นอาหารยามเช้าตามหลายๆโรงเรียน ตามเขตที่ยากจน คนขายข้างถนนจะขายข้าวเหนียวใส่รถเข็นขายหรือใส่ตะกร้าขายแก่พวกเด็กนักเรียน คุณจะลองแวะไปดูแถวถนนNam Ky Khoi Nghia หน้าโรงเรียนเทคนิค Cao Thang ทุกเช้าช่วงเปิดเรียนจะมีคนขายกว่าสี่สิบคนจอดรถตามมุมถนนเพื่อขายข้าวเหนียว

แม้ว่าชาวไซง่อนจะมีชีวิตที่เจริญขึ้นและธุรกิจที่เติบโตขึ้น ข้าวเหนียวนึ่งก็ยังคงเป็นมื้อเช้าและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยากจนที่นั่น

ที่มา::The SaigonTimes Weekly(EN)

Thursday, November 1, 2007

ที่มาชื่อเมืองโฮจิมินห์

Ho Chi Minh City หรือชื่อเต็มว่า "ทั่น โฟ้ ห่อ จี๊ มึน" (Thành phố Hồ Chí Minh) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียตนามและตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีชื่อเดิมว่า ไพร นคร(ภาษาขอม) เป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยก่อนของเขมร ภายหลังศตวรรษที่ 16 จนประมาณปี คศ.1698 ดินแดนนี้ได้จึงตกเป็นของชาวเวียตนาม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เมืองไซง่อน จนจบสงครามเวียตนาม จากสมัยตกเป็นอาณานิคมปกครองเขตโคชินไชน่าของฝรั่งเศส ถึงสมัยจัดตั้งรัฐบาลเวียตนามใต้ ใน คศ.1954 ถึง 1975 เมืองไซง่อนจึงได้รวมกับเขตจังหวัดปริมณฑล(Gia Định) จนเปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองโฮจิมินห์(แม้ว่าปัจจุบันบางคนจะยังคงเรียกว่าเมืองไซง่อนอยู่) ใจกลางของเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งของแม่น้ำไซง่อน โดยห่างจากทะเลจีนใต้ 60 กม.

-ชื่อเดิมในภาษาเขมร เมืองไซง่อนเดิมนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อเดิมที่มาจากภาษาเขมรว่า ไพร นคร ซึ่งมีความหมายว่า เมืองป่าพนาวัณ ในปัจจุบันทางชาวเขมรชนกลุ่มน้อยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงก็ยังคงเรียกเช่นนี้อยู่

-ชื่อเรียกในเวียตนาม หลังจากที่ไพรนครตกเป็นเมืองของชาวเวียตนามที่มาจากทางตอนเหนือ นับแต่นั้นจึงได้เรียกเมืองนี้ว่า ไซ่ ก่อน(Sài Gòn) มีข้อถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับที่มาชื่อเมืองนี้ และข้อวิเคราะห์ต่างๆเกี่ยวกับชื่อนี้ตามภาษาเวียตนาม

โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อเมืองว่าไซง่อนนั้น ไซง่อนได้ถูกเรียกว่าเมืองยา ดิ่น(Gia Ðịnh) ในสมัยที่ยังคงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนปี คศ.1862 ทางฝรั่งเศสจึงได้เปลี่ยนมาเรียกเมืองอย่างเป็นทางการว่า เมือง "Saïgon" แต่โดยมากนิยมเรียกกันว่าเมือง Sài Gòn

จะว่าไปแล้วจากการเรียงคำ ในภาษาเวียตนาม Sài Gòn คำเขียนจะเขียนแยกห่างสองพยางค์ เพื่อความสะดวกในการอ่านออกเสียงสำเนียงภาษาเวียตนาม แต่ก็มีบางคนยังคงเขียนชื่อเมืองเป็นSàiGòn หรือ Sàigòn เพื่อความกระชับสั้นหรือดูแบบอย่างภาษาอังกฤษ

-รากศัพท์ในภาษาเวียตนามเป็นที่รู้กันว่าคำว่า Sài เป็นคำโดดในยืมมาจากภาษาจีน(อ่านว่า chái ในภาษาจีนกลาง) แปลว่า ฟืน,ซุง,กิ่งไม้,ไม้กั้นรั้ว คำว่า Gòn ยืมมาจากคำจีน (อ่านว่า gùn ในภาษาจีนกลาง) แปลว่า แท่ง,เสา,ซุง รวมคำทั้งสองจะมีความหมายว่า ต้นฝ้าย ในภาษาเวียตนาม(bông gòn=บอง ก่อน,gòn)บางคนกล่าวว่าชื่อนี้มีที่มาจากต้นฝ้ายจำนวนมากมาย ที่ชาวเขมรได้ปลูกไว้บริเวณโดยรอบไพรนคร ซึ่งยังคงสามารถมองเห็นได้จากบริเวณพื้นที่โดยรอบวัดCây Mai...

อีกที่มาก็คือ Trương Vĩnh Ký, "Souvenirs historiques sur Saïgon et ses environs", in Excursions et Reconnaissances,Imprimerie Coloniale, Saïgon, 1885 กล่าวว่ารากศัพท์ กิ่งแขนง(Sài) และ ลำต้น(Gòn) หมายถึง ป่าไม้ดงดิบที่ชุกชุม ที่ขึ้นอยู่โดยรอบเมือง ซึ่งตรงกันกับที่ชาวเขมรใช้เรียกกันว่าไพรนคร

ชาวจีนทั้งที่อยู่ในจีนและเวียตนามกลับไม่ได้เรียกเมืองนี้ว่า Chaai-Gwan ในภาษากวางตุ้ง หรือ Cháigùn ในภาษาจีนกลาง แม้จะมีนำสำเนียงรากศัพท์มาจากภาษาจีนแต่ชื่อไซง่อนเป็นคำตามภาษาเวียตนามที่แสลงเสียงมา ชาวจีนจึงเรียกเมืองนี้ว่า Sai-Gung ในภาษากวางตุ้ง หรือ Xīgòng ในภาษาจีนกลาง ซึ่งมีความใกล้เคียงตามสำเนียงมากที่สุด

-รากศัพท์ในภาษาเขมรอีกที่มากล่าวว่า "Saigon" มาจากคำว่า "Sai Con"ซึ่งน่าจะมาจากคำเขมรว่า ไพร คร แปลว่า ดงป่าต้นนุ่น คำว่า ไพร คร เป็นคนละคำกับ ไพร นคร ตามคำเขมร(คร=ต้นนุ่น,นคร=เมือง)ตามรากศัพท์แล้วคำในภาษาเขมรนี้มีความเกี่ยวพันกันน้อยมากนับแต่ชาวเวียตนามกลุ่มแรกเข้ามาในภูมิภาคนี้ จะว่าไปแล้วคำว่า ไพร ในภาษาเขมรกับคำว่า Sài ในภาษาเวียตนาม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลยไม่ว่าจะด้วยสำเนียงการออกเสียงเดิมทีก็ตาม

-รากศัพท์ในภาษาจีนกวางตุ้งที่มาชื่อเมืองเสนอโดยVương Hồng Sển โดยนักวิชาการเวียตนามต้นศตวรรษที่20 ซึ่งได้ยืนยันว่าคำว่า Sài Gòn มาจากชื่อในภาษากวางตุ้งว่า Chợ Lớn(เจอะ เลิ้น) ซึ่งเป็นชื่อเขตชุมชนชาวจีนในเมืองไซง่อน ชื่อของเจอะเลิ้นในภาษากวางตุ้งว่า "Tai-Ngon" แปลว่า เนินดิน ที่ดอน จึงเป็นสิ่งสนับสนุนว่าชื่อเมืองไซง่อน เพี้ยนมาจากคำว่า"Tai-Ngon"

-ชื่อปัจจุบันวันที่ 1 พฤษภาคม 1975 หลังจากการรวมชาติโดยผู้นำโฮจิมินห์ มีชื่อเรียกเมืองอย่างเป็นทางการว่า Thành phố (ทั่น โฟ้=เมือง) Hồ Chí Minh ชื่อย่อว่า TP.HCMC ในภาษาอังกฤษว่า Ho Chi Minh City ชื่อย่อว่า HCMC ชื่อตามภาษาฝรั่งเศสว่าHô Chi Minh Ville ชื่อย่อว่า HCMV แต่ชาวเวียตนามโดยทั่วไปก็ยังคงเรียกเมืองนี้ว่า Sài GònหรือSaigon

Saturday, October 27, 2007

พระสงฆ์และการเมือง

เมื่อเดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์จราจลที่พม่า มีพระสงฆ์ออกมาเดินประท้วงและได้ถูกฆ่าทำร้ายมรณกรรมไปสิบกว่ารูป ทำให้นึกถึงที่เวียตนามก็มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน แต่ตอนนั้นไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลทหาร แต่เป็นการต่อต้านรัฐบาลเวียตนามใต้เองที่กีดกันการดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนา พระรูปนั้นมีนามว่า Thích Quảng Ðức(ทิด กว๋าง ดึ๊ก) ชื่อเดิมว่านาย Lâm Văn Tức(ลาม วัง ตุ๊บ) เกิดเมื่อปี 1897 เป็นพระสงฆ์ชาวเวียตนามรูปหนึ่งที่เผาตัวเองประท้วงจนมรณกรรม ที่บริเวณ กลางสี่แยกแห่งหนึ่งในกรุงไซง่อนเมื่อ 11 กันยายน 1963 จากการกระทำของท่าน ถูกเผยแพร่โดยผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ชื่อนาย David Halberstam จากสำนักข่าว New York Times กล่าวว่า

"ผมยังคงเห็นภาพอย่างนี้ในครั้งต่อต่อมา แต่คงเทียบกับคราวนั้นไม่ได้ เปลวไฟที่ลุกท่วมร่างชายคนหนึ่ง เผาร่างกายค่อยๆแห้งหดลง ศรีษะดำไหม้จนเป็นตอตะโก อากาศทั่วบริเวณคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นเนื้อย่าง แต่ที่น่าประหลาดก็คือร่างของท่านถูกเผาไหม้อย่างรวดเร็วมาก ด้านหลังของผมนั้นระงมไปด้วยเสียงสะอื้นของชาวเวียตนามในขณะนั้นพร้อมๆกัน ทำให้ตัวผมเองนั้นกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ สับสนงุนงงจนไม่รู้ว่าจะบันทึกอะไรหรือสัมภาษณ์อะไร หัวสมองมันเคว้งคว้างไปหมด...ตอนที่ร่างท่านถูกเผา ท่านไม่ขยับตัวเลยสักนิด ไม่ส่งเสียงร้อง ความสงบนิ่งของท่าน ช่างตรงกันข้ามกับผู้คนรอบข้างท่าน ที่กำลังร้องไห้ระงม"

พระท่านนี้ต่อต้านและประท้วงวิธีการบริหารตามแนวทางของประธานาธิบดี Ngô Đình Diệm ที่กดขี่ข่มเหงชาวพุทธ ยิ่งไปกว่านั้น การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกสามัคคีในหมู่ชาวเวียตนามด้วยกันและฆ่ากันเอง

บริเวณเกิดเหตุการณ์เผาประท้วงอยู่ที่สี่แยกถนนPhan Đình Phùngและถนน Lê Văn Duyệt(ภายหลังปี 1975 ถนนสายนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนNguyễn Đình Chiểu และถนน Cách Mạng Tháng Támตามลำดับ) ก่อนเกิดเหตุการณ์ท่านจำพรรษาอยู่วัดนอกเมืองHuế ในภาคกลางเวียตนาม และได้ขับรถออสตินสีฟ้าอ่อนมาเมืองไซง่อน ซึ่งปัจจุบันรถคันนี้ยังคงเก็บรักษาไว้ที่เมืองHuế ณ วัดThien Mu

หลังจากท่านมรณกรรม ร่างท่านนั้นก็ได้ถูกเผาจนหมด แต่แปลกที่เหลือเพียงหัวใจของท่านนั้นที่ยังอยู่ เป็นสิ่งที่เชื่อว่าท่านศักดิ์สิทธิ์ และได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธนาคารเวียตนาม

ส่วนท่านผู้หญิงNhuซึ่งเป็นภริยาประธานาธิบดีขณะนั้นได้กล่าวอย่างยกย่องเกี่ยวกับการกระทำว่าเธอควร"ต้องขอปรบมือล่วงหน้าให้พระรูปอื่นๆที่จะมาแสดงการย่างบาบีคิวให้ดูอีก"(นี่เป็นชนวนที่จะก่อให้เกิดการเลียนแบบต่อต่อมาและทำลายความมั่นคงภายในรัฐบาล) จากคำพูดของเธอ ทำให้เธอได้รับฉายาว่า "Dragon Lady(หญิงเหล็ก)"

มีกลุ่มวงนักน้องเพลงร๊อคชาวสหรัฐที่ต่อต้านโรงงานจักรกลใช้รูปพระเผาตัวเองประท้วง บนปกอัลบั๊มตนเองเมื่อปี 1992 และปี 1989 บนปกอัลบั๊มกลุ่มนักร้องชาวแคนาดา เดเลเนี่ย


ที่มา::Wikipedia

Wednesday, October 24, 2007

หลายสะพานที่ไซง่อน

ในไซง่อนมีหลากหลายเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสะพานในโฮจิมินห์ทั้งระบบและมากไปกว่าอย่างประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ

โฮจิมินห์คงจะเป็นเหมือนอย่างในหลายหลายประเทศ ที่ตั้งอยู่ราบลุ่มแม่น้ำ เมืองที่มีเครือข่ายสายน้ำที่มารวมกัน จึงเป็นสาเหตุของการที่ต้องมีสะพานสำหรับการเดินทาง

ตามสถิติแล้วในไซง่อนมีอยู่มากมายหลายสะพานด้วยกัน จำนวนเท่าไรก็แล้วแต่แหล่งข้อมูล แต่เป็นที่เข้าใจว่าได้มีการสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ แต่กล่าวกันว่ามีมากกว่า 350 สะพาน หลากหลายช่วงความยาว รวมแล้วโดยเฉลี่ยแล้วยาวกว่า 17 กม.

สะพานส่วนมากถูกสร้างก่อนปี 1975 ซึ่งตอนนั้นเวียตนามยังไม่แยกเหนือใต้ โดยส่วนมากเป็นสะพานขนาดใหญ่ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวไซง่อนที่ดี ในขณะนั้นอันเป็นเวลากว่าทศวรรษ

สะพาน Cu Mong เป็นสะพานที่ล้ำสมัยแห่งแรกของเมือง ได้รับการออกแบบอย่างอย่างเหมาะสมมีระบบรูปแบบ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างสองปี 1893-1894 เชื่อมเขตหนึ่งและเขตสี่ ข้ามตลิ่งBen Nghe ด้วยความยาวกว่า 128 เมตร กว้าง 5.2 ม.ตัวสะพานโค้ง Mongเป็นคำที่ชาวบ้านเรียกว่าสายรุ้ง ด้วยตัวสะพานเองมีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่มีตอม่อ ทราบภายหลังว่าเป็นช่างชาวฝรั่งเศสในเมืองไซง่อนชุดเดียวกันกับที่ก่อสร้างหอEiffel เมื่อปีที่ผ่านมาไม่นานมานี่เอง ได้มีการสร้างอุโมงค์ขนส่งThu Thiem ลอดใต้แม่น้ำไซง่อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้สะพานนี้อีกต่อไป เมื่ออุโมงค์นี้แล้วเสร็จ

แต่ยังมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่า สะพานCu Son ถูกยกว่าเป็นสะพานที่เก่าแก่กว่าของเมือง ถูกสร้างเมื่อปลายศตวรรษที่19 ในที่ที่ได้มีการปลูกต้นยางจึงเป็นที่มาของชื่อสะพาน สะพานนี้ยาว 19 ม.กว้าง11 ม. ปัจจุบันอยู่บนเส้นทางถนน Xo Viet Nhge Tinh เชื่อมชุมชน25 และ 26 เขตBinh Thanh

ก่อนที่เวียตนามจะรวมชาติกัน สะพาน Binh Loi เป็นสะพานอาถรรพ์ สำหรับคนที่สิ้นหวังในชีวิตมักจะมา กระโดดน้ำฆ่าตัวตายในแม่น้ำไซง่อน ตามประวัติแล้วมีความสำคัญตรงที่เป็นสะพานเดินเรือเข้าออกเมืองเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1902 โดยข้าหลวงฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาสะพานจะมีอดีตที่ไม่ดี แต่ปัจจุบันมันยังคงเป็นเสมือนประตูสู่เมืองโฮจิมินห์ โดยเป็นสะพานรับการเดินทางสำหรับทางรถไฟ

สะพานอีกแห่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสะพาน Cu Chu Y มีรูปร่างเหมือนตัว Y ถูกสร้างตั้งแต่ปี 1938-1942 เชื่อมระหว่างสี่ตลิ่งอันได้แก่ Ben Nghe,Tau Hu,Kenh Doiและ Kenh Te เชื่อมเขตห้า เขตแปด และบางส่วนในเขตเจ็ด ว่ากันว่าเป็นสะพานขนส่งทางเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างเขตห้าที่ร่ำรวย(เจอะเลิ้น=ไชน่าทาวน์) และเขตแปดที่ยากจนเข้าหากัน

ส่วน สะพานBinh Trieu IและII เป็นเส้นทางออกไปยังตอนเหนือ ส่วนสะพานTan Thuan IและII เป็นเส้นทางไปทางตอนใต้ ส่วนสะพาน Binh Dien IและIIเป็นเส้นทางไปทางออกไปทางตะวันตก ทุกสะพานที่กล่าวถึงนั้น มีบางสิ่งที่เหมือนกันคือถูกสร้างขึ้นเป็นสะพานคู่โดยสะพานคู่ที่สร้างนั้นได้ถูกสร้างภายหลังการรวมชาติ
อย่างไรก็ตามถ้านับความยาวและมีชื่อเสียงของเมืองคงไม่พ้นสะพานไซง่อน ที่เชื่อมถนนDien Bien Phu เขตBinh Thanh ออกถนนหลวงฮานอยเขตสอง ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Johnson-Drake and Pipe จากสหรัฐ เมื่อพฤศจิกายน ปี 1958-มิถุนายน 1961มี 22 ช่วงรวมแล้วยาวกว่า 1,010 ม.ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้มา มันยังคงเป็นประตูสำคัญในการเข้าสู่เมือง

ในปี 1998 สะพานไซง่อนได้รับการปรับปรุงด้วยวงเงินสนับสนุนงบประมาณจากฝรั่งเศส ว่าจ้างบริษัทฝรั่งเศสPreyssinet ที่เคยสร้างสะพาน Chu Y ทำการขยายความกว้างสะพานจาก 19.63 ม. เป็น 24 ม.
สะพานใหญ่ต่อไปในไซง่อนคงจะไม่พ้นสะพาน Thu Thiem ที่เชื่อมต่อเขตเมืองตอนในกับเขตชานเมืองเศรษฐกิจใหม่Thu Thiem เขตสอง ด้วยความยาวสะพานที่ยาวกว่าสะพานไซง่อนถึง 1,250 ม. ห้าช่วงช่วงละ370 ม. กว้าง 28 ม.

สะพาน Thu Thiem นี้คาดว่าจะเปิดตัวปลายปีนี้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากความล่าช้าจากหลายสาเหตุ คงทำให้สะพานแห่งนี้ ช่วยยกระดับศักยภาพของริมฝั่งริมตลิ่งของแม่น้ำไซง่อนต่อไป

Saturday, October 20, 2007

ชื่อสะพานที่มาของวีรกรรม

สะพานNguyen Van Troiหรือสะพาน Cong Lyเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งบนเส้นทางจากสนามบินTan Son Nhat ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองโฮจิมินห์ นับจากลงเครื่องเราสามารถนั่งรถแท๊กซี่ เราต้องผ่านถนนTruong Son ถนนNguyen Van Troi ถนนNam Ky Khoi Nghiaก่อนเข้าสู่ถนนLe Loi อันเป็นใจกลางเมืองไซง่อน
ถ้าเราวิ่งบนถนนNguyen Van Troi ผ่านเขตPhu Nhuan สังเกตว่าจะต้องผ่านสะพานแห่งหนึ่งก่อนที่จะถึงถนนNam Ky Khoi Nghiagในเขตสาม และมั่นใจได้เลยว่าสะพานแห่งนี้เป็นสะพานแรกที่คุณต้องผ่านนับแต่คุณมาเที่ยวเมืองโฮจิมินห์ สะพานนี้มีชื่อว่าสะพาน Nguyen Van Troi แต่ชาวเมืองไซง่อนจะเรียกว่าสะพานCong Ly มีความยาวเพียงแค่ 100 เมตรเชื่อมระหว่างสองตลิ่งคือ Nhieu Loc-Thi Nghe Arroyo(ช่องแคบของคลอง-คำฝรั่งเศสผสมสเปน) สะพานได้สร้างขึ้นไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา และเป็นสถานที่สำคัญก่อนเข้าเมืองโฮจิมินห์


เมื่อปี คศ 1960 สะพานCong Ly มีข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อสำนักข่าวต่างประเทศได้เสนอข่าวเกี่ยวชายคนหนึ่ง ซึ่งภายหลังก่อให้เกิดชนวนสงครามการปฏิวัติเวียตนามใต้ขึ้น ในช่วงสงครามเวียตนาม เขาชื่อว่า Nguyen Van Troi(เหวียง วัง เจ่ย) ถูกจับกุมโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในรัฐบาลเวียตนามใต้ ข้อหาพยายามลอบสังหารนาย Robert Mcnamara เลขาฯความมั่นคงของสหรัฐ โดยการวางระเบิดสะพานCong Ly เมื่อครั้งมาเยือนไซง่อน ต่อมานาย Troi ก็ถูกยิงเป้าประหารชีวิต 15 ตุลาคม 1964 โดยชื่อของเขายังคงเป็นที่จดจำ จนกระทั่งภายหลังการรวมประเทศ ในปี 1975 สะพาน Cong Ly จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นสะพาน Nguyen Van Troi เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานถึงวีรกรรมของเขา


เนื่องจากการจราจรที่คับคั่ง จนเมื่อปีที่ผ่านมาสะพานนี้ได้ถูกปิดเพื่อทำการปรับปรุง โดยการสร้างสะพานเสริมขึ้นมาสองสะพานเพื่อระบายการจราจรชั่วคราว แต่ก็ยังแคบเกินกว่าที่จะระบายการจราจร ซึ่งอาจจะไม่ค่อยประทับใจนักท่องเที่ยวที่มาโฮจิมินห์ในครั้งแรกกับเหตุการณ์อย่างนี้ แต่นี่คือเมืองโฮจิมินห์ แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นช่วงครบรอบวันประกาศอิสรภาพปีที่ 62 ส่วนหนึ่งของสะพานได้เปิดใช้ หลังจากการขยายถนนกว้างขึ้นทั้งเส้นNguyen Van Troi และ Nam Ky Khoi Nghia ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น โดยสะพานจะเปิดใช้งานได้จริงต้นปีหน้า 2008 ถ้าหากสังเกตให้ดีช่วงผ่านสะพานด้านขวามือช่วงต่อเขตสามและเขตหนึ่ง จะมีวัดแห่งหนึ่งชื่อว่าVinh Nghiem ที่นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเยี่ยมชมและรับฟังเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในไซง่อน


ที่มา:SaigonTimes(EN)

Saturday, September 8, 2007

Black Hole Part I

วันนี้กลับจากเดินทางไปเที่ยวชลบุรีกับแม่ น้องชายและน้องสะใภ้ ระหว่างทางได้แวะเที่ยวที่หาดบางแสน เรานั่งคุยกันดื่มเบียร์กันเล็กน้อย มีเรื่องนึงที่น้องชายถามเกี่ยวกับสาวๆบริการ ผมก็ไม่เชิงอยากจะเล่าให้ฟัง แต่ก็บอกเล่าไปตามที่ได้พบเห็นมา ซึ่งวิถีชีวิตพวกเขาก็ไม่ได้ต่างจากสาวๆที่บริการในบ้านเรา มีความจำเป็น เรื่องเงินเรื่องทองไม่ต่างจากบ้านเรา มีคำพูดที่เปรียบเทียบกับสาวๆเหล่านี้ว่า ก่า ม้ำ ด๋อ หรือ ไก่เล็บแดง เป็นผู้หญิงกลางคืนก็ว่าได้ อย่างปี พ.ศ. 2546 ตอนนั้นกระแสสายเดี่ยวการทำผมไฮไล้ท์ทำผมสีสรรต่างๆ ซึ่งวิถีรูปแบบนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จะมีเฉพาะผู้หญิงกลางคืนเท่านั้นที่ทำกัน และที่สำคัญ สาวๆเหล่านี้มีเงินดอลล่าร์ตุงกระเป๋า ขับรถมอเตอร์ไซต์ฮอนด้าอย่างสมัยนั้นก็รุ่นเอชฮัก(SH) รุ่นอาร์ม๊อบ(@) คันเป็นแสนแสนบาท มือถือโนเกียรุ่นท๊อปฮิต แต่งหน้าตาสีฉูดฉาด แต่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องปกติเพราะกระแสถึงกันแล้ว ตอนนั้น เพื่อนที่ทำงานมักล้อเล่นกันเรื่องไปดื่มกาแฟตอนดึก หรือกาแฟอม(โอม=กอด) ตอนนั้นผมได้เคยไปใช้บริการครั้งหนึ่ง ตอนไปเที่ยวที่ เขตมุ่ยแน๊ จ.ฟานทิ๊ก เป็นเขตท่องเที่ยวชายทะเลแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อ ผมและกลุ่มคนไทยเราไปดื่มกันพอสมควร คนขับรถเวียตพาเราไปเที่ยวร้านกาแฟอม อันดับแรกก็ไปนั่งรอห้องรวม สั่งเครื่องดื่มนัมเบอร์วัน(กลิ่นสีคล้ายเครื่องดื่มกระทิงแดง) เครื่องดื่มน้ำอัดลม เลือกสาวๆมานั่งกอดรัดฟัดเหวี่ยงตามสะดวก แล้วแต่ฝีมือ คนคุยเวียตนามได้อย่างผมก็พอได้เปรียบเล็กน้อย บรรยากาศภายในห้องไม่ค่อยจะเป็นใจเพราะเก้าอี้ม้านั่งก็ไม่ค่อยดี ฝาผนังก็ไม้กระดานบางๆ ไฟก็หลอดไส้สีแดง สักพักยังไม่ทันไร สาวๆก็เดินเข้าออก วิ่งรอกไปห้องโน้นห้องนี้ เพื่อเอาทิปกับโต๊ะอื่น เราเองก็งงกับการบริการที่นี่ สุดท้ายก็มีคนออกมาบอกให้เราออกมา ว่าตำรวจกำลังมาตรวจ เป็นอันว่าจบกัน

เคยถามสาวๆพวกนี้เหมือนกันส่วนมาก มักจะคิดว่าคนต่างชาติเป็นเอดส์(=สีดา) เพราะตอนนั้นเป็นกันเยอะมาก อาจเป็นที่การศึกษาและอายที่จะใช้ถุงยางป้องกัน การกอดจูบลูบคลำก็เป็นการคลายเครียดกันสำหรับคนหนุ่มสาวที่นั่นอย่างถ้าจะเลยเถิดไปกว่านั้นก็แล้วแต่ จะเข้าโรงแรมก็ตังค์มีน้อยอาศัยสวนสาธารณะจอดมอไซต์จู๋จี๋กันจะประหยัดกว่า ผมจึงไม่แปลกใจที่เห็นบรรยากาศอย่างนี้เป็นเรื่องปกติของคนที่นั่นเมื่อตอนนั้น มีคนเคยบอกว่ามีอาชีพที่นิยมสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนจบอะไรมาก็คือถ้าไม่เปิดร้านกาแฟ ก็ร้านเสริมสวย สาวกลางคืนหลายคนฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจแบบนี้เฝ้าเก็บเงินยามอายุมากอย่าง 23 ปีขึ้นไป ก็ถือว่าแก่แล้วขายออกยาก (เพราะส่วนมากเริ่มมาทำธุรกิจกลางคืนก็เริ่มอายุ16ปีขึ้นไป) อายุมากก็หันมาทำงานส่วนตัว แต่ก็มีน้อยรายที่ประสบความสำเร็จ เพราะส่วนมากจะขาดความรู้ความอดทนสู้ทำงานกลางคืนที่หาเงินง่ายกว่า และหาทางออกโดยการแต่งงานกับคนต่างชาติ โดยจะชวนฝ่ายชายไปเที่ยวที่บ้านนอกพบพ่อแม่ นี่เป็นวงจรที่ได้พบเห็นมา ร้านกาแฟก็มีบ้างที่แอบแฝงประกอบการค้าประเวณี อย่างกาแฟอม ก็เช่นกัน บางที่ก็หนักกว่าเรียกว่า กาแฟ เตร็น เหยิ่ง(=กาแฟบนเตียง) อันนี้ไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วกอดอย่างเดียว แต่ได้ร่วมนอนด้วย ตอนนั้นผมได้อ่านพบในหนังสือพิมพ์ที่นั่น ก็เลยสอบถามเพื่อนเวียตดู เขาบอกว่าส่วนมากจะมีแถวต่างจังหวัด รอบนอกเมือง ทางการก็กวดขันจับกุมเพราะผิดกฎหมาย หรืออาจจะไม่จ่ายให้ถูกกฎมากกว่า ถ้าจ่ายก็ไม่มีปัญหา อย่างโรงแรมไม่ว่าจะพาเพื่อนชายหรือหญิงถ้าเป็นคนต่างชาติ ก็ต้องแยกห้อง เราต้องจองสองห้องไม่งั้นทางโรงแรมไม่ยอมให้พัก เพราะเขาต้องหนีบเอาบัตรประชาชนของสาวกับเราแยกกันและยังมีขั้นตอนยุ่งยากอีก เอาไว้เล่าต่อคราวหน้านะครับ

Sunday, September 2, 2007

Farmer Revolution

บันทึกจากท้องถิ่น
เห็นเวียดนามผ่านกบฏชาวนา กวางจุง [QUANG TRUNG]วีรบุรุษผู้รวมชาติ
โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
การเห็นประวัติศาสตร์จากภายในกลายเป็นเรื่องสําคัญของการศึกษาสังคมข้ามวัฒนธรรมหรือสังคมอื่นอย่างจําเป็นของเวียดนามสําหรับคนไทย การรับรู้ทางประวัติศาสตร์ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องกบฏไตเซินซึ่งเป็นเหตุให้องเชียงสือพร้อมครัวญวนต้องหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง จนได้รับพระราชทานกองทัพไปตีเมืองไซง่อนครั้งหนึ่ง อยู่ได้กว่า 5 ปีก็ลอบกลับบ้านกลับเมืองไปโดยไม่บอกให้ใครรู้ เป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทขุ่นเคืองและไม่ไว้ใจทัพญวนทางทะเล จนเป็นเหตุให้มีพระราชประสงค์ให้สร้างเมืองพระประแดงพร้อมป้อมขึ้นใหม่เพื่อเป็นเมืองด่านป้องกันศึกทางปากน้ำ องเชียงสือและกบฏไตเซินคือภาพของ ผู้ทรยศและกบฏ ในสายตาของคนไทยและประวัติศาสตร์ไทยแต่สําหรับชาวเวียดนาม ประวัติศาสตร์ที่ฝากร่องรอยและความทรงจําแห่งสงครามอย่างยาวนานและไม่ว่างเว้น กบฏไตเซิน คือวีรบุรุษสามัญชนผู้รวบรวมกองกําลังชาวนาเพื่อปลดแอกจากระบบภาษีที่เอาเปรียบรวมชาติเหนือและใต้ให้เป็นแผ่นดินเดียว ชาวเวียดนามเรียนรู้และซึมซับ ความรักชาติ [Patriotism] จากวีรกรรมของพี่น้องตระกูลเหวียนแห่งหมู่บ้านไตเซินในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสําคัญของประวัติศาสตร์เวียดนามยุคหนึ่ง และไม่เคยมีคําว่าผู้ทรยศสําหรับ องเชียงสือที่ต่อมาคือ จักรพรรดิญาลองปฐมกษัตริย์ผู้สร้างพระราชวังเมืองเว้และปกครองบ้านเมืองในฐานะ "เวียดนามประเทศ" ได้เป็นครั้งแรกแท้จริงแล้ว

สําหรับ กษัตริย์กวางจุง [QUANG TRUNG ] หรือ[Nguyen Hue] ( พ.ศ.2295-2335) ผู้เติบโตที่หมู่บ้านไตเซินในจังหวัดเหงียบินห์ ทางภาคกลางของเวียดนามเป็นพี่ชายคนที่สองของสามพี่น้องคือ เหวียน ธัค, เหวียน เว้ และเหวียน ลู ซึ่งเป็นหญิง [Nguyen Nhac, Nguyen Hue, and Nguyen Lu] ผู้นําในการปฏิวัติจากราชวงศ์เหวียนผู้ครอบครองแผ่นดินทางตอนใต้ของเวียดนาม ในปี พ.ศ.2328 ซึ่งเทียบได้กับช่วงเริ่มราชวงศ์จักรีที่กรุงเทพฯ พี่น้องไตเซินเข้ายึดเมืองหลวงไซง่อนและเริ่มการต่อต้านกลุ่มราชวงศ์ตรินห์ซึ่งครอบครองแผ่นดินทางเหนือเหวียน เว้ มีคําขวัญเพื่อต่อสู้คือ ฟื้นฟูราชวงศ์ลี้ ทําลายราชวงศ์ตรินห์ ภายหลังขึ้นครองราชย์ในชื่อ กวางจุง ตั้งเมืองหลวงที่เว้และส่งบรรณาการให้จีน ทําให้รัฐเป็นปึกแผ่น ปรับปรุงการทหาร ปฏิรูปที่ดิน และเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับตะวันตก ฟื้นความรู้สึกรักชาติเป็นอิสระ วางแผนประเพณีราชสํานักแทนที่แบบจีนฮั่น แต่เขาตายอย่างกะทันหันในพ.ศ.2335 ขณะมีอายุเพียง 39 ปี ลูกชายที่มีอายุเพียงสิบขวบจึงไม่สามารถรักษาบัลลังก์ไว้ได้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์กวางจุง ที่หมู่บ้านไตเซิน บ้านเกิดของพี่น้องตระกูลเหวียน พิพิธภัณฑ์สร้างในปี พ.ศ.2522 จัดแสดงร่องรอยของชีวิตและผลงานกษัตริย์กวางจุงเมื่อเกิดกระแสการลุกขึ้นสู้ของชาวนาที่ไตเซินและพื้นที่ใกล้เคียง วีรกรรมการสู้รบของเหวียน เว้และพี่น้อง รวมทั้งภาพจิตรกรรมชิ้นหนึ่งที่ถือว่าเป็นวาทกรรมทางประวัติศาสตร์ของสองประเทศคือสยามและเวียดนามเป็นภาพเรือพายอนันตนาคราชซึ่งเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงสยาม ที่เรารับรู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ส่งทัพเรือไปช่วยรบ ถูกกองเรือท้องถิ่นตีแตกพ่ายทําลายในน่านน้ำทะเลเวียดนาม อันเป็นการบ่งถึงประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของผู้เฝ้ามองจากภายในซึ่งอาจจะผิดหรือถูกในข้อเท็จจริงก็ได้ แต่ที่สําคัญคือ ภาพเขียนเหล่านั้นได้ทําหน้าที่แสดงออกอย่างเงียบๆ ในการกระตุ้นความรักชาติให้ก่อเกิดแก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ชาวเวียดนามทั้งหลายและนอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโดยรอบนอกจากอนุสาวรีย์กษัตริย์กวางจุงนําทัพซึ่งอยู่ด้านหน้าแล้ว ข้างๆ อาคารพิพิธภัณฑ์คือศาลเจ้าของตระกูลเหวียนและอนุสรณ์ที่รําลึกอื่นๆ เช่น ต้นมะขามอายุกว่าสามร้อยปี บ่อน้ำ สวนส้มของเหวียน เว้ เป็นต้น สิ่งเหล่านั้นไม้ต้องใช้การจัดแสดงแต่อย่างใด ความหมายที่แฝงเร้นอยู่ก็เพื่อให้เห็นชีวิตคนธรรมดาที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีอภินิหารเหนือมนุษย์ เพราะนี่คือกษัตริย์ชาวบ้านที่แข็งแกร่งพอจะเป็นผูนําการปลดปล่อยชาวนาที่ทุกข์ยากซึ่งเป็นผู้คนพื้นฐานของประเทศและสามารถรวมชาติเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวการยึดครองเวียดนามจนกลายเป็น "อินโดจีนของฝรั่งเศส" ระหว่าง พ.ศ. 2401-2483 และการเข้ายึดครองโดยญี่ปุ่นระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกว่า 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2483-2488 จนกระทั่งเกิด "สงครามอินโดจีน" เพื่อต่อต้านการกลับเข้ามาของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2488 - 2499 ทําให้เวียดนามต้องกลายเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีสงครามยืดเยื้อยาวนานและไม่จบสิ้น การเอาชนะฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูสําเร็จนําไปสู่การเจรจาสงบศึก จากสงครามนี้เวียดนามถูกแบ่งแยกออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ที่บริเวณเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ

ผู้นําสําคัญอีกท่านหนึ่งของเวียดนามคือ "โฮจิมินห์" เลือกที่จะใช้ระบบสังคมนิยมแก่เวียดนามเหนือหรือเวียดมินห์ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่พยายามทําอย่างเดียวกับกษัตริย์กวางจุง นั่นคือการรวมเวียดนามและสิ่งที่ประสงค์ที่สุดคือ "เวียดนามต้องเป็นหนึ่งเดียว"ความพยายามรวมชาติของ "ลุงโฮ" ยังไม่เป็นผลสําเร็จ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาขยายการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย สงครามเวียดนามจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง คราวนี้หนักหนาและปวดร้าวเกินกว่ามนุษย์จะกระทําต่อมนุษย์ด้วยกันเมื่ออเมริกาแพ้สงครามถอนทัพกลับไป เวียดนามยังคงทําสงครามเพื่อต่อต้านการเข้ามาของเขมรแดงตามแนวชายแดนจึงมีการบุกเข้าไปในกัมพูชา จนถึงปัจจุบัน เวียดนามเริ่มฟื้นจากสงครามอันยาวนาน พยายามสร้างความปรองดองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลายแก่ผู้คนมากกว่า 50 ชาติพันธุ์ และในที่สุดก็เริ่มรับระบบและค่านิยมบางอย่างจากตะวันตกอย่างช้าๆในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเวียดนาม กษัตริย์กวางจุง ผู้นํากบฏไตเซินคือวีรบุรุษชาวนาผู้รวมประเทศเวียดนามได้ครั้งแรกอย่างแท้จริง ส่วนลุงโฮ หรือโฮจิมินห์ ผู้ที่ชาวเวียดนามทุกคนต้องมีรูปท่านประดับบ้านไว้เสมอคือผู้พยายามรวมชาติเวียดนามคนต่อมาจากประสบการณ์ของการถูกกดขี่และความแตกแยกภายในชาติโดยถูกรุกรานจากผู้อื่น สิ่งที่ชาวเวียดนามตระหนักก็คือวีรบุรุษย่อมคู่กับความรักชาติเสมอและวีรบุรุษของเวียดนามนั้นแสวงหา "อิสรภาพ เสรีภาพ และความสุข"หรือ Độc lập – Tự do – Hạnh phúc=ดอบ หลับ ตื่อ ยอ หั่น ฟุ๊ก อันเป็นอุดมคติอันสูงสุด เป็นคำขวัญของประเทศ และในหนังสือราชการ หัวบรรทัดแรกเขาจะใส่คำขวัญนี้ทุกครั้งเสมอ
ที่มา:http://www.lek-prapai.org

Sunday, August 26, 2007

How Come Saigon Part I

Tortoise Fountain หรือ วงเวียนน้ำพุหลังเต่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโฮจิมินห์ จุดที่ถนนPham Ngoc Thach, Vo Van Tan และ Tran Cao Van ตัดกันเป็นวงเวียน ด้านหลัง ไดม่อนพลาซ่า ห่างโบสถ์Notre Dame ไป 200 เมตร น้ำพุหลังเต่านี้มีประวัติคู่กับเมืองนี้มาแต่ช้านาน ถูกสร้างโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปี คศ.1879 โดยเป็นหอคอยถังเก็บน้ำประปา 100 ลบ.ม. มีเสา 8 ต้นวางแปดเหลี่ยม รับถัง ความสูงกว่า 20 เมตร บนยอดหอคอยปูกระเบื้อง รูปแบบโครงสร้างการออกแบบสะท้อนความเป็นไข่มุกตะวันออก อันเป็นที่มาของชื่อเมือง "ไซง่อน" ในขณะนั้น ถ้าใครได้มีโอกาส เห็นโปสการ์ดเก่าๆ ชื่อไซง่อน ได้มีการเรียกกันภายหลังปีศตวรรษที่ 19 ทีนี้คงทำให้เพื่อนๆหลายคนทราบที่มาของชื่อเมืองนี้ รวมทั้งเพลงยอดนิยม Saigon Dep Lam ในเวลาต่อมา นะครับ
ต่อมาใน ปี คศ. 1921 หอแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงโดยเนื่องจากสาเหตุที่ไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแบบแปลนทางสถาปัตยกรรม และรายการประกอบแบบการก่อสร้างที่สูญหาย เดิมต้นฉบับแบบแปลนนั้นเอามาจากกรมทหารเรืออังกฤษ แบบได้ถูกส่งไปให้ผู้ว่าการทำเนียบรัฐบาล ส่งต่อไปยังรัฐมนตรีสาธารณสุข สุดท้ายไปยังหน่วยงานท้องถิ่น เป็นไปได้ว่าได้สูญหาย เสียหายจากการขนส่ง หรืออาจถูกมอดปลวกทำลายในห้องเก็บพัสดุ เหตุหลักน่าจะเป็นโครงสร้างที่แตกหักจนเกินที่จะซ่อมแซม แบบแปลนที่สูญหายไป การกักเก็บน้ำประปาไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น คงเป็นอย่างนั้นมากกว่า

หลังจากที่หอนี้ได้ถูกทุบทิ้ง จนในปี คศ.1927 สภาเทศบาลเมืองไซง่อนได้ทำเป็นถนนวงเวียนตั้งชื่อว่า Marechal Joffre Square เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ระลึกถึงการสูญเสียในสงครามโลกปี 1914-1918

ต่อมาในปี 1972 รัฐบาลเวียตนามใต้ได้กลับมาบูรณะแยกดังกล่าวเพื่อเป็นที่ระลึกถึงความร่วมมือของนานาประเทศที่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลเวียตนามใต้ในขณะนั้น โดยกลางน้ำพุนั้น เป็นเสาสูง20เมตรห้าต้น เปรียบเหมือนความร่วมมือห้าพันธมิตรดั่งต้นปาล์มห้าต้นค้ำชูลูกโลก ข้างๆเสาทั้งห้าจะเป็นหลังคาทรงหลังเต่าทำด้วยทองแดง โดยด้านบนจะมีแผ่นหินจารึกประเทศพันธมิตรที่ช่วยเหลือเวียตนามใต้ในขณะนั้น(คิดว่าคงมีประเทศไทยด้วยนะ เพราะเราก็ส่งกองกำลังไปช่วยเหลือเขาในขณะนั้น) รวมทั้งมีบันไดสามสิบขั้นโดยมีชานพักบันไดทุกสิบขั้น ทางด้านใต้ของสระน้ำพุถูกยกพื้นเป็นแท่นสูงขึ้นห้าเมตร เพื่อแยกเป็นส่วนของสววรค์และโลกมนุษย์ ซึ่งต่างจากแท่นบวงสรวงของ Nam Giao ที่เมืองเว้(Hue) โดยรูปทรงของแท่นที่ยกสูงนี้จะกลมก็ไม่เชิงเหลี่ยมก็ไม่ใช่ แต่จะเป็นทรงรี สองแกนสิบสองเมตรและเจ็ดเมตร แท่นนี้รับโดยเสาเดี่ยว มีเสาแปดต้นล้อมรอบ บนแท่นจะแท่นบูชาสูงหนึ่งเมตรหันไปทางด้านเหนือ

เมื่อสร้างแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ได้ส่งมอบงานเนื่องจากชาวเมืองไซง่อนรู้สึกว่าเสาห้าต้นที่แบเหมือนมือที่ขอความช่วยเหลือ ทำให้ไม่เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวเมือง ดังนั้นรัฐบาลจึงทำการดัดแปลงเสาและมือดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนเป็นรูปกลีบดอกไม้ยี่สิบห้าแฉก จนเป็นโครงสร้างดังได้เห็นในปัจจุบัน
ต้นเดือนเมษายนปี 1976 หรือหลังจากเมืองไซง่อนถูกปฏิวัติ วงเวียนดังกล่าวได้ถูกลอบวางระเบิดเมื่อประมาณ สองทุ่ม มีชายหนุ่มเสียชีวิตหนึ่ง อีกสี่คนบาดเจ็บ หลังคาทองแดงหลังเต่าเสียหาย โดยทางตำรวจสรุปว่าเป็นการก่อวินาศกรรมล้มรัฐบาลของชายหนุ่มดังกล่าว ที่ตั้งระเบิดไดนาไมค์ไว้บนหลังเต่านั้นเอง

ปัจจุบันนี้ แม้จะไม่มีเต่าอยู่ที่นั่น แต่ชื่อวงเวียนน้ำพุหลังเต่ายังคงอยู่ มีชีวิตชีวายามค่ำคืน รอบๆมีทั้งค๊อฟฟี่ชอ๊ป ขายของที่ระลึก ร้านรวงต่างๆมากมาย ขึ้นชื่อเรื่องไอศครีมโดยเฉพาะรสกะทิ บริเวณรอบนอกน้ำพุมีต้น โอ๊ค(golden oak) จำนวนมาก มีอายุนับหลายปี ผลของมันจะมีปีกสองข้างเวลาร่วงจะหมุนควงลงมาช้าๆลงดิน ในช่วงฤดูดอกไม้บาน มันจะส่งกลิ่นหอมหวลเวลาผ่านบริเวณนี้
ที่มา:Saigon Times(EN)

Vietnamese Alphabet

ภาษา คำในภาษาเวียดนามกว่า 80% ของภาษามาจากภาษาจีน และยังรวมไปถึงอิทธิพลทางวรรณคดีจีน และยังมีร่องรอยของภาษาฝรั่งเศสด้วย คำที่เข้ามาในพจนานุกรมเป็นครั้งแรกในสมัยจักรวรรดินิยมช่วงศตวรรษที่ 18 ถึง 20 ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมาจากชาวอเมริกันในช่วงสงครามเวียดนาม และจากการเป็นพี่น้องร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์กับสหภาพโซเวียต เวียดนามก็ได้รับอิทธิพลทางภาษาจากรัสเซีย เพื่อนเวียตเล่าว่าเขาจบจากฮานอยอาจารย์ที่สอนเขาส่วนมากจบจากรัสเซีย แต่ว่าถ้าเป็นอาจารย์รุ่นใหม่จบจากอเมริกา เวลาสอนหลักสูตรจะต่างกัน ทำให้ยังคงเป็นปัญหาทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาโดยเฉพาะเกี่ยวกับวิศวกรรมในเรื่องของการอ้างมาตรฐานมาใช้ยืนยัน เท่าที่ทราบได้มีการรวบรวมตั้งมาตรฐานแล้วเรียกว่า TCVN คนที่จะไปทำงานเกี่ยวกับตรงนี้ต้องศึกษาให้ดี แต่ส่วนมากเท่าที่อ่านดู จะคล้ายกับ JIS(ญี่ปุ่น) ดังนั้นวิชาการของเราก็ใกล้เคียงกันใช้กันได้ มาว่าเรื่องภาษากันต่อซึ่งความจริงแล้วความหมาย และคำศัพท์เฉพาะทางวิชาการต่าง ๆ ของแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยศตวรรษ ที่ 20 มักใช้คำภาษา ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย และภาษาที่เข้ามาล่าสุดคือภาษาญี่ปุ่น ถ้าเป็นทางใต้ภาษาฝรั่งเศสก็ยังคงนิยม แต่จะสู้ภาษาอังกฤษไม่ได้ ส่วนเกาหลี และญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเช่นกันตามภาวะการลงทุน สำเนียงที่แตกต่างกันในเวียดนามนั้น เผยให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่เหนียวแน่นของภูมิภาค ตัวอักษรบางตัวของพยัญชนะ ออกเสียงต่างกัน ศัพท์ของชาวเหนือและชาวใต้ประกอบด้วยคำที่แตกต่างกัน รากของภาษามาจากการผสมของวัฒน ธรรมที่คล้ายคลึงกัน คือการผสมของ เขมร ไท และเมือง แม้แต่การวางรูปประโยคก็ยังเหมือนกัน

ภาษาเขียนของเวียดนาม : อิทธิพลของจีนในช่วงศตวรรษแรกๆ ของประวัติศาสตร์เวียดนามทำให้มีการใช้ตัวอักษรที่เรียกกัน ว่าจื๋อ โย (chu nho) อย่างกว้างขวางจนแทนที่ภาษาเขียนโบราณที่มีต้นกำเนิดจากภาษาอินเดีย หลังจากได้อิสรภาพ บรรดานักปราชญ์ต่างตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชย์ของการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นของเวียดนามขึ้นมา ผู้ที่ทำได้สำเร็จ คือ เหวียน เทวียน (Nguyen Thuyen) ทุกวันนี้เวียดนามมีตัวอักษรแบบโรมัน อันเป็นผลงานของ อเล็กซองเดร เดอโรดส์ (Alexandre de Rhodes) มิชชันนารีเยซูอิตชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งได้พัฒนาตัวอักษรที่เรียกกันว่า กว๊อก หงือ (quoc ngu)
ที่มาhttp://www.surinmajestic.net

Saturday, August 18, 2007

VietKieu(Yuan) in Thailand Part III

อุปนิสัย ความเป็นอยู่ชาวญวนในไทย
ลักษณะเด่นของชาวเวียดนาม คือ เป็นกลุ่มคนที่มีความขยันขันแข็งและมีความอดทนเป็นพิเศษ แม้คนจีนก็ยังยอมรับว่าคนญวน มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพมากว่าตน ในเรื่องน้ำอดน้ำทนของคนญวนไม่มีชาติใดในเอเชีย ที่เหนือกว่าคนญวน การที่คนญวนสามารถทนทำสงครามต่อสู้กับสหรัฐอริเมริกาเป็นเวลานานนับ 10 ปี ทั้งๆ ที่ประเทศของตนประสบกับความเสียหายอย่างยับเยิน จากการโจมตีที่ทิ้งระเบิดของสหรัฐ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ อย่างดีถึงความอดทนของคนญวน เมื่อคนญวนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ตั้งหน้าทำมาหากิน ประกอบกับการที่รัฐบาลไทยในระยะนั้น ได้ให้อุปการะช่วยเหลือ ทำการจัดสรรแบ่งที่ดินให้ทำกิน และให้ยืมทุนในการประกอบอาชีพรวมทั้งปล่อยให้ทำมาหากินโดยอิสระเสรี ไม่มีการกีดกั้นหรือหวงห้ามแต่อย่างใดจึงเป็นผลให้คนญวนสามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ ให้เป็นปึกแผ่นขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดคนญวนก็สามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้เหนือกว่าคนไทยในชุมชน


คนญวนประกอบอาชีพเกือบทุกประเภท นับแต่ด้านการเกษตร การช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ชางเหล็ก ช่างกลึง ช่างนาฬิกา ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างเย็บเสื้อผ้า ช่างเครื่องยนต์ ต่อตัวถังรถยนต์ อาชีพค้าขายทุกชนิด การประมง การแพทย์ ถ่ายรูป การค้าขายในตลาดสด เป็นต้น ด้วยความขยันหมั่นเพียร และการมีน้ำอดน้ำทน สามารถประกอบอาชีพได้ทุกชนิดโดยไม่มีการรังเกียจ ผลจึงปรากฎว่า ชุมชนใดที่มีกลุ่มชาวญวนอยู่ อิทธิพลทางเศรษฐกิจจะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่
ด้านสังคม ในท้องถิ่นที่มีคนญวนอาศัยอยู่ คนญวนจะรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น คบค้าสมาคมเฉพาะคนญวนด้วยกัน สรุปแล้วในด้านสังคมส่วนมากคนญวน แสดงออกโดย


(1) ใช้เวลาว่างเล่นกีฬาทุกชนิด กีฬาที่นิยมเล่นได้แก่ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น จุดประสงค์ของการเล่นกีฬา ก็เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ในหมู่คนญวน
(2) จัดงานแสดงออกซึ่งพลังแห่งความสามัคคี ในวันสำคัญของตน เช่น วันเกิดโฮจิมินห์ วันชาติเวียดนาม เป็นต้น เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รักชาติ รักและบูชาโฮจิมินห์

ฉะนั้นสังคมโดยสรุปแล้ว ชาวญวนต้องการมีอิสระเสรีที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ทางการกำหนดไว้ สำหรับคนญวนอพยพ และชาวญวนส่วนมากไม่ต้องการเดินทางกลับเวียดนาม ถึงจะรักภักดีต่อประเทศเวียดนามก็ตาม สาเหตุเพราะ ในระยะหลัง ได้มีญวนรุ่นใหม่เกิดขึ้น ญวนกลุ่มใหม่นี้ไม่เห็นประเทศเวียดนามมาก่อน ความ รู้สึกผูกพันในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของบิดามารดา ก็ย่อมไม่แน่นแฟ้นเหมือนญวนรุ่นเก่า และชาวญวนยังเคยชินต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรี มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย เมื่อเทียบกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนญวนในเวียดนาม จึงไม่ปรารถนาที่จะกลับเวียดนามและพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย

การศึกษาสูง ๆ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ญวนต้องการมีสัญชาติไทย เด็กญวนที่เกิดในเมืองไทย ทางราชการได้ผ่อนปรนให้เข้าเรียนในระดับต้นๆ ในท้องถิ่นที่ญวนอาศัยอยู่ แต่การศึกษาในระดับสูง ๆ นั้น มีปัญหาเพราะต้องใช้หลักฐานหลายอย่างที่คนญวนอพยพไม่มี เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เด็กญวน ที่ต้องการเรียนต่อ ต้องหาทางให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย และอีกทางที่ทำได้ก็คือการให้คนไทยรับเป็นบุตรบุญธรรมด้วยวิธีการ ทำให้มีลูกหลานญวน ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย
ที่มาhttp://www.surinmajestic.net

Friday, August 17, 2007

VietKieu(Yuan) in Thailand Part II

ประวัติชนชาวญวน / เวียตนาม / อานัม / แกว ในประเทศไทย
ในอดีต ชาวเวียดนาม เข้ามาอาศัยในประเทศไทยมีสถานะเป็น“ญวนอพยพ” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องจากรัฐไทย และกลายมาเป็นสะพานทางวัฒนธรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม ไม่ว่าจะในด้านภาษาโดยการเป็นครูสอนภาษาเวียดนามให้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการไทย และ นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการเวียดนามที่เดินทางมาเรียนภาษาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดในภาคอีสาน นอกจากนี้ ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยยังมีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงาน เป็นล่ามให้แก่หน่วยงานราชการและเอกชนไทยและเวียดนาม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนามที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม และบ้านโห่จี๋มิงห์ ที่บ้านหนองโอน จังหวัดอุดรธานี อีกทั้ง มีบทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การเผยแพร่อาหารเวียดนาม เป็นต้น

การบูชาบรรพบุรุษ : ภายในบ้านของคนเวียดนาม และภายในวัดทุกแห่งจะพบแท่นบูชาบรรพบุรุษการบูชาบรรพบุรุษยังคงมีความสำคัญทางสังคมและศิลธรรมอย่างสูงในสังคมเวียดนาม ในวันครบรอบวันตาย และวันเทศกาลตามประเพณีต่างๆ ญาติของผู้ตายจะมาชุมนุมกันโดยลูกชายคนโตของผู้ตายจะเป็นผู้นำในการเซ่นไว้ด้วยอาหารและธูป จากนั้นคนในครอบครัวทั้งหมดจะไปที่สุสานของผู้ตาย พิธีจบลงด้วยสมาชิกในครอบครัว คุกเข่าลงหน้าแท่นบูชา ความล้มเหลวในการบูชาบรรพบุรุษของลูกหลานจะถูกมองว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความอกตัญญูต่อบิดามารดา เพราะทำให้บรรพบุรุษต้องเร่ร่อนอยู่ในนรก

การบูชาในระดับหมู่บ้าน: ในทางปฏิบัติแล้วหมู่บ้านเวียดนามทุกแห่งจะมีจั่ว (chua-ที่วัด) และดิงห์ (dinh - ศาลาประชาคม) ชาวบ้านจะบูชาพระพุทธเจ้าจั่ว ซึ่งดูแลรักษาโดยภิกษุจำพรรษาอยู่ที่นั้น ทุกวันที่ 1 และ 15 ค่ำชาวบ้านจะไปที่จั่ว โดยนำดอกไม้ธูปเทียนและผลไม้ไปถวายพระพุทธ และประกอบพิธีที่วัดในตอนเย็นของวันที่ 14 และ 30 ของเดือนเพื่อแสดงความเสียใจในสิ่งที่ไม่ดีที่ได้กระทำลงไป และปฏิญาณว่าจะประพฤติในสิ่งที่ดีการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธในระดับหมู่บ้านจะไม่เหมือนกับของเซน เป็นการผสมผสานระหว่างเซนกับอมิตาภะ เป็นที่เชื่อกันว่าอมิตาภะจะได้สภาวะแห่งพุทธภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่ท่านได้ต้อนรับคนทุกคนที่เรียกชื่อท่านอย่างจริงใจเวลาตาย และจะนำพวกเขาไปยังสวรรค์

ศาสนาพุทธ :ได้รับการเผยแพร่เข้ามาจากอินเดียและจีน กว่าพันปีแล้ว ผู้เชียวชาญในสาสนาพุทธชาวเวียดนามคนหนึ่งถูกส่งตัวไปยังราชสำนักญี่ปุ่นเพื่อสอนบทเพลงทางสาสนาซึ่งปรากฏลัทธิ 2 ลัทธิ คือ อาอาม (A -HAM, Agaham ) และเทียน (Thien) ต่างแข่งขันกันอย่างสันติภาพในหมู่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ลัทธิเทียนเป็นลัทธิหนึ่งในศาสนาพุทธนิกายมหายาน เนื่องจากกฎเกณฑ์น้อยทำให้เป็นที่นับถือกันมาก

ลัทธิขงจื้อ: ลัทธิขงจื้อมีอายุยืนยาวมากกว่าระบบความเชื่ออื่นใด ทั้งในโลกตะวันออก และตะวันตก ลัทธินี้มีพื้นฐานมาจากคำสอนของขงจื้อซึ่งเกิดในราวปีที่ 55๐ ก่อนคริสต์กาล และอยู่ในยุคที่จีนมีความวุ่นวายทางการเมือง ขงจื้อได้ชื่อว่าเป็นผู้ชี้นำทางจริยธรรมและศิลธรรมมากกว่าที่จะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ลัทธิขงจื้อเข้ามาสู่ชาวเวียดนามโดยผ่านชาวจีนกว่า 2,๐๐๐ ปี มาแล้ว

ลัทธิเต๋า : เต๋า เต็ก เก็ง (Tao Te Ching) คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจของเต๋าเริ่มต้น ในหมู่บ้านที่มีศาสนาพุทธและขงจื้อ วิญญาณนิยม และความเชื่ออื่นๆ อยู่รวมกัน ในหมู่บ้านเหล่านี้จะมีการสร้างสถานที่สำหรับบูชาที่เรียกกันว่า เดี่ยน (dien) หรือ ติ๋งห์(tinh) ในระดับชาวบ้านเต๋าเป็นเรื่องของความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติเวทมนตร์คาถาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยอาคม

ศาสนาคริสต์ : ชาวเวียตนาม ส่วนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์ โรมันคาทอลิค และประเทศเวียดนาม เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยศาสนา ปรัชญาและความเชื่อ แบบวิญญาณนิยมเปลี่ยนไป คาทอลิคมิช ชันนารีตะวันตก พวกแรกได้เข้ามาในตังเกี๋ยทางภาคเหนือของเวียดนาม ในปี 1533 และเข้าสู่ภาคกลางของเวียดนามในปี 1596 การเผยแพร่ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ในฮอย อัน (Hoi An) ดานัง และฮานอยโดยคณะมิชชันนารีเยซูอิตชาวโปรตุเกส การเผยแพร่ศาสนาก่อให้เกิดความขัดแย้ง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้กระนั้นคาทอลิค ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง 2 ด้านอย่างแรกคือ การประดิษฐ์ภาษาเขียนแบบโรมัน สองคือการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของตรรก แบบตะวันตกเข้ามาการเปลี่ยน แปลงนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นในหมู่ขุนนางและชนชั้นปกครองผู้มองว่าศาสนาใหม่เป็นสิ่งคุกคามระ เบียบสังคมแต่ดั้งเดิมและพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความเชื่อเรื่องสวรรค์ และการบูชาบรรพบุรุษ

ที่มาhttp://www.surinmajestic.net

VietKieu(Yuan) in Thailand Part I


ประวัติชนชาวญวน / เวียตนาม / อานัม / แกว ในประเทศไทย

ชาวญวน หรือ ที่ชาวอีสานเรียกว่า "แกว"ชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทางทิศตะวันออกของประเทศลาวและ เขมรคนกลุ่มนี้ มีอุปนิสัยขยันขัน แข็งในการทำมาหากิน จนมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในอดีตได้มีการติดต่อค้าขายกับ ชาวลาวในประเทศลาว และภาคอี สานมานานแล้วและหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง เมืองญวนดิ้นรนที่จะเป็นอิสระจากฝรั่งเศส ญวนในภาคเหนือบริเวณเมืองเดียนเบียนฟูได้หนีภัย การเมืองเข้ามาอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย อุบลราชธานี หนองคาย สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ระหว่าง พ.ศ. 2489-2492 พวกนี้มักประกอบอาชีพค้าขาย และทำให้อาหารญวนบางชนิดเป็นที่นิยม เช่น ข้าวเฝอ เป็นต้น บ้านชาวญวนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนบริเวณโคกดิน ลักษณะเหมือนเป็นเกาะเล็กๆ ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ยังคงพูดภาษาเวียดนาม ในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม ซึ่งอาศัยอยู่ตามอำเภอใหญ่ๆ ของจังหวัดสกล นครนั้นได้อพยพมาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นกลุ่ม 4 ระยะ คือ

(1) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในสมัยอยุธยา ธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ ในสมัยอยุธยา ปรากฎว่ามีหมู่บ้านญวนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สมัยพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) จำนวนคนญวนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยในสมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประมาณ 5,๐๐๐-8,๐๐๐ คน โดยตั้งรกรากตามสถานที่ต่างๆ คือ อยุธยา จันทรบุรี พาหุรัด(ย้ายไปสามเสน) บางโพ จันทรบุรี สามเสน กาญจนบุรี โดยที่ชาวญวนที่นับถือคริสต์ศาสนาจะอาศัยอยู่ที่จังหวัดจันทรบุรี ส่วนพวกที่นับถือพุทธศาสนาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กาญจนบุรี
(2) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด ชาวคนเวียดนามจำนวนมากจึงอพยพเข้ามาอยู่ประเทศลาว ประเทศเขมร และประ เทศไทย ในประเทศไทยชาวเวียดนามอพยพเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุทัยธานี หนองคาย สุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ และปราจีนบุรี สำหรับชาวเวียดนามที่มาอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร นั้นส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่บ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยสรุปได้เข้ามา 3 จุดดังนี้
2.1 ทางสะหวันนะเขต สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยที่จังหวัด มุกดาหาร อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย อุดรธานี นครพนม
2.2 ทางเวียงจันทร์ สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ที่ฝั่งไทยที่จังหวัดหนองคาย สกลนคร
2.3 ทางท่าแขก สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยที่จังหวัด นครพนม สกลนคร
(3) ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ ชาวเวียดนามจึงอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 48,๐๐๐ คน ซึ่ง ขจัด บุรุษพิพัฒน์ (2521) กล่าวว่า ภายหลังจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ามาบริหารประเทศ ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้มีมาตรการควบคุมชาวเวียดนามอพยพ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 15 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เลย อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ซึ่งชาวเวียดนามอพยพจะอาศัยอยู่นอกเขต 15 จังหวัดนี้ไม่ได้
พ.ศ. 2493 ให้ชาวเวียดนามอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยบังคับให้เดินทางไปยังจังหวัดควบคุมใหม่ ภายใน 1 เดือน คือ หนองคาย สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี พ.ศ.2496 รัฐบาลไทยได้จัดส่งหัวหน้าชาวเวียดมนามในจังหวัดหนองคาย สกลนคร และนครพนม ไปไว้ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2503 อนุญาตให้ชาวเวียดนามอพยพอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่กำหนดเขต 8 จังหวัด คือหนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี พัทลุง
(4) ชาวเวียดนามอพยพที่เข้ามาอยู่ในช่วงสงคราม เวียดนามเหนือ-ใต้ เป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพ ประมาณ 2,๐๐๐-3,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่จะไปอาศัยอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ถิ่นที่อยู่เดิมชาวญวนอพยพ ที่เดินทางมาที่ประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะมาจากเวียดนามตอนกลาง และข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย ทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ จังหวัดสะหวันนะเขต จังหวัดเวียงจันทร์ และ ท่าแขก ชาวญวนอพยพจะอยู่กระจายกันในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามหัวเมือง ในปี พ.ศ.2503 ชาวเวียดนามอพยพที่เดินทางเข้ามาที่ จ.สกลนคร นั้น มีชาวเวียดนามบางส่วน ได้กลับประเทศเวียดนามแล้วแต่ยังคงเหลือตกค้างอยู่ เนื่องจากเกิดสงครามเวียดนามเหนือเวียดนามใต้ โดยในขั้นต้นชาวเวียดนามอพยพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์ประสานงาน กอ.รมน. และสำนักงานกิจการญวนอพยพ กำหนดให้ชาวเวียดนามอพยพเหล่านี้อยู่ในเขตควบคุม 8 จังหวัด คนเวียดนามได้รับการดูแล การจัดทำทะเบียนประวัติ การศึกษา การปลูกฝังให้มีความรู้ความเป็นคนไทย สามารถผสมผสานกลมกลืนเข้าสู่สังคมไทยจนในที่สุดก็มีชาวเวียดนามจำนวนมากได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลไทยให้ได้สัญชาติไทย โดยเรียกว่า “คนไทยเชื้อสายเวียดนาม” อยู่อาศัยมานานจนได้รับเชื้อชาติไทย ปัจจุบันบุคคลเหล่านี้ป ระกอบอาชีพข้าราชการ นักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น มีบทบาทต่อการปกครอง และเศรษฐกิจของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2545 คนเวียดนาม อพยพที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว ที่อาศัยอยู่ในเมืองสกลนคร ทั้งสิ้น 1,851 คน จากการที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้อาศัยอยู่อย่างกลมกลืนกับชาวไทยในจังหวัดสกลนคร และ จังหวัดใกล้เคียง มานาน 6๐ ปี แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม
ที่มาhttp://www.surinmajestic.net

Sunday, August 12, 2007

Vietnamese Martial Art Part II

ตัวอย่างรูปแบบการต่อสู้แบบ Vovinam พอให้เห็นภาพคร่าวๆของ หว๋อ ด่าว Play/Stop MV Please Right Click Loop Then Play/Stop Below

Saturday, August 11, 2007

Vietnamese Martial Art Part I

ตอนที่อยู่โฮจิมินห์ ตอนช่วงเย็นผมชอบขับรถชมเมือง ช่วงตอนเย็นประมาณหกโมง ผมผ่านวัดแถวถนน Xo Viet Nghe Tinh จะไป วงเวียนห่างซัน ได้ยินเสียงการฝึกซ้อมหมัดมวยทุกคนสวมชุดสีหมากแก่ รำกระบี่ กระบอง ผมเคยเห็นเขาเรียนศิลปการต่อสู้อย่างนี้มาครั้งหนึ่งตอนขับรถผ่านไปเที่ยวแถววัดแห่งหนึ่งในเขตบินห์ยืงไม่ไกลจากที่ทำงานนิคมVSIP ผมยืนดูเขาประลองกำลังกัน ดูแล้วสนุกดี แต่ก็ไม่ทราบว่าเขาเล่นอะไรกัน

Việt Võ Đạo เหวียด หว๋อ ด่าว เป็นศิลปการต่อสู้ชาวเวียตนาม โดยมากเราจะรู้จักกันในชื่อของ วูซู กันซะมากมากกว่า ตามความหมายแล้ว Việt=ชาวเวียตVõ=ศิลปการต่อสู้ หรือ มวยĐạo=กระบวนยุทธ หรือ Do(ซู)ในระหว่างและหลังสงครามเวียตนาม ศิลปการต่อสู้ซึ่งผมขอเรียกว่า หว๋อ ด่าว ได้แพร่หลายไปทั่วโลกตามชุมชนที่ชาวเวียตนามอาศัยอยู่ จนได้ก่อตั้งเป็น สมาพันธ์เหวียด หว๋อ ด่าว ขึ้นในเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1973 อันประกอบไปด้วยสมาคม


-Vovinam มีสำนักในประเทศเยอรมัน
-Qwan Ki Do-Bach Hac
-Thang Long
-อื่นๆ

ศิลปการต่อสู้นี้ได้พัฒนาเสริมส่วนปรัชญาการดำรงชีวิตโดยใช้ชื่อเรียกว่า Nhan Võ Đạo (ยัน หว๋อ ด่าว) โดยศิลปการต่อสู้นี้ได้มีการประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับสรีระของชาวยุโรป ปลายปี 1980 โดยปรมาจารย์ จู ตัน เกิ่ง(Chu Tan-Cuong) ที่เมืองHalle ประเทศเยอรมัน โดยตัวท่านเองได้รับการถ่ายทอดวิชาตั้งแต่เด็กจากปรมาจารย์ เหวียน ตี้(Nguyen Ty) เจ้าสำนักเส้าหลินใต้(Shaolin Nam Hong Son) นับถึงปัจจุบันท่านเป็นผู้ที่มีวรยุทธสูงส่งเชี่ยวชาญทุกแขนงติดอันดับโลก จะว่าไปแล้วหว๋อด่าวก็เป็น มวยจีนตอนใต้ อย่างที่เราดูในหนังจีนต่อสู้แบบโบราณที่บ้านเรา

ระดับของผู้ฝึก หว๋อ ด่าว มี 6 ระดับ และมีระดับเอกมากกว่าหนึ่งระดับ ผู้ฝึกจะฝึกต่อสู้ด้วยมือเปล่า ฝึกการต่อสู้ด้วยพลองหรือหอก และ ดาบ ระดับสูงจะได้ฝึกหมัดมวย ดังนั้นภาพรวมของมวย จึงเป็นลักษณะของการป้องกันตนเอง หมัดมวย ฝึกลมปราณ รับแล้วรุกจากการโจมตี ส่วนการเตรียมตัวเพื่อไปสู่ระดับเอกหรือมาสเตอร์นั้น จะต้องผ่านการทดสอบปฎิภาณและไหวพริบ

สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์หยินหยาง(Âm-dương) ไม่แข็ง ไม่อ่อน อย่างต้นไผ่ รวมกันภายใต้สัญลักษณ์แปดเหลี่ยม ชาวเวียตนามให้ความสำคัญกับต้นไผ่มาก เพราะวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งอาหาร เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัยรวมทั้งปรัญชาชีวิต

Friday, July 13, 2007

Retail Shop

ตอนเราทำงานอยู่ที่นิคม VSIP บิงยืงห์ ผมและพี่พัฒน์ผู้จัดการ เราพักที่โรงแรมเฟืองนำ เราค่อนข้างเที่ยวกันไม่บ่อย ดังนั้น หลังเลิกงานประมาณช่วงสามสี่ทุ่ม บางครั้งก็เที่ยงคืน พวกเราชอบหาอะไรทานกันระหว่างทางอย่าง ก๋วยเตี๋ยวญวน อาทิเช่น เฝ๋อ, หู ติ้ว ส่วน ต้มยำที่ใส่เส้นขนมจีน เขาจะเรียกว่า บุ้น ริว อย่างที่ใส่เนื้อปู จะเรียกว่า บุ้น ริว กัว ส่วนมาก ขายกันตอนเช้า เท่านั้น เพราะ ช่วงเช้านั้น เส้นขนมจีนกำลังทำมาใหม่ๆ รสชาดอร่อย ส่วนผสมก็มีสองส่วนคือเส้นขนมจีนกับน้ำซุปอันประกอบไปด้วย หมูยอ เต้าหู้ทอด เลือดก้อน มะเขือเทศ เนื้อปู ใส่กินกับผักสดอย่างถั่วงอก ใบยี่หร่า ผักบุ้งฝานฝอยฝอย ผักอื่นๆและต้องใส่กับน้ำกะปิลงไปด้วย บางคนชอบเผ็ดก็ใส่น้ำส้มลงไป และพริกน้ำมัน เพิ่มความเป็นไทยของผมเอง ฮ่า... เท่าที่สังเกต บางคนจะจิ้มเต้าหู้กับน้ำกะปิ ถ้าทานกับข้าวคนเวียตนามจะมีมะเขือดองเปรี้ยวจิ้มทานกับน้ำกะปิ ส่วนบางที่อย่างทานกับ หู ติ้ว(เส้นแป้งมันกับข้าวเจ้า)จะใส่กระเทียมโทนดอง พริกซอย ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ซอสถั่วเหลืองดำ ตะไคร้ซอยคลุกพริกน้ำมัน สุดแต่จะปรุงแต่ที่น่าสังเกตคือซุปจะมีการใส่ผักชีลาวซอยลงไป ผักก็สาระพัดอย่างจำไม่ค่อยได้แล้ว

เล่ามานานไม่ถึงเรื่องร้านขายปลีกซะแล้ว เอาเป็นว่าเดิมเราขอให้เพื่อนชื่อฟี ช่วยซื้อของที่ร้านโชว์ห่วยใกล้โรงแรมเพราะเราพูดภาษาเวียตนามไม่ได้ ซึ่งบางครั้งเขารีบกลับบ้าน ทำให้ผมต้องไปซื้อกันเอง เอาล่ะ มาถึงตอนนี้ ผมต้องมั่วภาษาเวียตนามงูงูปลาปลา ต้องคิดราคาแปลงกลับไปมา ตอนนั้นค่าเงิน 400ด่องก็ 1 บาท(ตอนนี้ค่าเงินเราแข็งคงสูงกว่า)คิดในใจว่า 4000=10 บาท 10.000=25บาท ต้องคิดให้ไวตัดศูนย์สามตัวหลังทิ้งจะคิดได้ไวขึ้น คนขายถามเราว่า เหง่ย นึก หน่าว...เราก็ตอบไปว่า เหง่ย ไท้ แลน...แต่เขาก็ฟังไปว่า เหง่ย ไท้ ลอง(คนไต้หวัน)ซึ่งเราก็ตอบว่าไม่ใช่ เพราะเมื่อสามสี่ปีก่อน คนไทยไปที่นั่นน้อยมาก จึงยากที่เขาจะทราบ ร้านพวกนี้เราเรียกว่า หย่า ซิว ถิ ...ผิดกับร้านขายข้าว จะเรียกว่า เตี่ยม อัง... เจ้าของร้านขายของก็ดีครับ เท่าที่ขายเราราคาก็พอพอกับบ้านเรา(จะว่าไป ควรจะถูกกว่านะ แสดงว่าแพง ต้นทุนถูกแต่แพงภาษี) เมื่อเทียบราคาตามห้างซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองอย่างCoopMart ก็ใกล้เคียง เขาช่วยจดราคาสินค้าให้เราเพื่อแสดงความจริงใจ เพราะเราสามารถตรวจกับราคาที่อื่นได้ เราก็รู้สึดดีไม่น้อยและประทับใจ ก่อนเรากลับบ้านก็ได้แวะซื้อบุหรี่ยี่ห้อBatos(เบส ต๊อด)สไตล์ฝรั่งเศส ราคากรรมกร ราคากล่องละ 25.000 ด่อง(63บาท ซองละ7บาท) ผมเคยซื้อไปฝากพี่ชายหนึ่งครั้ง


ร้านที่เราซื้ออยู่ถัดจากโรงงานNumber One โรงงานเป็นรูปขวด ติดกับด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง ซึ่งเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของผมทีเดียว รองจาก ก่าเฟเสือด๊า(กาแฟยกล้อ) สีสันเหลืองรสชาดอย่างเครื่องดื่มกระทิงแดงบ้านเรา เดิมนั้นผมก็เข้าใจผิดมาครั้งหนึ่งตอนมาถึงเวียตนาม เพราะคนที่มานั่งร้านก่าเฟ(ขายเครื่องดื่ม นั่งดูหนัง ฟังเพลง) ดื่มเครื่องดื่มสีเหลืองจนคิดว่าดื่มเบียร์แต่กลับว่าไม่ใช่ กลับกลายเป็นชา หรือเจ้าเครื่องดื่มNumber One แทน ฮ่า...ของที่เราซื้อก็ส่วนมากจะเป็นนมเปรี้ยว(เสือ จัว) ขนมปังKinh Do(กิน โด้) เครื่องดื่มนึก หง๊อด(น้ำหวาน) อย่างเป๊บซี่ ส่วนโค้กไม่ค่อยเห็น และเครื่องดื่ม นึกเอี๊ยง(รังนกน้ำเชื่อม) ซึ่งดื่มชื่นใจแก้แฮ้งค์ได้ดี เครื่องดื่มNumberOne น้ำหวานเชื่อมว่านหางจระเข้ น้ำเก๊กฮวยกระป๋อง น้ำดื่มซาสี่(กลิ่นคล้ายยาประจำเดือนเบนโล) สุดท้ายก็เป็นน้ำส้มคั้นกระป๋อง(นึก กาม แอ๊ป)ผมชอบยี่ห้อTwister เป็นน้ำส้มคั้นมีกาก ช่วงที่มาทำงานเมื่อปีที่แล้วเครื่องดื่มจันไย(น้ำส้มกะทกรก) อันนี้รสชาดดีเช่นกัน ยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ประเทศเขาเยอะมาก ที่เราตุนเครื่องดื่มไว้เพราะราคาเครื่องดื่มของโรงแรมชาร์ทเราแพงสองเท่าจากข้างนอก แต่ถึงอย่างไรเจ้าของก็ใจดีเขาชื่อคุณThong(ทอม) อำนวยความสะดวก ช่วยเราไล่ผู้หญิง(หากิน)และตามคนที่ขโมยตังค์ผมด้วย ขอบคุณมากครับ

Sunday, July 8, 2007

Viet nam Soldier

เป็นการเดินทางไปทำงานรอบที่สอง แต่ครั้งนี้เราไปเริ่มงานสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้นิคมThai Hoa ซึ่งเป็น นิคมอุตสาหกรรมของคนไทยที่จังหวัดลองอัน Long An ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกผ่านจากสนามบินตัน เซิง ยึกTon Son Nhat ไปทาง ตำบลฮุกโมนHoc Mon ก่อนเข้าเขตจังหวัดไต นิน Tay Ninh ก่อนถึงนิคมลองอันชิดซ้ายเลี้ยวซ้ายไปทางคอมมูนดึ๊ก หลอบ ห่า Đuc Lop Ha แต่ถ้าเลยผ่านแยกดังกล่าวไม่เข้าดึ๊ก หลอบ ห่า ก็จะไปเขมรโดยผ่านด่าน หมอกบ่ายMoc Bai เข้าพนมเปญ ผมเคยเห็นมีรถบัสสีเหลืองบริการวิ่งจากพนมเปญไปโฮจิมินห์โดยจะไปถึงตลาด เบิ่น ถัน(เจอะ เบิ่น ถัน) ร่ายมานานเข้าเรื่องกันดีกว่า ตอนที่เราทำการคัดเลือก ผู้รับเหมาหรือ หย่า เถ่า ตอนนั้นก็มีผู้รับเหมาหลายเจ้าด้วยกันที่สนใจโครงการ สุดท้ายเราก็เลือก บริษัท 59 ซึ่งเป็นบริษัทของทหาร หรือกอม ตี เหง่ย ลิ้น công ty người lính เวลามาประชุมผู้จัดการจะแต่งตัวมาเต็มยศนายร้อยเลย เหมือนประมาณว่าทำแล้วไม่จ่ายตังค์ โดยอุ้มแน่ ฮ่า...

ผมสังเกตอย่างนึงรถที่เขาใช้จะป้ายสีแดง ทำให้รู้ว่าเป็นรถทหาร แต่ถ้าเป็นรถหลวงหรือราชการทั่วไป จะเป็นป้ายสีฟ้าตัวอักษรสีขาว เท่าที่ทราบมีกองพันที่มีเครื่องจักรงานก่อสร้างและทหารช่างจำนวนมาก หลังช่วงหมดสงครามก็ว่างงาน ก็เลยมารับงานรับเหมาก่อสร้างกับเขาด้วย อย่างพื้นที่ที่เราทำการก่อสร้างเป็นเขตพื้นที่สงคราม เราอยู่ไม่ไกลจากเขตตำบล กู๋จี ที่เป็นนครใต้ดินของเวียตกงเอาชนะทหารอเมริกัน จึงมีระเบิดอยู่เป็นจำนวนมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ผมกำลังถมดินก็มีรถบรรทุกมาลงดินถมที่มีลูกระเบิดขนาดยาวประมาณศอกเศษลงมาด้วย ทำเอา รปภ.วิ่งกระจาย ผมเลยเดินไปดู แล้วแจ้งทางทหารมาเก็บกู้อันนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรัฐเขารับผิดชอบ ส่วนเรื่องเลี้ยงดูปูเสื่อ หาเงินทุน ทหารเขาเก่ง เพราะถือว่าเป็นธุรกิจ เมา เที่ยวถึงไหนถึงกัน และแต่ละคนก็มีฐานะไม่เบาทีเดียว

บรรษัทนี้ เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือเอ็นเตอร์ไพร์ และชอบตั้งบริษัทโดยเอาชื่อกองพัน อย่างกองพันนี้เป็นกองพันที่ 59 จบงานเป็นไงบ้างผมก็ไม่ทราบ เพราะบริษัทเรียกตัวกลับมาทำงานที่เมืองไทย ทราบภายหลังเขาสร้างอาคารสูบน้ำและอุโมงค์สูบน้ำเสร็จ แต่เจ้าของจ่ายตังค์ไม่ครบ และเขาประสบปัญหากับหลายโครงการด้วยกัน(เพื่อนเวียตเล่าให้ฟัง) ทำให้ต้องชะลอและหยุดงานไป ก็เป็นเรื่องน่าเศร้า นี่แหละชีวิตคนก่อสร้าง

Thursday, July 5, 2007

Thanh Hóa City On Demand Part II

เมืองทันฮว้า เป็นเมืองขนาดใหญ่ในภาคกลางของเวียตนาม อันประกอบไปด้วยภูมิทัศน์สามลักษณะอันได้แก่ ภูเขา พื้นราบ และ เนินเขา มีชายหาดยาวกว่า 102 กม.เป็นชุมชนโบราณของชาวเวียต และยังมีวัฒนธรรม Đông Sơn(ดอมเซิง) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ยังมีหาดทราย Sầm Sơn =ซั่ม เซิง ที่เคยเล่าไว้แล้ว เกาะTrong Mai =ซอม มาย ,วิหารDoc Cuoc,เนินเขาCo Tien และป้อมค่ายทหารสมัยราชวงศ์ห่อ Hồ(Thành Nhà Hồ=ทั่น หย่า ห่อ)ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1397 ในบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง และโครงการทางการทหารบางอย่าง.ค่ายทหารโบราณในเวียตนามส่วนมากอย่างค่ายHoa Lư(ฮวา ลู) และ Cổ Loa(โก๋ ลัว) เป็นป้อมค่ายที่ถูกสร้างด้วยด้วยดินเหนียว ส่วนค่ายทหารของราชวงศ์ห่อ ซึ่งถูกใช้งานตั้งแต่ปี 1397-1407 นับกว่าสิบปี กลับถูกสร้างด้วยหินแกรนิตอย่างแข็งแกร่งด้วยวิธีการอันฉลาดและสร้างสรรค์ของคนโบราณเมื่อกว่าหกศตวรรษที่แล้ว ซึ่งวิธีการสร้างนั้นก็ยังคงเป็นปริศนาจวบจนทุกวันนี้


ส่วนอีกสถานที่หนึ่งที่อดกล่าวถึงไม่ได้ก็คือ วิหาร บ่า จิ่ว Bà Triệu (=ท่านผู้หญิงจิ่ว) ซึ่งตั้งอยู่ตีนเขาตุ่มTùng เขตคอมมูนจิ่ว ล่อบ Triệu Lộc โดยสถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของกองกบฎก่อจราจลของท่านผู้หญิงโดยท่านมีชื่อเดิมว่าจิ่ว ถิ จินTriệu Thị Trinh ท่านเป็นวีรสตรีแห่งชาติ โดยการเป็นผู้นำในการต่อต้านการรุกรานของเวียตนามเหนือในศตวรรษที่สาม โดยทุกปีที่วิหารจะจัดพิธีรำลึกถึงท่านในวันที่ 21 ตามปฏิทินจันทรคติหลังตรุษจีนไปสองเดือน น่าจะช่วงไหว้เทศกาลพระจันทร์นะ ประชาชนที่มาร่วมพิธีส่วนมากจะยังคงรำลึกถึงคำกล่าวของท่านผู้หญิงที่ว่า " ฉันอยากจะวิ่งฝ่ากระแสลมที่พัดโหมกระหน่ำ แล่นเรือฝ่าคลื่นที่โหมกระหน่ำ ขับไล่อริราชศัตรูออกจากประเทศ และจะไม่ให้อภัยตัวเองเด็ดขาดหากต้องตกเป็นทาสของพวกมัน"


แม่น้ำหมาMã เป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ใกล้ชายหาดมากที่สุด โดยไหลผ่านเขาสูงรูปร่างคล้ายหัวมังกร(หั่ม หร่อม)Hàm Rồng โดยยังเป็นชื่อของสะพานที่นั่นอีกด้วย เมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบ วิศวกรชาวฝรั่งเศส พยายามที่จะสร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำหมา โดยได้แล้วเสร็จในปี 1905 แต่เป็นแค่สะพานขึงเท่านั้น และได้ถูกทำลายในช่วงสงครามต่อต้านฝรั่งเศส เมื่อสันติภาพกลับมาอีกครั้งในปี 1954 วิศวกรชาวเวียตนามได้ทำการสร้างสะพานเหล็กดังกล่าวต่อ โดยสะพานหั่มหร่อม นี้ได้แล้วเสร็จในวันที่ 19 พฤษภาคม 1964 ต่อมาได้รับความเสียหายจากการโจมตีตัดกำลังเวียตนามเหนือโดยสหรัฐในสมัยสงครามเวียตนาม

Wednesday, June 27, 2007

Thanh Hóa City On Demand Part I


Thanh Hóa ทัน ฮว้า เป็นหัวเมืองจังหวัดแห่งหนึ่งของเวียตนาม โดยมีประชากรเกือบสองแสน บนพื้นที่เพียง 57.9 ตร.กม. เมืองนี้อยู่ทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง(Song Hong=ซอม ฮอง) มีแม่น้ำมา(Ma) และแม่น้ำจู(Chu) โดยห่างจากกรุงฮานอยเพียง 137 กม.ผ่านทางถนนและรถไฟ และได้พิจารณาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษศูนย์กลางอุตสาหกรรม โดยมากจะเป็นแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ไม้แปรรูป และอาหารทะเล ซึ่งก็คล้ายนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองชลบุรีบ้านเรา ส่วนสถานที่สำคัญที่ขึ้นชื่อก็คือ
1.รีสอร์ทชายทะเล Sam Son(แซม เซิง) ที่สวยงามขึ้นชื่อมาตั้งแต่ คศ.1906 สมัยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสแล้ว โดยพึ่งฉลองครบร้อยปีไปเมื่อไม่นาน (http://thanhhoatourism.com.vn/) โดยมีนักท่องเที่ยวมาแต่ละปีไม่ต่ำกว่าห้าแสนคน ดังนั้นรัฐบาลท้องถิ่นจึงได้ทำการลงทุนกว่าหลายแสนเหรียญพัฒนาสาธาณูปโภคพื้นฐานไฟฟ้า ประปา ถนน อาคารต่างๆ ศูนย์การท่องเที่ยว และการอบรมผู้ให้บริการต่างๆ รวมทั้งซิกโลขับสามล้อ เพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังมีที่อื่นๆอย่าง เนินเขาTruong Le เกาะTrong Mai แหล่งศึกษานิเวศน์วิทยา Quang Cu แต่ปัจจุบัน Sam Son เป็นเขตพื้นที่มีผู้ติดเชื้อHIV AIDS(=สีดา) สูงมาก ขอให้ระมัดระวังสำหรับนักเที่ยวกลางคืน
2.พิพิธภัณฑ์ทางโบราณHoang Long
3.โบสถ์คาทอลิคหลังใหญ่ ที่เป็นรูปแบบ Immaculate Conception คือบูชาและนับถือพระแม่มารีย์โดยเฉพาะ อย่างบางท่านที่เคยไปเมืองโฮจิมินห์หน้าโบสถ์ก็จะมีรูปปั้นพระแม่มารีย์เช่นกัน คงจะรูปแบบเดียวกัน
4.อุทยานแห่งชาติBenen
5.ถ้ำหินงอกหินย้อยNgason
เมืองนี้มีประวัติที่มาและรายละเอียดยาวน่าสนใจ ลองไปฝึกอ่านข้อมูลของเมืองนี้ เป็นภาษาเวียตนามที่ http://vi.wikipedia.org/wiki/Thanh_Ho%C3%A1

Sunday, June 24, 2007

The Day Blue Sky

ช่วงนี้อากาศดี ทำให้คิดถึงสมัยที่มาทำงานเวียตนามใหม่เมื่อสี่ปีก่อน ตอนนั้นไม่ค่อยได้เจอคนไทยเลยเพราะนิคมVSIPที่เราไปทำงานส่วนมากจะเป็นคนสิงคโปร์(เหง่ย ซิง กา โป) ช่วงหยุดวันหนึ่งไม่รู้ไปไหนก็เลยลองซื้อคาราโอเกะจาก คนขายปั่นจักรยาน(เหง่ย ไล้ แซ ดาบ บ๊าน ซีดี ) มีอยู่เพลงหนึ่งที่ฟังแล้วชอบเลยเอามาฝากกัน เพลงชื่อ nhung nho tinh anh(ยังคิดถึงคุณเสมอ) ของ hoang chau Play/Stop MV Please Right Click Loop Then Play/Stop Below

Saturday, June 16, 2007

Ao Dai Nation Custom Part I

คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่าชุดประจำชาติของเวียตนาม ที่เรียกว่า เอ้า หย่าย หรือ เอ้า ซ่าย ออกตามสำเนียงภาคเหนือ จริงแล้วเป็นชุดที่ดัดแปลงประยุกต์ใช้กันเมื่อไม่นานมานี้ บางคนอาจเห็นว่ามีการสวมใส่หมวกเป็นรูปวงรีสีเข้ากับชุดซึ่งนิยมใส่กันมาตั้งแต่ราชวงศ์Nguyen(ภาคกลาง) เรียกหมวกนั้นว่า Khan Dong=กัน ดอม

ชุดเอ้า หย่ายได้เริ่มมีพัฒนาการเมื่อต้นปี คศ.1700 สมัยที่ยังตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ราชวงศ์ชิง ซึ่งยังเรียกชุดดังกล่าวว่า กี่เพ้า เป็นชุดต้นกำเนิด โดยผ่านการดัดแปลงรูปแบบใช้งานมากว่าร้อยปี คิดว่าสมัยนั้นคงต้องการแยกแยะว่าเป็นคนเผ่าไหนเพราะแท้จริงแล้วคนเวียตรูปลักษณ์ไม่ได้ต่างจากคนจีนหรือชาวเขาเผ่าอื่นๆ จึงมีการดัดแปลงการแต่งกายเพื่อระบุกลุ่มให้กับพวกตนเอง จะว่าไปก็เป็นการสร้างวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม แต่มาจากพื้นฐานเดียวกัน โดยชุดยังคงเป็นกระโปรงยาวผ่าสองข้าง ทรงกระบอกสูงรัดรูปพอดีตัวมีคอปกชุดจะคลุมกางเกงผ้าไหมขายาว ต่างกับกี่เผ้าต้นกำเนิดที่จะใส่อย่างหลวมๆ แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์เวียตนามที่เห็นแตกต่างกันออกไป โดยรายละเอียดคงไว้เล่าในคราวต่อไป

Saturday, June 9, 2007

MAFIA VIETNAM

เมื่อปี 2006 ตอนนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลนายนายกชวน(นายก=ถู ตื้ง)ก็เป็นช่วงรัฐบาลของ ถูตื้งทักษิณซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรามปราบยาบ้า(ยาบ้า=มา ตุ๊ย)มีการฆ่าตัดตอนและวิสามัญฆาตกรรมกัน ผมมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อฮก เรียนเก่งจบลาดกระบัง ถูกจับติดคุกลาดยาว ดีที่เพื่อนๆช่วยไว้ ไม่งั้นก็ไม่รอด(ตาย=เจ๊ท) ดังนั้นการไม่เกี่ยวข้องกับเส้นทางของอบายมุข ยังคงเป็นสัจธรรมที่ควรต้องปฏิบัติกว่า 2550 ปี การคบคนดีและสนับสนุนจึงควรทำ ขอยืมดำรัสในหลวงที่ว่า "ให้คนดีปกครองบ้านเมือง"ก็คงเป็นสัจธรรมเสมอ


ในขณะที่ผมเดินทางไปถึงที่นั่นใหม่ๆ เราก็ชอบสั่งน้ำส้มมาเสมอ(น้ำส้ม=นึก กาม) เพราะเราไม่นิยมดื่มน้ำซาสี่(กลิ่นคล้ายเบนโล)เว้นแต่ไม่มีอะไรให้ดื่ม แต่เรามักล้อกันว่าเวลาถามว่าดื่มน้ำอะไร เราเลยสั่งเอา "น้ำ กาม" ซึ่งเพื่อนvietnam ค่อนข้างวิตกกระซิบบอกเราว่าอย่าพูดอีก เพราะว่า นำ-กาม เป็นชื่อของมาเฟียขาใหญ่ของเมืองโฮจิมินห์ ซึ่งเรื่องนี้คนที่นั่นรู้รายละเอียดแต่พูดอะไรไม่ได้ นำกามคนนี้และลูกสมุนนับสิบถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าทั้งหมด โดยสาเหตุมาจากกลุ่มของเขาฆาตกรรมนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรท่านหนึ่ง ประกอบกับเรื่องโกงกินและคอรัปชั่น ระหว่างกลุ่มมาเฟียและตำรวจ(ตำรวจ=กอม อาง)ที่นั่นกันอย่างกว้างขวาง และกระแสจากวิสามัญฆาตกรรมจากถูตื้งทักษิณ ทำให้มีการสร้างภาพกวาดล้างกลุ่มอิทธิพลที่โฮจิมินห์ กลุ่มอิทธิพลมีตั้งแต่ข้าราชการ ตำรวจสัญญาบัตร ประทวน จราจร เทศกิจ การเก็บค่าจอดมอเตอร์ไซต์(ครั้งละสองพันด่อง)และรถยนต์ตามถนนสาธารณะ(ครั้งละหมื่นด่องถึงสามหมื่นด่อง)ซึ่งก็คงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเรา แต่เป็นเรื่องที่คนvietnamรู้แต่พูดไม่ได้ ส่วนค่าพิเศษน้องน้องๆที่เราพามาจากร้านไปคุยค้างคืนที่ห้องก็ต้องจ่ายส่วนหนึ่งให้ตำรวจท้องที่แสนด่อง(รวมในค่าตัวของน้องๆ) และเจ้าของโรงแรมก็ต้องจ่ายด้วยเช่นกันเป็นค่าธรรมเนียมไม่งั้นโดนปรับถึงขั้นปิดโรงแรม เพราะที่vietnamมีสายสืบใน นอกเครื่องแบบและการรายงานจากแท๊กซี่(=แต๊ก ซี)และการแจ้งจากทางร้านที่เราพาเด็กๆ(=ก่า ม้ำ ด๋อ)ออกมาตลอดเวลา ดังนั้นค่าใช้จ่ายเราจะแพงกว่าคนvietnamสองถึงสามเท่าและต้องมาจ่ายค่าห้องสองห้องเพราะไม่มีทะเบียนสมรส เขาห้ามนอนห้องเดียวกัน ทุกวันก่อนเที่ยงคืนจะมีสายตรวจมาตรวจเสมอที่โรงแรม ดังนั้นเพื่อนผมบอกว่าพวกนี้นี่แหละเป็นมาเฟียตัวจริง


หลายคนอาจจะมองว่าศักยภาพและเศรษฐกิจของvietnamดีขึ้น นั่นเป็นภาพภายนอก แต่พวกเขาก็ไม่ได้ต่างจากพวกผมที่ต้องทำงานปากกัดตืนถีบ เพื่อนvietnamโทรมาเมื่อสัปดาห์ก่อน บอกว่าvietnamตอนนี้ดูวุ่นวายและรถติด(=แกก แซ)กว่าเดิม ความเป็นอยู่แย่กว่าเดิม แต่คนต่างชาติ(=เหง่ย นึก โหง่ย)เยอะมาก คนเห็นแก่ตัวมากขึ้นไม่ดีเลย ผมเลยเตือนสติเพื่อนว่าต้องอยู่แบบ "เด่ย ดู๋ ดู๋ หล่า หั่น ฟุ๊ก จอ เด่ย บ่าง" ทำนองว่าใช้ชีวิตแบบพอเพียงแล้วจะเป็นสุข และขอฝากคำนี้ไว้กับเพื่อนๆทุกคนนะครับ เงินไม่ได้แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง มีหลายอย่างที่เงินซื้อไม่ได้คือเวลา ความรู้สึก และจิตวิญญาน ฝันดีทุกท่านครับ

Sunday, June 3, 2007

PANTIP VIETNAM

ที่โฮจิมินห์ ตอนที่ทำงานผมค่อนข้างมีปัญหากับคอมพิวเตอร์บ่อยๆ เกี่ยวกับโปรแกรมการใช้งานที่เสียหายแล้วเปิดใช้งานไม่ได้ สาเหตุหลักก็คือไฟฟ้าดับบ่อยทำให้เครื่องเสีย ผมเลยต้องหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาลงเครื่องเอง ก็เลยสอบถามและให้เพื่อนพาไปที่ ถนนโตง ทัก ตุ่ม(Ton That Tung) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาลแม่และเด็ก ใกล้รอยต่อเขตสาม บริเวณใกล้กันก็มีร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายร้าน แต่ร้านตามถนนดังกล่าวส่วนมากจะขายซีดีโปรแกรมใช้งานซึ่งราคาถูกกว่าบ้านเรามาก ตกแผ่นละ 3.000-4.000 ด่อง ก็สิบบาท ผมเคยไปซื้อที่พันธ์ทิพย์ตกแผ่นละร้อยนะครับ ต่างกันมาก ส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ราคาก็ไม่ต่างจากบ้านเรา คิดว่าน่าจะรับต้นทุนที่ไม่ต่างกัน ตอนที่ผมไปซื้อ กอนจวด(=เม้าส์) ตกราคา 55.000 ด่อง ก็ 130บาท แต่ราคาขายเขาอิงสกุลเงินดอลล่าร์เพราะง่ายต่อการปรับราคา อย่างแคตตาล๊อกขายของอุปกรณ์ผมเคยอ่านดูราคาก็สังเกตพบว่าเป็นเช่นนั้นครับ ส่วนพวกหนังชนโรง หรือเพลง คาราโอเกะ ก็มีเป็นบางร้านแต่ก็ไม่มากเท่าร้านบริเวณข้างตึกSUNWA ถนนเหวียงเหว่ ตรงนั้นจะมีให้เลือกมากกว่าราคาก็ 15.000-20.000 ด่อง ก็ 40 บาท เคยซื้อมาดูแล้วบางแผ่นก็ดูดีมีซาวด์แทร็คแบบเวียตนาม อาจไม่ถูกใจผมนิดหน่อยเพราะคนพากย์คนเดียวตลอดเรื่อง บางแผ่นดูดี บางแผ่นก็ดูไม่ดี ซีดีเพลงที่นั่นหาซื้อง่ายพอพอกับหนังสือพิมพ์ เพราะมีบริการขายถึงหน้าบ้าน จะมีรถจักรยานปั่นมาขายให้เลือกกันได้เลย แต่ส่วนมากจะเป็นเพลงซะมากกว่าราคาก็ทั่วไปพอพอกับขายที่ร้าน

Thursday, May 17, 2007

Vietnam Road

เมื่อครั้งแรกที่ลงจากเครื่อง ผมสังเกตว่าที่นี่ใช้แตรกันสิ้นเปลืองมากมาก บีบแตรกันตลอดทาง จนผมต้องถามเพื่อนเวียตว่าเขาไม่โกรธกันรึอย่างไร ถ้าเป็นบ้านเราคงได้ยิงกันตายแน่ๆ หรือไม่ก็ด่ากันต่อยกัน ก็มี เพื่อนว่าเป็นเรื่องปกติเพราะถนนแคบรถมอเตอร์ไซค์เยอะทุกคนต้องบีบแตรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ(แต่ผมว่าน่ารำคาญมากกว่า ฮ่า...) เพราะบางครั้งแค่มือจับรถเกี่ยวกัน รถล้มก็มีให้เห็นทั่วไป ระบบผังเมืองของเวียตนามถนนถี่เป็นตาหมากรุก บางจุดมีถนนหลายเส้นมาตัดกันเรียกว่า ngả(=หงา=ทางแยก) มีตั้งแต่ หงาบา(สามแยก) หงาตือ(สี่แยก) หงา-นำ(ห้าแยก) หงาเซ้า(หกแยก) ส่วนหงาไบ๋(เจ็ดแยก) ยังไม่เคยเจอ ทุกทุกหงาก็จะมีวงเวียนเอาไว้ขับจะวนซ้ายทวนเข็มนาฬิกาตรงกันข้ามกับบ้านเรา

ข้อดีของเจ้าวงเวียนก็คือไม่ต้องติดตั้งไฟแดง(đèn đỏ =แดง ด๋อ) ตรงวงเวียนก็จะมีรูปปั้นรูปแกะสลัก สัญลักษณ์ต่างๆ หอนาฬิกา(วงเวียนห่างเซิน) หน้าโรงพยาบาลก็งดบีบแตร ห้ามสามล้อ ห้ามกลับรถ...ป้ายห้ามต่างๆก็คล้ายๆบ้านเรา วินมอเตอร์ไซต์(=แซ โอม) ไม่ต้องใส่เสื้อวินเหมือนบ้านเรา พบได้ทั่วไปราคาแล้วแต่ต่อรองครับ เคยนั่งจากเขตสามไปแถวต.ไล้ทิว จ.บินห์ยืง เพียง 20.000 ด่อง(ห้าสิบบาท)เมื่อปี 2003 ตอนนี้คงไม่ได้แล้วหล่ะเพราะน้ำมันแพงขึ้น ถ้าเป็นในเมืองตามตลาดก็มี xích lo(ซิก โล=สามล้อ)ซึ่งผมเรียกว่าเป็นรถบรรทุกเวียตนามเพราะขนของได้เยอะมากชนิดรถกะบะต้องชิดซ้ายเลย แต่เพื่อนว่าพวกนี้ไม่ค่อยกลัวตำรวจขนของดูแล้วอันตรายซึ่งทำให้เกิดการชนอุบัติเหตุมาแล้วหลายครั้ง

ผมเคยไปที่ศูนย์ขนส่งในเมือง (Bến xe=เบ๊น แซ) ซึ่งก็มีหลายจุดด้วยกันขึ้นว่าเราจะเดินทางไปภาคไหน อย่างไปทางตะวันออกไปเที่ยว ด่าลัด เที่ยวหมุยแน๊ ฟานทิ๊ก อย่างคุณวิทไป ด่าหนัง ฮานอย(ไปฮานอยโดยรถไฟน่าจะประหยัดดีกว่า) ก็ไปที่ก็ต้องไปที่ศูนย์ขนส่งตะวันออก Bến xe miền đông (เบ๊นแซเหมี่ยงดอม) ไปเที่ยวตะวันตกอย่าง จ.หมีทอ เขตวินลอม(สะพานขึงหมีถวน สวยมาก) จ.กั่นเทอ แถวลุ่มน้ำโขง...ก็ไปขึ้นที่ Bến xe miền tây (เบ๊นแซเหมี่ยงไต) แต่ถ้าจะไปเขมรผ่านเขตฮุกโมน จ.ลองอัน ไปเที่ยวนครใต้ดินกู๋จี ที่เวียตกงเอาชนะอเมริกา ผ่านจ.ไตนินห์ ถึงMoc Bai(หมอก บ่าย) ก็ติดเขมรเลยโดยมากมีแต่พวกไปเล่นคาสิโน ก็ต้องไปที่ศูนย์An Soung(อัน เซิง) หรือจะนั่งยาวไปเขมรก็มีรถบัสและรถตู้บริการ นั่งจากตลาดBenh Thanh(เจอะ เบิ่น ถัน) หลักกิโลที่นั่นก็หน้าตาแปลกดี ส่วนบนทาสีแดงบอกว่าจุดที่เราอยู่ห่างจากฮานอยกี่กิโลเมตร จากรูปบอกแค่ระยะห่างจากเมืองสำคัญกับเมืองฮานอยเท่านั้น ห่างจากโฮจิมินห์ 179 กม. รวมระยะทางจากโฮจิมินห์ไปฮานอย 1900 กม. การบอกสถานที่ระยะทางไม่เหมือนบ้านเราที่บอกทุกอำเภอและจังหวัดเลย ป้ายบอกระยะทางก็มีน้อย หรือบอกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญก็ไม่มี การเดินทางออกนอกเมืองต้องเสียค่าผ่านด่านเว้นมอเตอร์ไซต์ไม่ต้องจ่าย

Sunday, May 13, 2007

Drunk and Die

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเที่ยวและดื่ม(=ดี เหยา)ตอนอยู่เวียตนาม แต่ไม่ชอบขับขี่เวลาเมา(=สิน) วันนั้นผมไปส่งเพื่อนที่ทำงานเป็นผู้หญิงระหว่างทางก็เจอคนงาน(=กำ เยิน)ที่ร้านเล็กๆริมถนน เขาชวนผมดื่มเบียร์เป็นเบียร์สดหรือเบียร์เตย(tươi=เตย) หรือเบียร์เฮยก็ได้ ยอมรับว่าสีเหลืองเหมือนเบียร์ทั่วไป ชิมแล้วมันค่อนข้างจืดไม่ค่อยขม น้ำแข็ง(=นึก ด๊า)ก็ตัดเป็นแท่งใส่พอดีแก้ว นั่งนานหลายนาทีกว่าจะละลาย(ดีกว่าน้ำแข็งหลอดบ้านเราแป๊บเดียวละลาย คนขายมีแต่กำไร) เข้าใจว่าไม่ต้องใส่น้ำแข็งบ่อย เสิร์ฟแต่เบียร์อย่างเดียว แบ่งขายเป็นแกลลอนราคาคนงานซื้อก็ตกแกลลอนละยี่สิบบาทไทย แต่ก็ทำเอาผมมึนทีเดียว เพื่อนบอกว่าอย่าไปดื่มบ่อยเพราะผสมยาฆ่าหญ้ามันอันตราย(nguy hiểm=งุย เห-ม) เมื่อปีที่แล้วผมเองก็ได้อ่านข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ว่าเป็นเช่นนั้นจริง แต่อย่างว่าคนที่มีน้ำใจอย่างผมจะปฏิเสธคำเชื้อเชิญดื่มของคนงานได้อย่างไร...เอ้า หมด ฮาย บา...คอม ซาย คอม เหย่(=หนึ่งสองสาม...ไม่เมาไม่กลับ) วันนั้นเลยเป๋กลับห้องนอนตามระเบียบ

ตอนเมื่อปี2004 ก็ได้มีโอกาสไปทำงานที่นิคมไทฮวา จ.ลองอัน ผู้ใหญ่บ้านเขตดึ๊ก หล่อบ ห่า ชวนผมดื่มวันนั้นเป็นเหล้าขาว(หรู กาว) วันนั้นดื่มหมดไปแกลลอนทำเอาเมาแฮ้งค์ไปสองวันเลย แต่ยังดีที่เพื่อนเวียตพากลับห้อง ทำเอาผมอ้วกตลอดทางกลับไปบ้านพักแถวหน้าสนามบินตันเซิงยึก เพื่องานนี่ผมทุ่มเทจริงๆ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน ชื่อหล่าว(ตามรูปที่โชว์พุงให้ดู ความสามารถเฉพาะตัว ห้ามเลียนแบบ) ถ้าผมแวะไปเวียตนามทุกครั้งก็ยังคงพบเจอกัน เป็นคนที่จริงใจดีลูกทุ่งเหมือนผม ฮ่า...

ปี 2003 มีอยู่ครั้งหนึ่งผมและผู้จัดการเดินทางด้วยรถแท๊กซี่จากไซง่อนกลับที่ที่พักระหว่างทางก่อนถึงสะพานบินห์ถวน(=เก่า บิน ถวน) ก็เจออุบัติเหตุ(tai nạn=ตาย แหนง) ก็คงประมาณว่าตายแน่... จากสภาพที่เห็นรถที่เวียตนามปกติจะวิ่งชิดขวา(=เบน ฝาย)คิดว่ารถมอเตอร์ไซต์แซงซ้ายแล้วรถเทรลเลอร์ก็ชนทับซะเละเลย ส่วนอีกศพขับมอเตอร์ไซต์ชนท้ายรถบรรทุกหลังหักคารถมอเตอร์ไซต์ สรุปสองศพคืนนั้น ทำเอาเราต้องรีบกลับห้อง เป็นอะไรที่สยอง มาก มาก กลัวจนนอนไม่หลับเลย(=คอม โหงว เดิก)

Critical Time

ปลายปี 2003 ผมไปทำงานที่โฮจิมินห์ ช่วงที่กำลังมีการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 22 แต่ผมก็ไม่ค่อยมีเวลาไปดูกับเขาหรอกเพราะติดทำงาน กีฬาที่นิยมกันในหมู่คนที่นั่นแบ่งเป็นหลายวัย อย่างวัยรุ่นไม่ต่างจากบ้านเราคือชอบแทงบอล เตะบอล(đá bóng=ด๊า บัน) ตอนตีห้าผมเคยออกไปวิ่งที่สวนสาธาณะติดกับโบสถ์แถวเจอะเลิ้น(เขต5ไชน่าทาวน์) มีคนสูงอายุ มาออกกำลังกาย (thể dục =แถ หยุบ) เยอะมาก วิ่งบ้าง เดินบ้าง รำไท๊เก็กบ้าง รำกระบี่ก็มี บ้างก็เตะลูกขนไก่(chơi cầu =เจย เก่า)เตะก็คล้ายเตะตะกร้อ แต่เขตโบสถ์เขาไม่อนุญาต(ดึ่ง เจย เก่า)ให้เล่นนะครับ ไอ้เจ้าเตะลูกขนไก่นี่เห็นเล่นกันได้ทุกวัยเลยและเห็นทุกที่ ถึงว่าปีนี้ตะกร้อหญิงเวียตนามถึงได้แชมป์ซีเกมส์ที่ผ่านมาที่ฟิลิปปินส์ ส่วนเต้นแอร์โรบิค ผมไม่เคยเห็นนะครับ



มาว่าถึงซีเกมส์ครั้งที่ผมอยู่ดีกว่า สัญลักษณ์ปีนั้นเป็นควาย ควาย(con trâu =กอน เจา)นี่ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ถ้าเป็นบ้านเราคงเป็นช้างนะครับ โรงแรมเฟืองนำที่ผมได้ไปพักหน้าโรงแรมก็ยังมีรูปปั้นเด็กเลี้ยงควายเลย แต่ที่เหมือนกับบ้านเราก็คือพบเจอควายกันน้อยมาก ต้องไปชนบทไกลเมืองถึงจะเห็นว่ามี ตอนนั้นมีฟุตบอลทีมไทยเรามาแข่งรอบคัดเลือก แต่ใกล้รอบชิงก็ไปแข่งที่ฮานอย เพื่อนหลายคนก็บ่นเหมือนกันว่าเมืองโฮจิมินห์เหมือนลูกเมียน้อย กีฬาโปรดปรานก็ไปแข่งที่ฮานอยหมดรวมทั้งฟุตบอลที่พวกเขาชื่นชอบด้วย วันนั้นเป็นวันศุกร์จำได้ว่าเป็นรอบก่อนรองชนะเลิศทีมชาติเวียตนามแข่งกับมาเลเซีย(=มา ลาย)เย็นวันนั้นเวียตนามชนะซะด้วย เกิดจราจลขึ้นทั่วเมืองโฮจิมินห์ฝูงมอเตอร์ไซต์แสดงความดีใจกันอย่างบ้าคลั่ง แม้แต่ตำรวจก็ไม่กล้ายุ่ง ทั้งเมาเหล้าเมามันส์โห่ร้องถือธงชาติปลิวสะบัดเต็มท้องถนน เพื่อนที่ทำงานบอกผมว่าอยากกลับบ้านก็กลับไม่ได้รถติดมาก วันนั้นก็เลยงดเข้าไปกินเหล้าในเมือง เช้าวันต่อมามีข่าวลงว่ามีอุบัติเหตุจากการฉลองดังกล่าวเกิดทั่วไปส่วนมากจะเป็นเมาแล้วขับ คืนนั้นกลับไปถึงโรงแรมที่พักกว่าสี่ทุ่มไฟโรงแรมก็ดับอีก จำได้ว่าไฟดับเดือนละสามสี่ครั้งทั้งกลางวันและกลางคืน ถามคนที่นั่นเองเขาว่าเป็นเรื่องปกติ พักหลังชักถี่ แถวที่ผมพักรายรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าสี่ห้านิคมซึ่งใช้ไฟกันเยอะจริงๆ ปากทางนิคมก็มีแต่เครื่องปั่นไฟGenerator(máy phát điện =ไม๊ ฟัก เด๋ง) คิดว่าปัจจุบันคงดีขึ้น เพราะมีการสร้าง PowerPlant ขึ้นหลายที่แล้ว



ทีนี้พอรอบชิงก็คู่ไทยกับเวียตนามแต่ไปแข่งที่สนามฮานอย วันนั้นชวนเพื่อนร่วมงานหลายคนไปร่วมชมที่ร้านอาหารในโรงแรมคนเต็มทุกโต๊ะ ครึ่งแรกยังเสมอ พอครึ่งหลังก่อนหมดเวลาไทยจบชนะที่สองศูนย์(=จิ๊ง ทั้ง) วันนั้นมีผมเฮอยู่คนเดียว ทำเอาเสียวเหมือนกันเพราะผมเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่นั่งดู วันนั้นหลังจากเพื่อนกลับ ผมกับเพื่อนอีกคนชื่อแคง ก็ถือโอกาสขี่รถชมรอบเมืองคืนนั้น พบว่าบรรยากาศเต็มไปด้วยความเศร้าเงียบสงัดผิดกับครั้งที่ชนะมา-ลาย จริงๆ

Thursday, May 10, 2007

MV Tour Saigon

มีเพื่อนบางท่านอยากนักหนาจะไปเที่ยวที่ไซง่อน ผมก็ไม่ค่อยได้เสริมข้อมูล เลยต้องอาศัยสามสาววง TyMyTy พาเพื่อนๆไปเที่ยวดูเมืองไซง่อนว่ามีอะไรน่าเที่ยวบ้าง แต่เป็นMV สามปีมาแล้ว ตอนนี้ก็คงไม่ต่างจากเดิม หากบางท่านจำได้ว่าเป็นสถานที่ใดก็ลองช่วยเสริมดูนะครับ

Wednesday, May 9, 2007

Gay in Vietnam

กะเทย หรือที่คนเวียตนามเรียกว่า "เม เด" ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นคำเปรียบเทียบ หรือเปล่า แต่ก็ช่างเถอะ ตั้งแต่เริ่มเข้าไปทำงานที่ อ.บินห์ยึง ผมได้เดินทางไปพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งชื่อ Khách sạn Phuong Nam(=คัด แฉ่ง เฟือง นำ=โรงแรมถิ่นใต้) คนขับรถชื่อถั่น มีพนักงานมาต้อนรับพร้อมขอพาสปอร์ตเพื่อทำลงแจ้งการพักของคนต่างด้าวในเขตสถานีตำรวจท้องถิ่นและอีกใบคือใบเหลืองที่กรอกตอนอยู่บนเครื่องบินต้องแนบไปด้วยกัน ดังนั้น ผมจึงต้องขอสำเนาเก็บไว้อย่างละหนึ่งชุด เพื่อสะดวกในการออกไปกินเหล้าของพวกเรา...เอ้ยไม่ใช่...เพื่อการขอตรวจค้นในระหว่างเดินเอกสารต่อเจ้าหน้าที่
(ดูที่http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=j_inrudee&topic=36 )

บรรยากาศภายในร่มรื่นดี เจ้าของโรงแรมพอทราบว่าเราเป็นกลุ่มคนไทยก็ดีใจ และตัวเขาเองก็เดินทางไปเที่ยวเมืองไทยบ่อยๆโดยเฉพาะพัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพ ก็รู้สึกประทับใจ และได้นำความคิดต่างๆมาทำการปรับปรุงโรงแรมของเขาเองให้สวยงาม มีเรื่องเด็ดเด็ดเกิดขึ้นที่นี่มากมายคงเอาไว้เล่าคราวหน้า ในบรรดาพนักงานโรงแรมแทบจะหาคนพูดภาษาอังกฤษได้น้อยมาก มีเพียง สองคนเท่านั้นที่พอจะรู้บ้าง หนึ่งในนั้นเป็น "เม เด" ท่าทางก็ตุ้งติ้ง แต่นิสัยดี ไม่แต่งหน้าทาปากเสริมนม หรือแสดงกิริยารบกวนแขก ตั้งแต่ มาโฮจิมินห์ จนถึงปัจจุบัน ผมพบเห็น เม เด ไม่เกินสิบคนเอง ก็ถือว่าแปลก ผมว่าสิ่งนี้สังคมชาวเวียตไม่อาจยอมรับ เป็นสิ่งไม่น่านับถือ และสื่อทีวีก็ไม่ได้เผยแพร่อย่างบ้านเรา ดังนั้นการลอกเลียนแบบแล้วถือเอาอย่างนิยมก็เลยไม่ค่อยมีให้เห็น นี่นับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่บ้านเราต้องกลับมาทบทวนอีกแล้วซิ เครียดเลย...ปกติกลางวันจะพบเจอ เมเด นั้นยาก ผมพบโดยมากจะเป็นกลุ่มเที่ยวกลางคืน อย่างที่ผับอะโพกาลิป นี่ก็เยอะโดยมากจะจับฝรั่ง หน้าไทยใสๆเลยรอดไป กับอีกที่ก็ผับแถวถนนเหวียงเหว่ ผับนัมเบอร์วันเลทั้นโต ก็เลิกร้านประมาณเที่ยงคืน ผมเห็นเมเด พาน้องไก่มาล่อหลอกฝรั่ง แต่ฝรั่งไม่เล่นด้วยเลยแห้วทั้งคู่ ฮ่า..
รูปนี้ถ่ายที่โรงแรมนานแล้วเมื่อปี 2003 เป็นช่วง Tet ปีใหม่ ทุกที่จะประดับดอกไม้นำโชคสีเหลือง Hoa Mai (ฮวา มาย) คงไม่เกี่ยวกับเรารักในหลวงนะครับ เพราะเขาปฏิบัติกันมานานแล้ว ส่วนภาคเหนือจะเป็นดอกสีแดง เรียกว่า Hoa Dao (ฮวา ด่าว) ทางเหนือจะมีความเชื่อเกี่ยวกับปกป้องภัยจากภูตผี ทางใต้จะเชื่อเรื่องนำโชคและความสุข จึงนิยมตั้งไว้หน้าบ้านช่วงเทศกาลปีใหม่ ราคาเช่าหรือขายเป็นกระถางถูกแพงขึ้นกับจำนวนพุ่มดอกและทรงของต้น ดอกยิ่งเยอะยิ่งแพง(คงเหมือนดอกเบี้ย) เคยถามเพื่อนๆเหมือนกันว่าหมดช่วงเทศกาลไม่มีดอกแล้วทำอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่าโดยมากเขาจะเอากลับไปที่สถานอนุบาลต้นไม้ซึ่งอยู่นอกเมือง พอช่วงเทศกาลบางคนซื้อบางคนเช่าก็แล้วแต่นะครับ แต่ยังไงก็คงจะราคาถูกกว่า องค์จตรุคาม ที่กำลังนิยมกันอยู่ในบ้านเรานะ เพราะคนเวียตเขาไม่แขวนพระ จะมีก็แต่คนเวียตคริสเตียนที่แขวนแต่กางแขนนะครับ ฮ่า...