มีเพื่อนๆหลายคน บ่นว่าคำในภาษาเวียตนามมีคำเรียกที่แตกต่างกัน เนื่องจากเวียตนามเองประกอบด้วยชนกลุ่มหลายกลุ่มด้วยกัน หลักๆก็มี ภาษาเหนือ, กลาง,ใต้ นอกนั้นก็มีภาษาตะวันออก ,ตก ,จาม(เช่น ông-ออม-ท่าน,คุณ) ภาษาชาวเขา(người núi =เหง่ย นุ้ย) กว่า 50 เผ่า ซึ่งโดยมากอาศัยอยู่ตามภาคเหนือเช่น เมืองSapa...ซึ่งรวมถึงเผ่าไท้( Thái) หรือคนไทย ซึ่งผมได้ดูวีดีโอไว้เล่ารายละเอียดคราวต่อไป อื่นๆตามแนวเขาฝั่งที่ติดกับลาว อย่างที่ผมเคยไปเที่ยวที่ เมืองด่าลัด จะมีสถานที่แห่งหนึ่งชื่อว่าเขา Lang Biang(ลาง เบียง) ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก ใครอยากสมหวังเรื่องความรักก็ลองไปดู ที่นั่นมีชาวเขาเผ่าลาว ก็พูดคุยกับเราได้รู้เรื่องที่สุด เขามีหลายเรื่องเล่ากับเรา เอาไว้คงเล่าในคราวต่อไป
ก่อนสงครามเวียตนาม(กับอเมริกา) เมืองไซง่อนหรือโฮจิมินห์ชื่อใหม่นั้น เป็นเมืองที่มีความเจริญมากกว่าบางกอกหรือกรุงเทพของเราเสียอีก กลุ่มคนไม่ว่าจะภาคกลาง เว้ ด่าหนัง ยาจาง ต่างก็เข้ามาทำงาน บ้างเรียนหนังสือ หลังจากสงครามเวียตนามสิ้นสุดกลุ่มปัญญาชนที่ไม่พอใจต่างกลัวและพยายามหลบหนี เพราะรู้ว่าระบบคอมมิวนิสต์ต้องถูกยึดทรัพย์สิน ที่ดิน เข้าหลวง บางคนถึงขนาดตัดสินใจพาครอบครัวอพยพหนีไปที่อื่นทั้งทางเรือและเดินเท้า เข้ามาทั้งทางไทย ไปฟิลิปปินส์ก็มี เพื่อลี้ภัยไปยังที่อื่นต่อ น้องชายเพื่อนเวียตคนหนึ่งได้นั่งเรือหวังไปอเมริกากับครอบครัวต้องถูกทหารยิงเสียชีวิตขณะที่เอาตัวเองปกป้องพ่อไม่ให้ถูกทหารยิง ภาพการอพยพก็คงเหมือนอย่างที่เราได้ยินจากเพลงเรฟูจีของวงคาราบาว ส่วนบางคนที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ผมฟังว่า เขาคงจะเรียนจบมหาวิทยาลัย มีงานดีเงินดีไปแล้วถ้าไม่เกิดเหตุการณ์นี้ ตึกแถวห้องพักสมัยเมื่อก่อนสงครามก็ยังคงมีอยู่ผมก็ไปพักมาแล้วคงต้องต่อรายละเอียดกันคราวหน้า
ในเขตภาคใต้ อย่างในเมืองโฮจิมินห์ การที่จะหาอาหารภาคกลางจึงไม่ยาก เพราะโดยมากจะเป็นคนภาคกลาง เพื่อนเวียตผมบางคนมีสายมาจากราชวงศ์เก่าแก่ทางภาคกลาง เคยไปนั่งดูรายชื่อสายตระกูลยาวสี่ห้าพับหน้าสมุดกันเลย ฮ่า... ด้วยปัจจุบัน สื่อต่างๆ ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์(เว้นแต่ HTV และ Local อื่นๆ) ที่เป็นภาษากลาง ทำให้เด็กรุ่นใหม่ใช้ภาษากลาง ก็มีแต่รุ่นพ่อแม่เท่านั้นที่ยังคงใช้ภาษาถิ่นเดิม พอจะยกตัวอย่างคำดังนี้
-คำขานรับ ภาคเหนือจะเป็น Vang=ฟวัง ทางใต้จะเป็น da=ยา(เสียงสระออกสั้น) ผมว่าคล้ายคำว่า จ๊ะ อย่างบ้านเราใช้กัน แต่เวลาผมพูดทีไร นึกถึงเวลากะเทยพูดทุกที
-ชามก๋วยเตี๋ยว เวลาแวะไปกินข้างถนนที่ภาคใต้ ผมก็จะสั่งก๋วยเตี๋ยวชามนึง(Cho anh một cái to=จอ อัน หมด ไก๊ ตอ-ว) แต่ไปกินข้าวบ้านเพื่อนคนเหนือ ต้องเรียกชามว่า ก็ บั๊ด(cái bát) ไม่ได้เรียกว่า ไก๊ ตอ-ว สาเหตุถ้าจะให้เดาก็คงเนื่องจาก คำว่า บั๊ด นั้น น่าจะคล้ายภาษาเหนือบ้านเราว่า "หลวง" ที่แปลว่า ใหญ่ รวมก็คือ ชามใบใหญ่นั้นเอง ส่วนคำว่า ตอ-ว นั้น แปลว่าใหญ่ อยู่แล้ว
-ตอนไปร้านถ่ายรูปเพื่อทำVisa ทางภาคใต้จะเรียกรูปถ่ายหรือรูป ว่า "จุบ เพิ่น" แต่ว่าภาษาเหนือจะเรียกว่า "จุบ อั๋น(chụp ảnh) หรือ อั๋น" ผมกับพี่คนหนึ่งก็เข้าใจผิดกันบ่อยๆเวลาเรียกกัน
คงมีหลากหลายคำ ที่ผมเองก็จำไม่ได้แล้ว ล่ะ
No comments:
Post a Comment